พันโท พโยม จุลานนท์ (12 มีนาคม พ.ศ. 2452 - 7 กันยายน พ.ศ. 2523) เป็นนายทหาร, นักการเมือง, หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เป็นบิดาของ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี[2]

พโยม จุลานนท์
พโยม จุลานนท์ใน พ.ศ. 2491
ชื่อเล่นตู้คำตัน (nom de guerre)
เกิด12 มีนาคม พ.ศ. 2452
เสียชีวิต7 กันยายน พ.ศ. 2523 (71 ปี)[1]
ปักกิ่ง ประเทศจีน
รับใช้
แผนก/สังกัด
ชั้นยศพันโท
การยุทธ์
คู่สมรสอัมโภช ท่าราบ
บุตรสุรยุทธ์ จุลานนท์

ประวัติ

แก้

พโยมเกิดที่ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรของพระยาวิเศษสิงหนาท (ยิ่ง จุลานนท์) แห่งเมืองเพชรบุรี ต้นตระกูลจุลานนท์ กับคุณหญิงเก๋ง วิเศษสิงหนาท อีกทั้งยังเป็นบุตรเขยของพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) พโยมกลายเป็นพันธมิตรของ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ในคราวรัฐประหาร พล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์และ ปรีดี พนมยงค์ ในปี พ.ศ. 2490 หลังจากนั้นพโยมก็ไม่เห็นด้วยกับหัวหน้าคณะรัฐประหารและเริ่มปฏิวัติล้มเหลว พโยมจึงต้องลี้ภัยไปยังประเทศจีน ผ่านทางอำเภอแม่สาย และประเทศพม่า[3]

พโยมกลับมาประเทศไทยอีกครั้งในปี พ.ศ. 2500 เพื่อลงเลือกตั้งทั่วไปในเดือนมีนาคม และได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี ในปีเดียวกันจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐประหารรัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม พโยมก็ได้ลาครอบครัวไปปฏิบัติการใต้ดิน โดยใช้ชื่อ สหายตู้คำตัน ภายหลังจากการเข้าร่วมเป็นสมาชิกคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย พโยมได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาธิการกองทัพปลดแอกประชาชนไทย[4]

พโยมสมรสกับอัมโภช ท่าราบ มีบุตร 3 คน คือ

  1. อัมพร ทีขะระ
  2. พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์
  3. นภาวดี ศิริภักดี

ภายหลังการหลบซ่อนตัวและสงครามซ่องโจรเป็นระยะเวลาเกือบทศวรรษ พโยมเป็นโรคหัวใจล้มเหลว ต้องนำตัวไปรักษาตัวที่ปักกิ่งในปี พ.ศ. 2521 และได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "พ.ท.พโยม จุลานนท์ "สหายคำตัน" ตำนานผู้กล้าเลือดเมืองเพชร".
  2. ชีวประวัติ พโยม จุลานนท์[ลิงก์เสีย]
  3. พโยมจึงต้องลี้ภัยไปยังประเทศจีน
  4. รับการแต่งตั้งเป็นเสนาธิการกองทัพปลดแอกประชาชนไทย
  5. "ปั้นปลายชีวิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-14. สืบค้นเมื่อ 2019-12-07.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม ๕๙ ตอน ๖๑ ง หน้า ๒๑๑๘, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๕
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม ๕๘ ตอน ๐ ง, หน้า ๒๙๘๐, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๔๕, ๒ พฤษภาคม ๒๔๘๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เล่ม ๕๑ ตอน ๐ ง หน้า ๒๒๔๙, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เล่ม ๖๑ ตอน ๖๐ ง หน้า ๑๘๕๔, ๒๖ กันยายน ๒๔๘๗

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • (ไทย) Nation Weekender, 'สหายคำตัน' คนดีในหัวใจ พล.อ.สุรยุทธ์ ('Comrade Khamtan', A Good Man in the Heart of General Surayud), 9 December 2005