อารีย์ วงศ์อารยะ
อารีย์ วงศ์อารยะ (เกิด 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย และอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล จังหวัดสระบุรี จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นรองประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการ "สานใจไทย สู่ใจใต้"[1]
อารีย์ วงศ์อารยะ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 | |
นายกรัฐมนตรี | สุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ก่อนหน้า | คงศักดิ์ วันทนา |
ถัดไป | สุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 ประเทศไทย |
ศาสนา | อิสลาม |
คู่สมรส | สุมนา วงศ์อารยะ |
ประวัติ
แก้นายอารีย์ วงศ์อารยะ เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478[2] สมรสกับนางสุมนา วงศ์อารยะ มีบุตรธิดา 3 คน คือ นายเอกพจน์ วงศ์อารยะ นางสาวอภิรดี วงศ์อารยะ และนางสาวนวรัตน์ วงศ์อารยะ
สำเร็จการศึกษา มัธยมศึกษาจาก โรงเรียนอัสสัมชัญ สำเร็จการศึกษารัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโท M.S. (Community Development) มหาวิทยาลัยแห่งประเทศฟิลิปปินส์ และ M.S. (Public Administration) มหาวิทยาลัยแห่งรัฐมิสซูรี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา
การทำงาน
แก้นายอารีย์ วงศ์อารยะ รับราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย จนกระทั่งได้ดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง อาทิ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล สระบุรี ปราจีนบุรี สุพรรณบุรี รองปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมที่ดิน ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี 2538 และปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นตำแหน่งสุดท้าย ก่อนจะเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2539
อารีย์ เข้าร่วมงานการเมืองกับคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ สังกัดพรรคไทยรักไทย[3][4] และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของ ทักษิณ ชินวัตร พ.ศ. 2547 ต่อมาในการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ จึงได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[5] และได้ลาออกจากตำแหน่งในเวลาต่อมา เนื่องจากปัญหาการถือครองหุ้นเกินกว่าร้อยละ 5
รางวัลและเกียรติยศ
แก้อารีย์ วงศ์อารยะ ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองใหญ่ เมื่อ พ.ศ.2549 [6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[9]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[10]
- พ.ศ. 2537 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[11]
- พ.ศ. 2520 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[12]
- พ.ศ. 2531 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[13]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[14]
อ้างอิง
แก้- ↑ "อารีย์ วงศ์อารยะ"ตรวจเยี่ยมครอบครัวอุปถัมภ์ "สานใจไทย สู่ใจใต้"
- ↑ 85 ปี’อารีย์ วงศ์อารยะ’บารมียังล้น-สุขภาพแข็งแรง แจ่มใส ความจำดีเยี่ยม
- ↑ ประชาธิปัตย์ ค้านตั้ง "อารีย์" นั่งเก้าอี้ "มท.1"
- ↑ ทำไม "อารีย์" รมต.สีเทา ขั้วอำนาจเก่า กอดเก้าอี้แน่น ??
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)
- ↑ ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองใหญ่
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๕, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๙, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษและเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๘, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๘ ข หน้า ๒๔, ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๒, ๙ พฤษภาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๓, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๑๖ ง ฉบับพิเศษ ๓๑๙, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