วิชาญ มีนชัยนันท์

วิชาญ มีนชัยนันท์ (เกิด 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2503) อดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร 4 สมัย สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตมีนบุรี 2 สมัย และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

วิชาญ มีนชัยนันท์
วิชาญ ใน พ.ศ. 2561
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
23 พฤษภาคม – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
สมชาย วงศ์สวัสดิ์
ก่อนหน้าชวรัตน์ ชาญวีรกูล
ถัดไปมานิต นพอมรบดี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 (64 ปี)
เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2525–2543)
ไทยรักไทย (2543–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน)
คู่สมรสจินตนา มีนชัยนันท์
ญาติสุธี มีนชัยนันท์ (ลุง)
ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ (หลาน)

ประวัติ

แก้

นาย วิชาญ มีนชัยนันท์ เกิดวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 ที่เขตมีนบุรี (อำเภอมีนบุรีของจังหวัดพระนครในขณะนั้น) เป็นบุตรของนายไพฑูรย์-นางสุพัตรา มีนชัยนันท์ และหลานของ ดร.สุธี มีนชัยนันท์ มหาเศรษฐีที่ดินมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทของประเทศไทย ผู้นำชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีน คหบดีเมืองมีนบุรี ประธานมูลนิธิกู้ภัยร่มไทร และ ประธานกิตติมศักดิ์ผู้ทรงเกียรติถาวรหอการค้าไทย-จีน[1]

นาย วิชาญ เป็นพี่ชายของ นาย วิรัตน์ มีนชัยนันท์ ประธานสภากรุงเทพมหานคร คนที่ 22[2] และ สก.มีนบุรี 4 สมัย และเป็นลุงของ นาย ศุภณัฐ มีนชัยนันท์[3] สส.กทม.เขต 9 พรรคประชาชน (อดีต พรรคก้าวไกล)

การศึกษา

แก้

เข้าสู่งานการเมือง

แก้

วิชาญเริ่มเข้าสู่การเมืองในระดับท้องถิ่น โดยรับตำแหน่งสมาชิกสภาเขตมีนบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2528 - 2532 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2537 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตมีนบุรี 2 สมัยซ้อน (คะแนนสูงสุดในกรุงเทพฯ) และได้ดำรงตำแหน่งรองประธานสภากรุงเทพมหานคร คนที่ 1 ในปี พ.ศ. 2541 ภายหลังได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตมีนบุรีถึง 4 สมัย

พ.ศ. 2544 วิชาญลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 26 (เขตมีนบุรี-เขตคลองสามวา) ในนามพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกให้เป็น ส.ส.กทม. สมัยแรก

พ.ศ. 2548 ได้รับเลือกให้เป็น ส.ส.กทม. เขต มีนบุรี สมัยที่ 2 และได้ทำหน้าที่ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. 2550 วิชาญได้รับเลือกเป็น ส.ส.กทม. เขต มีนบุรี สมัยที่ 3 และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในสมัยของนายสมัคร สุนทรเวช และ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พรรคพลังประชาชน รวมทั้งรับตำแหน่ง รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แทนนายไชยา สะสมทรัพย์ เนื่องจากนายไชยาถูกศาลตัดสินให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี กรณีปิดบังบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของภรรยา

พ.ศ. 2554 วิชาญได้รับเลือกให้เป็น ส.ส.กทม. เขต มีนบุรี สมัยที่ 4 พรรคเพื่อไทย

วิชาญ มีนชัยนันท์ ดำรงตำแหน่งประธานสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย และเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรค[4]

การทำงาน

แก้

ประสบการณ์ด้านการเมือง

แก้

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข 2 สมัย

แก้
  • 24 กันยายน 2551 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในครม.ของ นาย สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี (พ้นตำแหน่ง 2 ธันวาคม 2551)[5]
  • 23 พฤษภาคม 2551 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในครม.ของ นาย สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี (พ้นตำแหน่ง 9 กันยายน 2551)[6]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กรุงเทพมหานคร เขตมีนบุรี 4 สมัย (2544, 2548, 2550, 2554)

แก้

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กรุงเทพมหานคร เขตมีนบุรี 4 สมัย (2544, 2548, 2550, 2554)

