ประมณฑ์ ผลาสินธุ์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
พลเอก ประมณฑ์ ผลาสินธุ์ (8 ตุลาคม พ.ศ. 2478 – 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2563) เป็นนายทหารชาวไทย อดีตผู้บัญชาการทหารบก
ประมณฑ์ ผลาสินธุ์ | |
---|---|
ผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2538 – 30 กันยายน พ.ศ. 2539 | |
ก่อนหน้า | พลเอก วิมล วงศ์วานิช |
ถัดไป | พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 ตุลาคม พ.ศ. 2478 |
เสียชีวิต | 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 (84 ปี) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เขตราชเทวีกรุงเทพมหานคร |
คู่สมรส | พลตรีหญิง คุณหญิงพวงเพ็ญ ผลาสินธุ์ |
บุพการี |
|
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2539 |
ยศ | พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก |
ประวัติ
แก้พลเอกประมณฑ์ ผลาสินธุ์ เป็นบุตรของกมลกับวรรณะ ผลาสินธุ์ สมรสกับพลตรีหญิง คุณหญิงพวงเพ็ญ ผลาสินธุ์
การศึกษา
แก้- โรงเรียนสามัญ ที่โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
- พ.ศ. 2502 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (หลักสูตร 5 ปี)
- พ.ศ. 2503 หลักสูตรจู่โจมและส่งทางอากาศ (นายทหาร) รุ่นที่ 1
- อบรมการรบพิเศษ (นายทหาร)
- ศึกษาประโยคครูมัธยม (ปม.)
- หลักสูตรผู้บังคับหมวดเหล่าราบ รุ่นที่ 4
- พ.ศ. 2507 หลักสูตรทหารราบยานเกราะ รุ่นที่ 1 หลักสูตรผู้บังคับกองร้อยเหล่าราบ รุ่นที่ 26
- พ.ศ. 2508 หลักสูตรผู้บังคับกองพันเหล่าราบ รุ่นที่ 14
- พ.ศ. 2509 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ 45
- พ.ศ. 2521 วิทยาลัยการทัพบก หลักสูตรประจำ ชุดที่ 23
- พ.ศ. 2531 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 31
ประวัติรับราชการ
แก้- พ.ศ. 2526 ผู้ช่วยเจ้ากรมยุทธการทหารบก
- พ.ศ. 2527 รองเจ้ากรมยุทธการทหารบก
- พ.ศ. 2528 เจ้ากรมยุทธการทหารบก และรับพระราชทานยศพลตรี
- พ.ศ. 2531 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ และรับพระราชทานยศพลโท
- พ.ศ. 2533 รองเสนาธิการทหารบก
- พ.ศ. 2535 เสนาธิการทหารบก และรับพระราชทานยศพลเอก
- พ.ศ. 2536 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
- พ.ศ. 2537 เสนาธิการทหาร และรับพระราชทานยศพลเอก (อัตราจอมพล)
- พ.ศ. 2538 ผู้บัญชาการทหารบก และรับพระราชทานยศพลเรือเอก, พลอากาศเอก
ผลงานที่สำคัญ
แก้- ได้กำหนดแนวความคิดในการเสริมสร้างกำลังกองทัพบก โดยกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาโครงสร้างกองทัพให้กะทัดรัด ได้สมดุล มีความอ่อนตัว มีความพร้อมสามารถทำการรบได้อย่างต่อเนื่องและมีความทันสมัยในทุกด้าน
- ได้กำหนดแผนแม่บทในการพัฒนาหน่วย/เหล่าทหารราบ, ทหารม้า, ทหารปืนใหญ่, ทหารสื่อสาร และหน่วยบิน ปี 2540 - 2549
- ได้กำหนดแนวทางพัฒนาปรับปรุงระบบกำลังสำรองจากระบบ 3 : 3 : 4 ไปสู่ระบบ 1 : 1 : 1 : 3 และริเริ่มกำหนดแนวความคิดในการพัฒนาระบบกำลังสำรองไปสู่ระบบกำลังสำรองอาสาสมัคร
- ได้ริเริ่มและกำหนดแนวทางในการจัดตั้ง "หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง" (นสร.)โดยกำหนดให้เป็นหน่วยงานที่มีเอกภาพในการรับผิดชอบระบบกำลังสำรองของกองทัพบกทั้งระบบ
- ได้จัดตั้ง "ศูนย์เทคโนโลยีทางทหารกองทัพบก" (ศทท.ทบ.) เพื่อรับผิดชอบงานด้านคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศของกองทัพบก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พล.อ. ประมณฑ์ ผลาสินธุ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย และต่างประเทศ ดังนี้
ไทย
แก้- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[3]
- พ.ศ. 2506 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)[4]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[5]
- พ.ศ. 2535 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[6]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[7]
- พ.ศ. 2522 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[8]
- พ.ศ. 2539 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[9]
ต่างประเทศ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๖๒ ง หน้า ๑๖๙๕, ๑๘ มิถุนายน ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๕ มกราคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๓๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖, ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๔๗, ๒๑ เมษายน ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ และเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๑๒ ข หน้า ๖๓, ๒๑ มิถุนายน ๒๕๓๙
- ↑ DEPUTY PRIME MINISTER AND MINISTER FOR DEFENCE DR TONY TAN KENG YAM PRESENTS MERITORIOUS SERVICE MEDAL (MILITARY) TO COMMANDER-IN-CHIEF OF ROYAL THAI ARMY GENERAL PRAMON PHALASIN DURING INVESTITURE CEREMONY AT MINDEF, GOMBAK DRIVE