ประเวศ วะสี
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ประเวศ วะสี แพทย์ชาวไทย นักวิชาการด้านสาธารณสุข และ นักวิชาการเกี่ยวกับการศึกษา ทั้งเป็นผู้สนับสนุนงานค้นคว้าวิจัยต่างๆที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาและพัฒนาชีวิต[1] เป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล[2]กรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[3] กรรมการ สภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ [4] และ ราษฎรอาวุโส ประเวศ วะสี เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ตำบลเกาะสำโรง บนฝั่งลำน้ำแควน้อย จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายคลายและนางกิม วะสี ศึกษาชั้นมูลฐานในวัยเยาว์ที่โรงเรียนวัดเหนือ ชั้นประถมศึกษาที่ โรงเรียนประชาบาลตำบลเกาะสำโรง ชั้นมัธยมที่โรงเรียนวิสุทธรังษี จนถึง พ.ศ. 2490 ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ในปี พ.ศ. 2492 สามารถสอบเข้าเรียนต่อชั้นเตรียมแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศึกษาต่อคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จบการศึกษาได้รับปริญญาแพทยศาสตร์เกียรตินิยม และได้รับรางวัลเหรียญทองในฐานะที่ได้คะแนนเป็นที่หนึ่งตลอดหลักสูตร
ประเวศ วะสี | |
---|---|
เกิด | 5 สิงหาคม พ.ศ. 2475 จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศสยาม |
สัญชาติ | ไทย |
อาชีพ | ข้าราชการบำนาญ แพทย์ |
มีชื่อเสียงจาก | แพทย์ ราษฎรอาวุโส |
คู่สมรส | แพทย์หญิงจันทพงษ์ วะสี |
บุตร | 2 คน |
ประวัติการศึกษา
แก้- พ.ศ. 2490 - มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี
- พ.ศ. 2492 - มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2498 - พ.บ. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2503 - Ph.D. มหาวิทยาลัยโคโลราโด สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2504 - มนุษยพันธุศาสตร์ (Human Genetics) มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ประวัติการทำงาน
แก้- การเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์และแพทย์ประจำบ้าน
- การตรวจรักษาและการวิจัย
- งานบริหาร
- รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาและวางแผน มหาวิทยาลัยมหิดล (2522-2526)
- หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (2528-2530)
- ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานทางการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข(2527-2530)
- ประธานและรองประธานหรือกรรมการขององค์กรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศมากมาย รวมทั้งมูลนิธิ และสถาบันทางวิชาการอื่นรวมกว่า 60 ชุด
- ประธานสถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย (2536-ปัจจุบัน)
- ประธานมูลนิธิไทย
- ประธานคณะกรรมการวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ แผนกแพทยศาสตร์ มูลนิธิ อานันทมหิดล และกรรมการมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกแพทยศาสตร์
- ประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
- ประธานคณะอนุกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติการหลักการการจัดตั้งราชวิทยาลัย ครุศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
- ประธานคณะทำงานด้านการพัฒนาพืชสมุนไพรเพื่อการผลิตยาทางอุตสาหกรรม องค์การเภสัชกรรม
- คณะกรรมการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการต่างๆ
- คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ม.มหิดล, ธรรมศาสตร์, จุฬาฯ, สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) , สถาบันราชภัฏ, ขอนแก่น, สงขลา
- คณะกรรมการอำนวยการสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบท จุฬาฯ
- ประธานคณะอนุกรรมการอำนวยการส่งเสริมการวิจัยการศึกษาแห่งชาติ
- ประธานกรรมการวิชาการมูลนิธิรางวัลมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์
- คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
- คณะกรรมการการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ
- คณะกรรมการอำนวยการโครงการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุขแห่งชาติ (National Steering Committee) กระทรวงสาธารณสุข
การทำงานในคณะสมัชชาปฏิรูปประเทศ
แก้ประเวศ วะสี ได้เข้ามามีบทบาททางการเมือง ภายหลังการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง พ.ศ. 2553 ยุติลง โดยเข้ามาทำหน้าที่ประธานคณะสมัชชาปฏิรูปประเทศ ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 27 คน เพื่อรวบรวมข้อมูล รับฟังความคิดเห็น และนำไปสู่นโยบายในการปฏิรูปประเทศไทย [5]
รางวัลเกียรติคุณ
แก้- 2498 ได้รับรางวัลเหรียญทองในฐานะที่ได้คะแนนเป็นที่ 1 ตลอดหลักสูตร
- 2500 รับพระราชทานทุนส่วนพระองค์ และต่อมาทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ไปศึกษาต่อต่างประเทศ
- 2512 ได้รับรางวัลพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี ในฐานะครูแพทย์ที่ดีเป็นคนแรกของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- 2524 ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการรัฐ
- 2526 รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2526
- 2528 ได้รับเลือกเป็นบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาการแพทย์ ได้รับเหรียญดุษฎีมาลาเข็มศิลปวิทยา
- 2531 ได้รับเลือกเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
- 2533 รับเหรียญเชิดชูเกียรติ Tobacco and Health ของ WHO
- 2541 การมอบเหรียญ Comenius ประเวศ วะสี ได้รับเหรียญ Comenius และประกาศนียบัตรจากยูเนสโก ในฐานะที่ประเทศไทยนำการศึกษามาเป็นเครื่องมือสนับสนุนให้เกิดการพัฒนามนุษย์ เชื่อมโยงการศึกษาให้เข้ากับภาคอื่นของสังคม และประเทศไทยมีการสนับสนุนการพัฒนาสถานภาพครู[6]
- 2548 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประเภทวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาแพทยศาสตร์[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[10]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[11]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขาแพทยศาสตร์[12]
- พ.ศ. 2529 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[13]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[14]
อ้างอิง
แก้- ↑ งานเขียนบางส่วนของ ศ.นพ. ประเวศ วะสีที่พิมพ์เป็นหนังสือแล้ว
- ↑ กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล
- ↑ กรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ↑ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- ↑ "เปิดรายชื่อกรรมการ-สมัชชาปฏิรูปประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-27. สืบค้นเมื่อ 2010-07-09.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ การมอบเหรียญ Comenius[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศาสตราจารย์ประเวศ วะสี, ศาสตราจารย์สิปปนนท์ เกตุทัต)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๖๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๒๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2022-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๒๙ กันยายน ๒๕๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕๙, ๒๑ มกราคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๗ กันยายน ๒๕๓๐
แหล่งข้อมูลออนไลน์อื่น
แก้งานศึกษาที่เกี่ยวข้อง
แก้- อนรรฆ พิทักษ์ธานิน. (2554, กันยายน-ธันวาคม). "จนกว่าเราจะเขยื้อนภูเขา": การก่อตัวและการเดินทางแห่งความคิดทางสังคมการเมืองของนายแพทย์ประเวศ วะสีก่อน พ.ศ. 2540. รัฐศาสตร์สาร 32(3): 82-127.