แก้

รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕

  • 3 กรกฎาคม 2554 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 17 สมัยที่4 พรรคเพื่อไทย
  • 14 กันยายน 2553 รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (ลาออก เม.ย. 2554) ประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย
  • 7 ธันวาคม 2551 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย (ย้ายพรรค เนื่องจากพรรคพลังประชาชนถูกตัดสินยุบพรรค) และ ประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย
  • 23 ธันวาคม 2550 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 7 สมัยที่ 3 พรรคพลังประชาชน (102,247 คะแนน)
  • 2 เมษายน 2549 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 25 พรรคไทยรักไทย (56,316 คะแนน) (โมฆะ)
  • 22 เมษายน 2548 ประธานคณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎร
  • 6 กุมภาพันธ์ 2548 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต26 สมัยที่ 2 พรรคไทยรักไทย (73,744 คะแนน)
  • 2547-2548 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายอารีย์ วงศ์อารยะ)
  • 2544-2548 รองประธานคณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณประจำสภาผู้แทนราษฎร
  • 2545 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
  • 6 มกราคม 2544 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 26 สมัยที่ 1 พรรคไทยรักไทย (43,274 คะแนน)

สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตมีนบุรี 2 สมัย (2537-2542)

แก้
  • 2542 ประธานคณะอนุกรรมการวิสามัญเพื่อพิจารณางบประมาณของสำนักงาน เขตมีนบุรี, หนองจอก, ลาดกระบัง , คลองสามวา
  • ประธานอนุกรรมการยกร่างกฎหมายบริหารส่วนท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร
  • 2541-2542 อนุกรรมการช่วยเหลือประชาชนระดับเขตมีนบุรี
  • 2541-2542 ประธานอนุกรรมการพิจารณางบประมาณสำนักระบายน้ำ
  • 5 พฤษภาคม 2541 รองประธานสภากรุงเทพมหานคร คนที่ 1
  • 26 เมษายน 2541 สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตมีนบุรี สมัยที่ 2 พรรคประชาธิปัตย์
  • 2539-2540 ประธานคณะทำงานติดตามงบประมาณ กรุงเทพมหานคร
  • ประธานคณะอนุกรรมการวิสามัญเพื่อพิจารณางบประมาณของสำนักงาน เขตมีนบุรี, หนองจอก, ลาดกระบัง 1 (2539-2540)
  • 6 มีนาคม 2537 สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตมีนบุรี สมัยที่ 1 พรรคประชากรไทย

สมาชิกสภาเขต (ส.ข.) เขตมีนบุรี 2 สมัย (2528-2536)

แก้
  • 2528-2532 ประธานสภาเขตมีนบุรี
  • 21 พฤศจิกายน 2528 สมาชิกสภา เขตมีนบุรี

ตำแหน่งหน้าที่

แก้
  • อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัท พี วาย วิลล่า จำกัด
  • อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนวงศ์ชัยนันท์ จำกัด

ประสบการณ์ด้านสังคม

แก้
  • ประธานอำนวยการรับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธียกช่อฟ้าศาลาประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์จำลอง ณ วัดใหม่ลำนกแขวก กรุงเทพมหานคร
  • ประธานคณะทำงาน TO BE NUMBER ONE
  • อุปนายกสภากรรมการสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ประธานคณะกรรมการป้องกันอาชญากรรม สน.มีนบุรี
  • รองประธานมูลนิธิกู้ภัย ร่มไทร
  • ประธานมูลนิธิคนรักเมืองมีน
  • นายกสมาคมครูผู้ปกครองโรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
  • นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนเทพลีลา
  • กรรมการสมาคมครูผู้ปกครอง โรงเรียนเทพลีลา
  • รองประธานคณะกรรมการการศึกษา โรงเรียนเทพลีลา
  • อดีตประธานสภาวัฒนธรรมเมืองมีนบุรี
  • อดีตประธานสภาวัฒนธรรมกลุ่มศรีนครินทร์
  • ประธานจัดงานพิธีเบิกพระเนตรพระพุทธรูปจำลอง, พระพุทธรังสี สวัสดิรังสรรค์ ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 สำนักงานเขตมีนบุรี
  • ประธานคณะกรรมการจัดงาน 100 ปี จังหวัดมีนบุรี

ประสบการณ์ด้านการต่างประเทศ

แก้
  • การบริหารจัดการระบบ ประเทศอเมริกา
  • มลภาวะ, เตาเผาขยะ เนเธอร์แลนด์, ฟินแลนด์
  • ด้านการบริหารเมืองนคร คุนหมิง ประเทศจีน
  • การบริหารนคร ประเทศสแกนดิเนเวีย
  • ระบบผังเมือง ออสเตรีย, เยอรมัน
  • การบริหารเมือง ประเทศญี่ปุ่น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. https://www.thaicc.org/presidents/ดร-สุธี-มีนชัยนันท์/?lang=th
  2. [1]
  3. [2]
  4. คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย เก็บถาวร 2010-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน แต่ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 ได้ยื่นขอลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
  5. "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2010-07-05.
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2010-07-05.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้