มานิต นพอมรบดี
มานิต นพอมรบดี กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี เขต 1 พรรคภูมิใจไทย แต่ภูมิลำเนาเป็นคนอำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี เป็นสามีของนางกอบกุล นพอมรบดี อดีต ส.ส.ราชบุรี พรรคไทยรักไทย ที่ถูกคนร้ายยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
มานิต นพอมรบดี | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 10 มกราคม พ.ศ. 2553 | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ก่อนหน้า | วิชาญ มีนชัยนันท์ |
ถัดไป | พรรณสิริ กุลนาถศิริ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 มกราคม พ.ศ. 2498 อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี |
พรรคการเมือง | มัชฌิมาธิปไตย (2550–2551) ภูมิใจไทย (2551–2556) เพื่อไทย (2556–2561) พลังประชารัฐ (2561–2566) รวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | กอบกุล นพอมรบดี (เสียชีวิต) |
บุตร | กุลวลี นพอมรบดี |
นายมานิต และนางกอบกุล มีบุตร-ธิดา 3 คน คือ
- นางสาวกุลวลี นพอมรบดี จบปริญญาตรี จากประเทศออสเตรเลีย อดีตสมาชิกสภาจังหวัดราชบุรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 [1]
- นายชินโชติ นพอมรบดี (มานะ นพอมรบดี) อดีตเลขานุการประจำคณะกรรมาธิการการปกครอง จบคณะวิศวกรรมศาสตร์ RMIT ประเทศออสเตรเลีย
- นางสาวกรณิศ นพอมรบดี ศึกษาระดับไฮสคูล ประเทศออสเตรเลีย
นายมานิต เป็นเจ้าของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ของจังหวัดราชบุรี และเซียนพระเครื่องที่มีชื่อเสียงหนึ่งในจังหวัดราชบุรี เป็นแกนนำพรรคภูมิใจไทย ปัจจุบันได้ย้ายมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ
การศึกษา
แก้นายมานิต สำเร็จการศึกษาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การเมือง
แก้นายมานิต นพอมรบดี เป็นแกนนำพรรคภูมิใจไทยคนหนึ่งที่ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชึวะ ในตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข [2] ซึ่งต่อมาได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบความไม่โปร่งใสในการใช้งบประมาณโครงการไทยเข้มแข็ง ในกระทรวงสาธารณสุข ที่มี นายแพทย์บรรลุ ศิริพานิช เป็นประธาน และมีการสรุปผลการตรวจสอบว่า เกิดความไม่โปร่งใสในการบริหารงบประมาณตามโครงการดังกล่าว เป็นสาเหตุให้นายวิทยา แก้วภารดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประกาศลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ ทำให้กระแสจากฝ่ายต่างๆ รวมถึงนายกรัฐมนตรีต้องการให้นายมานิต ลาออกด้วยเช่นกัน[3]
เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553 นายมานิต นพอมรบดี แถลงข่าวลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่ได้มีการทุจริตตามที่ถูกกล่าวหา[4]
ในปี พ.ศ. 2561 เขาได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ[5] ในปี 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ ลำดับที่ 69[6] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-16. สืบค้นเมื่อ 2019-08-21.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
- ↑ เจอเส้นตายมาร์ค-ภท.ถอย "มานิต"ออก! เตรียมยื่นไขก๊อกวันจันทร์[ลิงก์เสีย]
- ↑ มานิตแถลงลาออกแล้ว[ลิงก์เสีย]
- ↑ ‘มานิต นพอมรบดี’ โผล่สมัคร พปชร. เมินคนวิจารณ์พรรคทหาร-คึกคักพรุ่งนี้เปิดถึงเที่ยงคืน
- ↑ เปิดชื่อ 120 ปาร์ตี้ลิสต์พลังประชารัฐ หลังผู้มีอำนาจใน รบ.ทุบโต๊ะเปลี่ยนเบอร์ 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ช หน้า ๑๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๖๑, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