สิทธิชัย โภไคยอุดม

ศาสตราจารย์ สิทธิชัย โภไคยอุดม นักการเมืองและนักวิชาการชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์[1] ซึ่งเข้ารับตำแหน่งโดยการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550 ศ.ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดมก่อนหน้าที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีฯ ได้รับตำแหน่งอธิการบดีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

สิทธิชัย โภไคยอุดม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ดำรงตำแหน่ง
9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 30 กันยายน พ.ศ. 2550
นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
ก่อนหน้าสรอรรถ กลิ่นประทุม
ถัดไปมั่น พัธโนทัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 (75 ปี)
จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสพรพรรณ โภไคยอุดม

ประวัติ แก้

สิทธิชัย โภไคยอุดม เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 เป็นชาวนครราชสีมา [2] ศึกษาชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนศิริวิทยากร จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อในกรุงเทพมหานครที่โรงเรียนเซนต์จอห์น ระหว่างที่ศึกษาที่โรงเรียนโรงเรียนเซนต์จอห์นได้รับทุน American Field Service Scholarship เพื่อไปศึกษาชั้นปี 12 ที่ โรงเรียนไฮสคูลเบลแอร์ ในเมืองเบลแอร์ ที่ตั้งอยู่ใน เคาน์ตีฮาร์ฟอร์ด รัฐแมริแลนด์ ในสหรัฐอเมริกา อีกทั้ง สิทธิชัย ยังเป็นสมาชิกของ National Honors Society สหรัฐอเมริกา เมื่อจบการศึกษาชั้น มศ.5 จากโรงเรียนเซนต์จอห์น ได้เข้าศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ประมาณสองเดือนก็ได้ทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศจนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีทางวิศวกรรมจาก มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย โดยได้เกียรตินิยมอันดับ 1 และได้ทุนการศึกษา Colombo Plan ขณะกำลังศึกษาปริญญาตรี และจบการศึกษาในระดับปริญญาเอกเกี่ยวกับ Solid State Electronics โดยขณะศึกษาได้รับทุน Dean's Scholarship ที่มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์

สิทธิชัย เริ่มเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยได้ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในปี พ.ศ. 2521 หลังจากนั้นจึงลาออกจากตำแหน่งราชการในปี พ.ศ. 2533 และได้เข้ารับตำแหน่งเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครในปีเดียวกัน [3]

นอกจากนี้ ยังดำรงตำแหน่งเป็น IEEE Fellow ในสาขา Circuits and Systems and Engineering Education ของสถาบันวิชาชีพวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Institute of Electrical and Electronics Engineers,IEEE) ซึ่งเป็นคนไทยคนแรก และคนเดียวที่ดำรงตำแหน่งนี้ [4]

ผลงานและตำแหน่ง แก้

วาทะที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ แก้

มีการวิจารณ์การปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของ สิทธิชัย โภไคยอุดม ในสื่อสาธารณะทั้งของไทยและต่างประเทศ [5][6][7][8][9] โดยเฉพาะในประเด็น โอเพนซอร์ส OLPC และการกีดกันการเข้าถึงข่าวสารข้อมูล เขาปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ยูทูบในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2550[10]

ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส แก้

เนื่องจากสิทธิชัย โภไคยอุดม ได้กล่าววิพากษ์วิจารณ์โอเพนซอร์สตามที่เป็นข่าวในเว็บหนังสือพิมพ์ [11]โดยวิพากษ์วิจารณ์ว่าซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สส่วนมากมีคุณภาพต่ำ เพราะซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไม่มีทรัพย์สินทางปัญญา ทุกคนสามารถใช้ได้ และไอเดียทุกอย่างกลายเป็นของสาธารณะ นอกจากลินุกซ์แล้วซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สส่วนมากถูกปล่อยปะละเลยไม่มีการพัฒนาและมีคุณภาพต่ำ ถ้าหากไม่มีใครทำรายได้จากซอฟต์แวร์นั้นได้ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สจะไม่มีการพัฒนาและถูกปล่อยให้ล้าสมัยไป และได้ตั้งคำถามว่าในมุมมองของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ถ้าสามารถเขียนโค้ดได้ดี ทำไมจึงต้องแจกจ่ายซอร์สโค้ด ประเทศไทยสามารถเขียนโค้ดได้ดีโดยไม่ต้องเป็นโอเพนซอร์ส จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ทั้งในสื่อไทยและต่างประเทศ[ต้องการอ้างอิง]

เทพพิทักษ์ การุญบุญญานันท์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์เสรี ได้แสดงความคิดเห็นการวิจารณ์ดังกล่าวลงในบล็อกส่วนตัว [12] โดยได้ตอบว่าซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สนั้นมีลิขสิทธิเช่นกัน ไม่ใช่สมบัติของสาธารณะ โดยยกกรณีตัวอย่างของโปรแกรม thailatex ที่เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส เมื่อต้องการเปลี่ยนสัญญาอนุญาตต้องขออนุญาตเจ้าของซอฟต์แวร์นั้นก่อน นอกจากนั้นบุคคลสามารถทำรายได้จากซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สได้โดยยกตัวอย่างของบริษัทเรดแฮต เทพพิทักษ์ การุญบุญญานันท์ยังได้ยกตัวอย่างหลายโปรแกรมที่ไม่ใช่ ลินุกซ์ แต่ก็มีคุณภาพดีเช่น Apache Squid ดรูปาล และอื่นๆ และยังให้เหตุผลถึงการแจกจ่ายซอร์สโด้ดของตนว่า การพัฒนาโปรแกรมแบบโอเพนซอร์สเป็นการพัฒนาแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ยิ่งไปกว่านั้นถ้าหากสามารถเขียนโปรแกรมออกมาได้ดีย่อมกล้านำออกมาให้คนอื่นดู บางคนได้แสดงความคิดเห็นกลับด้วยการเขียนจดหมายเปิดผนึกแสดงความไม่เห็นด้วยกับการวิจารณ์ในบล็อกของตัวเอง[13] อย่างไรก็ตามรศ.ดร.สิทธิชัยก็ได้ยอมรับว่าเข้าใจผิดและได้ขอโทษในเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว[14]

