พรรคเสมอภาค เป็นพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งพรรคเป็นลำดับที่ 12/2564 เมื่อวันอังคารที่ 24 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2564 พร้อมกับ พรรคไทยภักดี และพรรคแนวทางใหม่ โดยมีนาง รฎาวัญ วงศ์ศรีวงศ์ อดีตรองหัวหน้า พรรคเพื่อไทย และนาย นิติธร สีเขียว เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนแรก โดยมีที่ทำการพรรคอยู่ที่ 586 ถนนโชคชัย 4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร[2]

พรรคเสมอภาค
หัวหน้ารฎาวัญ วงศ์ศรีวงศ์
รองหัวหน้า
  • พณิชพงศ์ แสงทอง
  • สถิตย์พันธุ์ ธรรมสถิตย์
  • ธำรง แผนสมบูรณ์
  • พลตรีถิรเดช ทรัพย์เขื่อนขันธ์
  • บุญจันทร์ เช้าวันดี
  • บรรจง ภูขันสูง
  • พลตรีจิรทีปต์ เรืองสมบูรณ์
  • พนิดา เกษมมงคล
เลขาธิการฐิติพร ญาณวังศะ
รองเลขาธิการณัทชลัช ผดุงสรรพ
เหรัญญิกสันติ พันธโคตร
นายทะเบียนสมาชิกนลินภัสร์ องค์คุณารักษ์
โฆษกชีวิตชีวา สิทธิพงษ์
กรรมการบริหาร
  • ชวนดี ศิลรักษ์ดี
  • ศุภเชษฐ์ เจิมจันทึก
  • กัญญารัตน์ ชวนขุนทด
  • ภูเชษฐ์ เผดิมปราชญ์
  • ไพรัตน์ แสงสีดำ
ก่อตั้ง24 สิงหาคม พ.ศ. 2564
แยกจากพรรคเพื่อไทย
ที่ทำการ
สมาชิกภาพ  (ปี 2565)5,803 คน[1]
อุดมการณ์มุ่งเน้นการสร้างความเสมอภาคด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ทางพรรคเสมอภาคได้จัดการประชุมจัดตั้งสาขาพรรคเสมอภาคสาขาภาคกลางที่ ตำบลบางกระเจ้า อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร และจัดการประชุมใหญ่สามัญพรรคเสมอภาคครั้งที่ 1/2565 เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 21 คน ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก นางรฎาวัญ เป็นหัวหน้าพรรคสมัยที่ 2 และนางสาวฐิติพร ฌาณวังศะ เป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่[3]

ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2565 พรรคได้จัดประชุมตั้งสาขาย่อยที่จังหวัดพังงานำโดยคณะกรรมการบริหารและที่ปรึกษาพรรค ชัยเดช บุญรอด นางพรหมพนิช บุญรอด นางสาวฐิติพร ฌานวังศะ นลินภัสร องค์คุณารักษ์ นายอุดมศักดิ์ ธนบดีภูรินทร์ และนายพณิชพงศ์ แสงทอง ลงพื้นที่ภาคใต้ในพื้นที่อาคารเอนกประสงค์ หมู่ 3 ตำบลบ่อแสน อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา[4]

ต่อมาในวันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2565 ทางพรรคเสมอภาคได้จัดงานทำบุญเปิดที่ทำการพรรคแห่งใหม่ที่ ซอยศรีนครินทร์ 65 แขวงหนองบอน เขตประเวศ พร้อมชูนโยบาย "โบนัสประชาชน"[5]

พรรคเสมอภาค ส่งผู้สมัครในการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี เขต 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง คือ นายภิญโญศิลป์ สังวาลวงศ์[6][7] เป็นครั้งแรกของพรรค จากนั้นในวันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีที่ วัดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี นางรฎาวัญ ได้ลาออกจากตำแหน่งกลางที่ประชุมทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนางรฎาวัญเป็นหัวหน้าพรรคสมัยที่ 3 โดยมีนายประสพ บุษราคัม เป็นประธานที่ปรึกษาพรรค[8]

ต่อมาในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 ในการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคเสมอภาค ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เลิกกิจการพรรคเสมอภาคพร้อมกับทำหนังสือส่งถึงเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองแจ้งเรื่องดังกล่าว[9]

อ้างอิง

แก้
  1. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2565
  2. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคเสมอภาค
  3. ต๊าช!! พรรคเสมอภาค ประกาศพร้อมสู้ศึกเลือกตั้ง
  4. "'พรรคเสมอภาค' บุกภาคใต้ ตั้งสาขาพรรคที่พังงา ชูนโยบาย 'พรรคการเมืองของ ปชช.'". มติชนออนไลน์. 30 January 2022.
  5. ‘พรรคเสมอภาค’ เปิดตัวเตรียมพร้อมเลือกตั้งชูนโยบาย ‘โบนัสประชาชน’
  6. "ปิดรับสมัครเลือกตั้งซ่อม ส.ส.ราชบุรี เขต 3 มีผู้สมัครพรรคเสมอภาคมาอีก1". www.thairath.co.th. 2022-04-25.
  7. “รฎาวัญ” ช่วยหาเสียงเลือกตั้งซ่อมราชบุรี
  8. "พรรคเสมอภาค" ปรับ กก.บห.และ กก.สรรหาฯ ใหม่ "รฎาวัญ" ได้รับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคสมัยที่สาม "ประสพ บุษราคัม" ประธานที่ปรึกษาพรรค ชูนโยบาย "แก้จนหมดหนี้ "ช่วยเกษตรกร สู้ "กระแส-กระสุน" ตั้งเป้าอย่างน้อย 25 ส.ส.ปาร์ตี้ลิส
  9. 'รฎาวัญ' จ่อยื่นกกต.ยุติกิจการพรรคเสมอภาค ตามมติกก.บห.ตัดปัญหาข้อกฎหมาย

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้