เชษฐา ฐานะจาโร
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร (เกิด 23 สิงหาคม พ.ศ. 2481) เป็นนายทหารชาวไทย อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก
เชษฐา ฐานะจาโร | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | |
ดำรงตำแหน่ง 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 – 9 มีนาคม พ.ศ. 2547 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | พินิจ จารุสมบัติ |
ถัดไป | กร ทัพพะรังสี |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 10 มีนาคม พ.ศ. 2547 – 5 ตุลาคม พ.ศ. 2547 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา |
ถัดไป | สัมพันธ์ บุญญานันต์ |
ผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 – 30 กันยายน พ.ศ. 2541 | |
ก่อนหน้า | พลเอก ประมณฑ์ ผลาสินธุ์ |
ถัดไป | พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ |
หัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา | |
ดำรงตำแหน่ง 15 ตุลาคม พ.ศ. 2550 – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | |
ก่อนหน้า | สุวัจน์ ลิปตพัลลภ |
ถัดไป | วรรณรัตน์ ชาญนุกูล (หัวหน้าพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2481[1] จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2543–2550) รวมใจไทยชาติพัฒนา (2550–2551) เพื่อไทย (2552–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | คุณหญิงอรวรรณ ฐานะจาโร |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ![]() |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2505–2541 |
ยศ | ![]() ![]() ![]() |
บังคับบัญชา | กองทัพบกไทย กองทัพไทย |
ประวัติ แก้
พล.อ. เชษฐา ฐานะจาโร หรือที่สื่อมวลชนนิยมเรียกว่า บิ๊กเหวียงเกิดเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2481 เป็นบุตรของนายเปลี่ยน และ นางมุ้ย ฐานะจาโร สมรสกับ คุณหญิงอรวรรณ ฐานะจาโร บุตร 3 คน คือ
- พ.อ.หญิง ดร.เมธินี เฉลิมวัฒน์
- พล.ต. ธิติพันธ์ ฐานะจาโร
- ธนนันต์ ฐานะจาโร
การศึกษา แก้
- จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ฉะเชิงเทรา
- จบการศึกษาโรงเรียนนายร้อย รุ่นที่ 6
- โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 9
- หลักสูตรชั้นนายร้อย และหลักสูตรการรบจู่โจม ที่ ค่ายเบนนิ่ง สหรัฐอเมริกา
- หลักสูตรหลักประจำชุดที่ 48 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
- หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 6
รับราชการ แก้
เริ่มรับราชการทหาร ปี พ.ศ. 2505 ผู้บังคับหมวดปืนเล็กร้อยอาวุธเบา กองพันที่ 2 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ได้แก่
- พ.ศ. 2518 : ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
- พ.ศ. 2521 : ผู้บังคับกองทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
- พ.ศ. 2524 : เสนาธิการกองพลทหารราบที่ 2
- พ.ศ. 2530 : ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 11
- พ.ศ. 2531 : ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 6 และผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารี
- พ.ศ. 2533 : รองแม่ทัพภาคที่ 1
- พ.ศ. 2534 : แม่ทัพน้อยที่ 2
- พ.ศ. 2537 : แม่ทัพภาคที่ 1
- พ.ศ. 2537 : ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
- พ.ศ. 2538 : รองผู้บัญชาการทหารบก
- พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2540 : ผู้บัญชาการทหารบก
ตำแหน่งทางสังคมอื่นๆ แก้
- สมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- สมาชิกวุฒิสภา[3]
- นายกสมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยฯ
- ประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย
- ตุลาการศาลทหารสูงสุด
- ประธานสภามวยไทยโลก
การเมือง แก้
หลังจากเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2544 จากนั้นได้ผันตัวมาลงเล่นการเมือง จนได้เป็น ส.ส. ระบบปาร์ตี้ลิส ของพรรคไทยรักไทย อันดับที่ 17 และเคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และออกจากตำแหน่งในปี พ.ศ. 2546 จากนั้นได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในปี พ.ศ. 2547 อยู่ระยะหนึ่งเป็นเวลาสั้น ๆ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 พล.อ. เชษฐา มีข่าวว่าจะไปเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองหลายพรรค เช่น พรรคประชาราช เป็นต้น แต่ท้ายที่สุดก็ได้รับการสนับสนุนให้เป็นหัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา
จนกระทั่ง พ.ศ. 2552 นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย นางสาวสุณีย์ เหลืองวิจิตร เลขาธิการพรรคเพื่อไทย นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย นายวิทยา บุรณศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) อยุธยา พรรคเพื่อไทย และนายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคเพื่อไทยเดินทางมาเข้าพบพลเอกเชษฐาที่บ้านพัก ย่านเมืองทองธานี เพื่อเชิญเข้ารับตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทย ซึ่งพลเอกเชษฐาก็ได้ตอบตกลงที่จะรับตำแหน่งนี้
นามที่เป็นอนุสรณ์ที่ระลึก แก้
- พุทธอุทยาน วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้
พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[6]
- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 มหาโยธิน (ม.ร.)[7]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)
- พ.ศ. 2536 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)
- พ.ศ. 2551 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
- พ.ศ. 2561 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- พ.ศ. 2534 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[8]
- พ.ศ. 2558 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้
- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2540 - ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เหรียญคอมเมนเดชัน (ทหารบก)
- สิงคโปร์ :
- พ.ศ. 2540 - เหรียญปิงกัต จาซา เกมิลัง (เท็นเทรา)[9]
- มาเลเซีย :
อ้างอิง แก้
- ↑ "ผู้บัญชาการทหารบก ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน - พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-08. สืบค้นเมื่อ 2015-10-12.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/B/001/24.PDF
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2539" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (22ข): 2. 4 ธันวาคม 2539. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-04-13. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2537" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (21ข): 5. 4 ธันวาคม 2537. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-01-08. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2540" (PDF). 114 (11ข). 4 พฤษภาคม 2540: 1. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2564.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี (พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (12ข): 2. 22 มิถุนายน 2541. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์ เล่ม 108 ตอนที่ 166 ราชกิจจานุเบกษา 20 กันยายน 2534
- ↑ COMMANDER-IN-CHIEF OF THE ROYAL THAI ARMY GENERAL CHETTHA THANJARO CALLS ON MINISTER FOR DEFENCE, DR TONY TAN AT AN INVESTITURE CEREMONY AT MINISTRY OF DEFENCE (MINDEF), GOMBAK DRIVE
- หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550
- บิ๊กเหวียงตอบรับเทียบเชิญนั่ง ปธ.ที่ปรึกษาพท. เก็บถาวร 2014-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | เชษฐา ฐานะจาโร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พินิจ จารุสมบัติ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ครม. 54) (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 - 9 มีนาคม พ.ศ. 2547) |
กร ทัพพะรังสี | ||
พลเอก ประมณฑ์ ผลาสินธุ์ | ผู้บัญชาการทหารบก (1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 - 30 กันยายน พ.ศ. 2541) |
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ | ||
นายอานุภาพ นันทพันธ์ | ไฟล์:รวมใจไทยชาติพัฒนา logo.jpg หัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา (15 ตุลาคม พ.ศ. 2550 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551) |
นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล |