สัมพันธ์ บุญญานันต์
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
พลเอก สัมพันธ์ บุญญานันต์ (เกิด 6 กันยายน พ.ศ. 2486) ประธานกรรมการ บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายทหารราชองครักษ์พิเศษ[1]และอดีตปลัดกระทรวงกลาโหม (พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2546)
พลเอก สัมพันธ์ บุญญานันต์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 6 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | เชษฐา ฐานะจาโร |
ถัดไป | ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา |
ปลัดกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 – 30 กันยายน พ.ศ. 2546 | |
ก่อนหน้า | ธวัช เกษร์อังกูร |
ถัดไป | อู้ด เบื้องบน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 กันยายน พ.ศ. 2486 จังหวัดสิงห์บุรี ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | คุณหญิงปราณี บุญญานันต์ |
ประวัติ
แก้สัมพันธ์ บุญญานันต์ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย พ.ศ. 2502 นักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 4 และวิทยาศาสตรบัณฑิต จากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า พ.ศ. 2511 วปอ.355 ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับคุณหญิงปราณี บุญญานันต์ มีบุตรสาว 3 คน ได้แก่ นางธัญนัฏ โพธิ์พฤกษาวงศ พันโทหญิง กชพรรณ บุญญานันต์ และนาง พาณินี ไชยสระแก้ว
การทำงาน
แก้สัมพันธ์ บุญญานันต์ เริ่มรับราชการทหารหลังจากสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จนได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้บังคับกองบินปีกหมุนที่ 3 ศูนย์การบินทหารบก เมื่อปี พ.ศ. 2524 เป็นหัวหน้ากองส่งกำลังบำรุง ปี พ.ศ. 2526 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้ากรมยุทธบริการทหาร ในปี พ.ศ. 2537 เป็นผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกลาโหม พ.ศ. 2538
ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ได้รับการแต่งตั้งรองปลัดกระทรวงกลาโหม และปลัดกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2544[2] จนเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2546
ในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2548 ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี[3]
ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ได้รับการแต่งตั้งเป็น ประธานกรรมการ บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน)
งานการเมือง
แก้พลเอกสัมพันธ์ บุญญานันต์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา เมื่อปี พ.ศ. 2535 จากนั้นในปี พ.ศ. 2546 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงกลาโหม และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในปี พ.ศ. 2547 ในรัฐบาลของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[7]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.)[8]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[9]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[10]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
อ้างอิง
แก้- ↑ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (รวม ๔๕๘ ราย)
- ↑ "มติคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-26. สืบค้นเมื่อ 2018-05-21.
- ↑ ประวัติพลเอกสัมพันธ์ บุญญานันต์[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๒๕ สิงหาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๒ สิงหาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๐, ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๒