อำเภอแม่ใจ
แม่ใจ (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพะเยา มีชื่อเสียงด้านการผลิตสินค้าเกษตร ได้แก่ ลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวย ซึ่งมีคุณภาพดีที่สุดในประเทศและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
อำเภอแม่ใจ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Mae Chai |
คำขวัญ: พระเจ้าทองทิพย์คู่ถิ่น แหล่งทำกิน หนองเล็งทราย มากมายสวนลิ้นจี่ รสดีมะพร้าวเผา | |
แผนที่จังหวัดพะเยา เน้นอำเภอแม่ใจ | |
พิกัด: 19°20′42″N 99°48′54″E / 19.34500°N 99.81500°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | พะเยา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 300.8 ตร.กม. (116.1 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 32,884 คน |
• ความหนาแน่น | 109.32 คน/ตร.กม. (283.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 56130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5607 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอแม่ใจ ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา 56130 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอแม่ใจตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอพาน (จังหวัดเชียงราย)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอป่าแดด (จังหวัดเชียงราย) อำเภอภูกามยาว และอำเภอเมืองพะเยา
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองพะเยา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอวังเหนือ (จังหวัดลำปาง) และอำเภอพาน (จังหวัดเชียงราย)
ประวัติ
แก้อำเภอแม่ใจ เดิมชื่อว่า “บ้านปง” ผู้เฒ่าผู้แก่ ได้ให้ข้อคิดเห็นแนวเดียวกันว่า”บ้านปง” นั้นเพราะแต่เดิมชาวแม่ใจกลุ่มแรกที่มาตั้งถิ่นฐานอพยพมาจากบ้านปงแสนทอง จังหวัดลำปาง อำเภอแม่ใจ จัดตั้งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในสมัยนั้นได้มีพระบรมราชโองการประกาศให้จัดแบ่งท้องที่ปกครองเป็นเมือง และ ตำบล เมื่อ ร.ศ. 129 (พ.ศ. 2453) ในขณะนั้น “แม่ใจ”มีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 3 อำเภอ และ 10 เมือง ซึ่งได้จัดการปกครองรวมกันเข้าเป็นจังหวัดพายัพ ภาคเหนือ ต่อมาได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 9 มิถุนายน ร.ศ.129 (พ.ศ. 2453) กำหนดให้อำเภอแม่ใจขึ้นกับเมืองเชียงราย และอยู่ในเขตมณฑลพายัพ... ต่อมาในปี ร.ศ. 133 (พ.ศ. 2457) อำเภอแม่ใจ ถูกยุบให้เหลือฐานะเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอพาน... โดยคำว่า “แม่ใจ” คือชื่อของลำน้ำแม่ใจ เป็นลำน้ำที่เป็นแหล่งกำเนิดของน้ำแม่อิง ตามประวัติมีประชาชนได้อพยพมาจากจังหวัดลำปางได้มาพบแหล่งน้ำสายนี้จึงได้ตั้งถิ่นฐานทำมาหากินโดยยึดเอาสองฝั่งลำน้ำแม่ใจเป็นหลัก อำเภอแม่ใจ เดิมเป็นตำบลแม่ใจ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เมื่อครั้งที่จังหวัดพะเยา ยังอยู่ในการปกครองของจังหวัดเชียงราย และหลังจากปี พ.ศ. 2520 อำเภอแม่ใจก็ขึ้นอยู่กับจังหวัดพะเยาจวบจนปัจจุบัน [1]
- ในปี พ.ศ. 2501 กรมการปกครองได้พิจารณาเห็นว่าท้องที่ ตำบลแม่ใจ ตำบลศรีถ้อยตำบลแม่สุก อำเภอพาน และตำบลแม่ปืม อำเภอพะเยา สมควรยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอจึงได้สั่งการให้จังหวัดเชียงรายและอำเภอพาน พิจารณาดำเนินการขอยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ (สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา) อำเภอแม่ใจ คำว่า “แม่ใจ” คือชื่อของลำน้ำแม่ใจ เป็นลำน้ำที่เป็นแหล่งกำเนิดของน้ำแม่อิง ตามประวัติมีประชาชนได้อพยพมาจากจังหวัดลำปางได้มาพบแหล่งน้ำสายนี้จึงได้ตั้งถิ่นฐานทำมาหากินโดยยึดเอาสองฝั่งลำน้ำแม่ใจเป็นหลัก อำเภอแม่ใจ เดิมเป็นตำบลแม่ใจ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เมื่อครั้งที่จังหวัดพะเยา ยังอยู่ในการปกครองของจังหวัดเชียงราย
- วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2506 แยกพื้นที่ตำบลแม่ใจ ตำบลป่าแฝก ตำบลศรีถ้อย และตำบลแม่สุก จากอำเภอพาน ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอแม่ใจ[2] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอพาน
- วันที่ 27 กรกฎาคม 2508 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอแม่ใจ อำเภอพาน เป็น อำเภอแม่ใจ[3]
- วันที่ 28 กรกฎาคม 2520 แยกพื้นที่อำเภอพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ ออกจากการปกครองจังหวัดเชียงราย รวมตั้งขึ้นเป็น จังหวัดพะเยา[4]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอแม่ใจแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 6 ตำบล 66 หมู่บ้าน ได้แก่
