ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา[5] (เกิด 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2481) เป็นนายทหารและนักการเมืองชาวไทย ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร พรรคพลังประชารัฐ[6] อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกสภาทหารผ่านศึก[7]และนายทหารราชองครักษ์พิเศษ
ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 10 มีนาคม – 5 ตุลาคม พ.ศ. 2547 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 9 มีนาคม พ.ศ. 2547 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ชวลิต ยงใจยุทธ |
ถัดไป | เชษฐา ฐานะจาโร |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | สัมพันธ์ บุญญานันทน์ |
ถัดไป | บุญรอด สมทัศน์ |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศสยาม |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2542–2550) เพื่อชาติไทย (2561–2566)[1] พลังประชารัฐ (2566–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | วนิดา อิศรางกูร ณ อยุธยา |
บุตร | วรินทร์ อิศรางกูร ณอยุธยา วริศา อิศรางกูร ณอยุธยา |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ![]() |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ยศ | ![]() ![]() ![]() |
บังคับบัญชา | กองทัพบกไทย กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม[3][4] |
ประวัติ
แก้พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เกิดเมื่อ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ที่จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นบุตรของนายเสรี อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กับนางสุขใจ อิศรางกูร ณ อยุธยา เขาสมรสกับนางวนิดา อิศรางกูร ณ อยุธยา
จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนประชาวิทยา และโรงเรียนประจำจังหวัดบุรีรัมย์ มัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยชั้นเตรียมอุดมปีที่ 1 จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ วิทยาศาสตร์บัณฑิต โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 10 และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 34
การทำงาน
แก้พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เคยรับราชการทหาร สังกัดกองทัพบก เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการหน่วยข่าวกรองทางทหาร เป็นผู้บังคับการจังหวัดทหารบกเพชรบุรี เป็นหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นตำแหน่งสุดท้าย
นอกจากนั้นยังเคยเป็นประธานกรรมการองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) อีกด้วย
การเมือง
แก้พลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลของดร.ทักษิณ ชินวัตร[8] ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[9] แต่ทว่า พลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ถูกศาลอาญาสั่งจำคุก 3 ปี 4 เดือนไม่รอลงอาญา ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ในความผิดฐานเป็นผู้ใช้เจ้าพนักงานในองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ ปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต่อมาคดีได้ถูกยกฟ้องเนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานใดๆที่แสดงว่าพลเอกธรรมรักษ์มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆและศาลได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบและถึงที่สุดแล้ว
ด้านการเมือง
แก้ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้รับการเสนอชื่อเป็นบุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอให้รัฐสภาพิจารณาแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ในนามพรรคพลังไทยรักไทย[10] ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคเพื่อชาติไทย
ในปี 2566 เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ และดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค[11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[14]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[15]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[16]
- พ.ศ. 2517 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[17]
อ้างอิง
แก้- ↑ 'ธรรมรักษ์'โผล่พลังไทยรักไทย คุมยุทธศาสตร์เลือกตั้งหวังกวาด 127 ที่นั่ง
- ↑ "พระราชทานยศ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-10. สืบค้นเมื่อ 2018-08-09.
- ↑ "บัญชาการกองทัพไทย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-10. สืบค้นเมื่อ 2018-08-09.
- ↑ "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-10. สืบค้นเมื่อ 2018-08-09.
- ↑ "ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-10. สืบค้นเมื่อ 2018-08-09.
- ↑ พปชร. เปิดตัว 'ธรรมรักษ์' พร้อมว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ล็อตใหญ่กว่า 70 คนทั่วทุกภาค
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-20. สืบค้นเมื่อ 2018-08-09.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
- ↑ รายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอให้รัฐสภาพิจารณาแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี
- ↑ ‘บิ๊กแอ๊ด’ ลงพื้นที่ช่วยส.ส.สุรินทร์ หาเสียงโค้งสุดท้าย มั่นใจนโยบายพรรค โดนใจประชาชน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2017-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๒๖ ง หน้า ๒๑๔๓, ๒๒ สิงหาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๕๙, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๗