พลเรือเอก ณรงค์ ยุทธวงศ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด, อดีตผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ อดีตราชองครักษ์พิเศษ[1]

ณรงค์ ยุทธวงศ์
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 – 30 กันยายน พ.ศ. 2545
ก่อนหน้าพลเอก สำเภา ชูศรี
ถัดไปพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 30 กันยายน พ.ศ. 2543
ก่อนหน้าพลเรือเอก นิตย์ ศรีสมวงษ์
ถัดไปพลเรือเอก ชัย สุวรรณภาพ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 (83 ปี)
คู่สมรสคุณหญิง พันทิพา ยุทธวงศ์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
ยศ พลเอก
พลเรือเอก
พลอากาศเอก

ประวัติ

แก้

พล.ร.อ. ณรงค์ ยุทธวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 ที่จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของพ.อ. สรรค์ และนางระเบียบ ยุทธวงศ์ (อึ้งภากรณ์) มีพี่น้องร่วมครรภ์มารดา รวม 4 คน ได้แก่

  1. พล.ร.ต. สุระ ยุทธวงศ์
  2. พล.ร.อ. ณรงค์ ยุทธวงศ์
  3. ศ. ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์
  4. พญ.กิติมา ยุทธวงศ์

แต่เนื่องจาก พ.อ. สรรค์ ยุทธวงศ์ ซึ่งเป็นบิดา ได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่ท่านยังเล็ก นางระเบียบ ยุทธวงศ์ ซึ่งเป็นมารดา จึงต้องรับภาระในการเลี้ยงดูท่านและพี่น้องแต่เพียงลำพัง โดย ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ผู้เป็นลุง (พี่ชายนางระเบียบ) เป็นผู้สนับสนุนด้านการศึกษามาโดยตลอด

การศึกษา

แก้

ชีวิตส่วนตัว

แก้

พล.ร.อ. ณรงค์ ยุทธวงศ์ สมรสกับ คุณหญิงพันทิพา ยุทธวงศ์ (มากสมบูรณ์) มีบุตร-ธิดา 3 คน คือ

  1. นางบัญจรัตน์ สุหฤทดำรง
  2. นางพิจิณา วาสนะสมสิทธิ์
  3. น.อ. พันณรงค์ ยุทธวงศ์ ร.น.

การทำงาน

แก้

ตำแหน่งที่สำคัญทางทหารในอดีต

แก้

เข้ารับราชการครั้งแรกเป็นนายทหารประจำเรือรบ และใช้ชีวิตรับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ ในเรือรบร่วม 20 ปี ซี่งได้รับการเลื่อนชั้นยศและตำแหน่งตามลำดับ ตำแหน่งสำคัญของการรับราชการ เช่น

  • ผู้บังคับการ เรือหลวงภูเก็ต (ลำเก่า)
  • ผู้บังคับการ เรือหลวงประแส
  • ผู้บังคับการ เรือหลวงมกุฎราชกุมาร
  • นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำเสนาธิการทหารเรือ
  • นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  • เจ้ากรมข่าวทหารเรือ
  • ผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ 2
  • ผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือฝ่ายการข่าว
  • ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ[2]
  • รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  • ผู้บัญชาการทหารสูงสุด[3]

พล.ร.อ. ณรงค์ ยุทธวงศ์ ได้รับพระราชทานยศในอัตราจอมพล ชั้นยศพลเอก, พลเรือเอก และพลอากาศเอก นอกจากนี้ยังได้รับพระมหากรุณาธิกุลโปรดเกล้าฯ ให้เป็นราชองครักษ์เวร และตุลาการศาลทหารสูงสุด ปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว

ตำแหน่งพิเศษ

แก้

ตำแหน่งสำคัญที่เคยดำรงตำแหน่งหลังเกษียณอายุราชการ คือ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้
  •   สิงคโปร์ :
    • พ.ศ. 2545 -   เครื่องอิสริยาภรณ์อุตมะ บักติ เจเมอร์ลัง (เท็นเทรา)[11]

อ้างอิง

แก้
  1. ให้นายทหารสัญญาบัตร พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่นายทหารราชองครักษ์พิเศษ หน้าที่ 27
  2. ให้นายทหารรับราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 ครั้งที่ 1 หน้า 31
  3. ให้นายทหารรับราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ครั้งที่ 1 หน้า 8
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๓, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2021-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๑๓, ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๕
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๕๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐, ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๖, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๘๐, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔
  11. SUPREME COMMANDER OF THE ROYAL THAI ARMED FORCES (RTARF), ADMIRAL NARONG YUTHAVONG, WAS CONFERRED THE DARJAH UTAMA BAKTI CEMERLANG (TENTERA) [DISTINGUISHED SERVICE ORDER (MILITARY)] BY PRESIDENT S R NATHAN AT THE ISTANA