คอมพิวเตอร์ 100 เหรียญ แก้

เคยมีข่าวว่าดร.สิทธิชัยคิดจะไม่ดำเนินเรื่องการจัดซื้อ OLPC หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ราคา 100 ดอลลาร์สหรัฐ โดยให้เหตุผลว่าเหมือนของเด็กเล่น เพราะมีประสิทธิภาพต่ำและข้อจำกัดในการใช้งานโปรแกรม จึงควรจัดซื้อเครื่องที่มีความสามารถสูงกว่าแทน โดยไม่ได้คิดจะล้มโครงการคอมพิวเตอร์ราคาประหยัด[15] อย่างไรก็ตามหลังจากคณะทำงาน OLPC ในประเทศไทยเข้าชี้แจง มีข่าวตามมาว่าดร.สิทธิชัยจะสนับสนุนโครงการ OLPC แต่ไม่ใช่คนที่ตัดสินใจเรื่องนี้โดยตรง[16]

ปรับค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ขึ้น แก้

ดร.สิทธิชัยต้องการปรับขึ้นค่าบริการโทรศัพท์มือถือ โดยอ้างว่าการแข่งขันด้านราคา ทำให้ประชาชนที่มีฐานะยากจนใช้โทรศัพท์มือถือมากขึ้น และต้องเสียค่าบริการ[17] แนวความคิดนี้ถูกสาธารณชนวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางทันที[18]

การลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที แก้

เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.​ 2550 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ปปช. ได้ระบุว่านายสิทธิชัยเป็นหนึ่งในสามรัฐมนตรีถือครองหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทเกินกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จำหน่ายได้ ซึ่งถือเป็นการไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. 2543 (อีกสองคนคือ นางอรนุช โอสถานนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) อย่างไรก็ตามยังมีข้อถกเถียงว่า พ.ร.บ. ดังกล่าวเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ในขณะที่ช่วงเวลาที่แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีนั้นใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2549[19]

วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2550 นายสิทธิชัยได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง โดยให้เหตุผลว่าไม่ต้องการถูกวิพากษ์วิจารณ์ และไม่ได้ปกปิดหุ้น เพียงแต่ไม่เข้าใจข้อกฎหมายอย่างชัดเจน โดยใบลาออกจะมีผลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550[20]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)
  2. เปิดใจ "รศ.ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม" วิศวกรนักวิจัยระดับโลกหนึ่งเดียวในไทย[ลิงก์เสีย] จากคมชัดลึก
  3. ชีวประวัติ เก็บถาวร 2007-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บรัฐบาลไทย
  4. "รู้จัก "สิทธิชัย โภไคยอุดม" รมต.ไอซีทีคนใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-18. สืบค้นเมื่อ 2006-11-17.
  5. Thai IT Minister Slams Open Source ข่าวจากสแลชดอต (อังกฤษ)
  6. Open-Source condemned by Thai Minister เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข่าวจากดิกก์ (อังกฤษ)
  7. รมว. ICT คนใหม่กับวิสัยทัศน์ต่อโอเพ่นซอร์ส ข่าวจากบล็อกนัน
  8. สนช.ติง กม.คุมเว็บไซต์อาจลิดรอนสิทธิ เก็บถาวร 2012-12-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข่าวจากผู้จัดการออนไลน์
  9. วิสัยทัศน์ ยักษ์เขียวตาเดียว ข่าวจากประชาไท
  10. สำนักข่าวThe Nation สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2550
  11. U-TURN AT ICT MINISTRY[ลิงก์เสีย] ข่าวจากบางกอกโพสต์ (อังกฤษ)
  12. MICT Vision บล็อกส่วนตัวของ เทพพิทักษ์ การุญบุญญานันท์
  13. จดหมายเปิดผนึก ถึง รมว. กระทรวง ICT เก็บถาวร 2006-12-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากบล็อกนัน
  14. ข่าวจากบล็อกนันเรื่องรายงานการเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ICT
  15. สิทธิชัยกดปุ่ม คอมพ์เอื้ออาทรพันธุ์ใหม่ ผู้ผลิตผู้ค้าแนะศึกษาข้อผิดพลาดในอดีตมาเป็นบทเรียน
  16. ทีม OLPC-TH เข้าพบ รมว.ไอซีที
  17. ข่าวเกี่ยวกับแนวคิดในการปรับขึ้นค่าบริการโทรศัพท์มือถือจากไทยรัฐ
  18. ข่าวแนวคิดในการปรับขึ้นค่าบริการโทรศัพท์มือถือจากบล็อกนัน
  19. โพสต์ทูเดย์ - รมต.ขิงแก่ ถือหุ้น5% ไม่ผิด [ลิงก์เสีย]
  20. โพสต์ทูเดย์ - รมว.ไอซีที แถลงลาออก[ลิงก์เสีย]
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒๙, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
  22. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า สิทธิชัย โภไคยอุดม ถัดไป
สรอรรถ กลิ่นประทุม    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 30 กันยายน พ.ศ. 2550)
  มั่น พัธโนทัย