ที่ | ชื่อตำบล | ตัวเมือง | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนครัวเรือน | จำนวนประชากร[5] |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | แม่ใจ | Mae Chai | 10 | 1,877 | 4,840 | |
2. | ศรีถ้อย | Si Thoi | 13 | 2,714 | 7,169 | |
3. | แม่สุก | Mae Suk | 10 | 2,327 | 5,594 | |
4. | ป่าแฝก | Pa Faek | 11 | 1,924 | 5,323 | |
5. | บ้านเหล่า | Ban Lao | 14 | 2,641 | 7,982 | |
6. | เจริญราษฎร์ | Charoen Rat | 8 | 1,523 | 4,002 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอแม่ใจประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลแม่ใจ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแม่ใจและตำบลศรีถ้อย
- เทศบาลตำบลบ้านเหล่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเหล่าทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลรวมใจพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ใจ (นอกเขตเทศบาลตำบลแม่ใจ)
- เทศบาลตำบลป่าแฝก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าแฝกทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลเจริญราษฎร์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเจริญราษฎร์ทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลศรีถ้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีถ้อย (นอกเขตเทศบาลตำบลแม่ใจ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สุกทั้งตำบล
สถานที่ท่องเที่ยว
แก้- บ้านปางปูเลาะ อยู่ห่างจากตัวอำเภอแม่ใจ 12 กิโลเมตร มีหมู่บ้านชาวไทยภูเขาเผ่าเย้าอาศัยอยู่ในหมู่บ้านปางปูเลาะซึ่งยังคงเป็นชนเผ่าที่รักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมที่ยังคงปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างเหนียวแน่น ที่สำคัญบ้านปางปูเลาะยังเป็นแหล่งผลิตลิ้นจี่ที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของจังหวัด
- อุทยานแห่งชาติแม่ปืม มีอาณาเขตครอบคลุม อำเภอแม่ใจ อำเภอพาน อำเภอป่าแดด อำเภอเมืองเชียงราย โดยอุทยานแห่งชาติแม่ปืมมีป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังปกคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ มีอ่างเก็บน้ำแม่ปืมอยู่บริเวณบ้านแม่ปืม อำเภอแม่ใจ
- หนองเล็งทราย เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ของชาวอำเภอแม่ใจที่ชาวบ้านสามารถประกอบอาชีพจับปลาในหนอง โดยบริเวณรอบ ๆ หนองเล็งทรายจะมีร้านอาหารและคาราโอเกะให้นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวได้ใช้บริการกันหลายร้าน
- มะพร้าวเผา มะพร้าวที่นี่จะมีกลิ่นหอมและรสชาติดี เป็นที่นิยมดื่ม ภายในร้านมีสินค้าที่กลุ่มแม่บ้านทำวางขายจะเป็นสินค้าพื้นบ้าน เช่น กระเป๋าและเครื่องดนตรีประจำท้องถิ่น เช่น สะล้อ ซอ และขลุ่ย
อ้างอิง
แก้- ↑ https://district.cdd.go.th/maechai/about-us/%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b8%b2/[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ (กิ่งอำเภอดอกคำใต้ อำเภอเมืองเชียงราย กิ่งอำเภอแม่ใจ อำเภอพาน กิ่งอำเภอจุน อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย ,กิ่งอำเภอเด่นชัย อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ และกิ่งอำเภอดอนตาล อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (14 ง): 221–222. February 5, 1963. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-02-05.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอสังขละบุรี อำเภอท่าคันโท อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่ใจ อำเภอจุน อำเภอขามทะเลสอ อำเภอไพศาลี อำเภอท่าวังผา อำเภอบ้านกรวด อำเภอเด่นชัย อำเภอปทุมรัตน์ อำเภอกะเปอร์ อำเภออากาศอำนวย อำเภอดอนเจดีย์ อำเภอจอมพระ และอำเภอสามโก้ พ.ศ. ๒๕๐๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (59 ก): 565–569. July 27, 1965. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-10-01. สืบค้นเมื่อ 2020-02-05.
- ↑ "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดพะเยา พ.ศ. ๒๕๒๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (69 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-12. สืบค้นเมื่อ 2022-03-18. วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2520
- ↑ จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดพะเยา ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย