โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์

โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม [1] และรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พลเอกสุจินดา คราประยูร) อดีตรัฐมนตรีอีกหลายสมัย และอดีตประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ[2]

โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์
ถัดไปสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์
ก่อนหน้าสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
ถัดไปสุวิทย์ คุณกิตติ
ดำรงตำแหน่ง
27 กันยายน พ.ศ. 2539 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ก่อนหน้าไชยวัฒน์ สินสุวงศ์
ถัดไปกร ทัพพะรังสี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
24 ตุลาคม พ.ศ. 2540 – 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีชวลิต ยงใจยุทธ
ก่อนหน้าทนง พิทยะ
ถัดไปธารินทร์ นิมมานเหมินท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 22 กันยายน พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน
ก่อนหน้าพินิจ จันทรสุรินทร์
ถัดไปนิพนธ์ พร้อมพันธุ์
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
22 เมษายน พ.ศ. 2535 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีสุจินดา คราประยูร
ก่อนหน้าสถาพร กวิตานนท์
ถัดไปวิทย์ รายนานนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 พฤษภาคม พ.ศ. 2486
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
เสียชีวิต1 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (73 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสยุพนา ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
ลายมือชื่อ

ประวัติ

แก้

โฆสิต เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2486

การศึกษา

แก้

นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ เกิดและโตที่ย่านบางลำพู กรุงเทพมหานคร[3] จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2506 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการคลัง (เกียรตินิยม) จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2508 จบปริญญาโท ด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา และเข้ารับการอบรมหลักสูตรของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2531

การทำงาน

แก้

เริ่มทำงานเป็นนักเศรษฐศาสตร์ ประจำธนาคารโลก ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา ต่อมาจึงกลับมารับราชการจนได้รับตำแหน่งสูงสุดคือ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

เริ่มเข้าสู่งานการเมืองโดยการรับตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พลเอกสุจินดา คราประยูร) ในปี พ.ศ. 2535[4] และรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของนายอานันท์ ปันยารชุน[5] และรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกครั้ง ในรัฐบาลของนายอานันท์ พ.ศ. 2535[6]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ได้เข้ารับตำแหน่งกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2539 จึงได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา แทนนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ และตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[7] แทนนายทนง พิทยะ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2542 จึงได้เข้ารับตำแหน่งประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ

นายโฆสิต กลับเข้าสู่งานการเมืองอีกครั้ง ในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ โดยรับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[8] และได้รับแต่งตั้งให้รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) แทนนายสิทธิชัย โภไคยอุดม ซึ่งลาออกจากตำแหน่งจากกรณีการถือหุ้นเกินร้อยละ 5 ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550[9][10]

นายโฆสิต เคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา เมื่อปี พ.ศ. 2539[11]

ถึงแก่อสัญกรรม

แก้

นายโฆสิต ถึงแก่อสัญกรรม ด้วยโรคมะเร็งตับ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อายุ 73 ปี โดยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นผู้แทนพระองค์ ในการพระราชทานน้ำหลวง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)
  2. "ธนาคารกรุงเทพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-22. สืบค้นเมื่อ 2015-08-04.
  3. หน้า 5, โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ (3) อยู่ที่ไหนไม่เคยลืมคนจน. "เหะหะพาที" โดย ซูม. ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21323: วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก
  4. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๖๒/๒๕๓๕ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)เล่ม 109 ตอนที่ 69 วันที่ 14 มิถุนายน 2535
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนพิเศษ 100ง วันที่ 24 ตุลาคม 2540
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)
  9. ""สิทธิชัย" ยื่นลาออก 30 ก.ย.นี้ ยันไม่หวนคืนการเมืองแน่". ผู้จัดการออนไลน์. 21 กันยายน 2007.
  10. "พระราชบัญญัติ การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๓". ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๖๖ ก หน้า ๑. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-25. สืบค้นเมื่อ 2022-03-20. ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๓.
  11. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๑๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑๑, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๔


ก่อนหน้า โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ถัดไป
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล    
รองนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายเศรษฐกิจ

(28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 - 28 มกราคม พ.ศ. 2551)
  สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
สุรเกียรติ์ เสถียรไทย    
รองนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายสังคม

(9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550)
  ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
ทนง พิทยะ    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(24 ตุลาคม - 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540)
  ธารินทร์ นิมมานเหมินท์