ตจวิทยา
ตจวิทยา (อังกฤษ: dermatology) เป็นสาขาหนึ่งในวิชาแพทยศาสตร์ที่เกี่ยวกับผิวหนังและตจโทษ[1] ซึ่งเป็นสาขาย่อยชนิดพิเศษทั้งทางด้านอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์[2][3][4] ตจแพทย์ดูแลผู้ป่วยที่มีตจโทษหรือปัญหาด้านความสวยความงามเกี่ยวกับผิวหนัง เช่นผิวหนัง หนังศีรษะ เส้นผม และเล็บ
ประวัติ
แก้โรคที่เกี่ยวกับผิวหนังนั้นได้รับการค้นพบตั้งแต่ช่วงต้นของประวัติศาสตร์ โดยบ้างได้รับการรักษา บ้างไม่ได้รับการรักษา ในปี 1801 โรงเรียนสอนแพทย์เกี่ยวกับตจวิทยาก่อตั้งขึ้นในปารีสที่โรงพยาบาล Hôpital Saint-Louis อันมีชื่อเสียง ในขณะเดียวกันก็มีการตีพิมพ์ตำราตจวิทยาเล่มแรกในช่วงเวลานั้นๆ
การฝึกหัดตจแพทย์ในประเทศไทย
แก้ตจแพทย์ในประเทศไทยจะต้องจบแพทยศาสตรบัณฑิตก่อน โดยใช้เวลาเรียนปกติคือ 6 ปี หลังจากนั้นจึงเข้าเรียนเพื่อเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนัง ในประเทศไทยมีหลักสูตรการอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาตจวิทยาที่ต้องใช้เวลาเรียน 4 ปี ซึ่งในปัจจุบันมีสถาบันฝึกอบรมในระดับนี้ 7 แห่ง ได้แก่ [5]
- หน่วยโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- หน่วยโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
- สาขาวิชาโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- สาขาวิชาตจวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- แผนกผิวหนัง กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ในแต่ละปีจะมีแพทย์ที่จบหลักสูตรการอบรมและสอบผ่านจนได้รับ “วุฒิบัตร” แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาตจวิทยา จากแพทยสภา ประมาณ 20 คนเท่านั้น แพทย์ที่มีวุฒิบัตรฯ หรือ หนังสืออนุมัติฯ สาขาตจวิทยา นี้เท่านั้นที่จะเป็น Dermatologist หรือ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนัง หรือ ตจแพทย์ ตามระเบียบของแพทยสภา และเป็นสมาชิกสามัญของสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย แพทย์ในกลุ่มนี้สามารถทำการตรวจรักษาโรคผิวหนังและดูแลปัญหาด้านผิวพรรณความงามได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน
การบำบัด
แก้ตจแพทย์ใช้วิธีรักษาตจโทษต่างๆหลากหลายวิธีโดยวิธีหลักๆมี:
- การฉีดสารเติมเต็มเชิงสำอาง
- การกำจัดขนโดยใช้เลเซอร์หรือวิธีการอื่น
- การปลูกผม
- การบำบัดแบบ Intralesional injection โดยใช้สเตียรอยด์หรือสารอื่นๆ
- การใช้เลเซอร์เพื่อการจัดการปานและความผิดปกติของผิวหนังอื่นๆ เช่น การลดสิว และลบรอยสัก การชะลอวัย
- การบำบัดด้วยแสงเชิงพลวัติ ใช้สำหรับการรักษามะเร็งผิวหนังและป้องกันการเกิดมะเร็ง
- การบำบัดด้วยแสง โดยรวมถึงการใช้รังสีเหนือม่วงบีความถี่กว้าง ความถี่แคบ และอื่นๆ
- การดูดไขมัน โดยจะใช้ในการชลอวัยและการกำจัดไขมันเฉพาะจุด วิธีนี้ยังใช้กันในหมู่ศัลยแพทย์พลาสติกและแพทย์เวชศาสตร์ชลอวัยด้วย[6]
- การผ่าตัดด้วยความเย็น สำหรับการรักษาหูด มะเร็ง และความผิดปกติอื่นๆ
- การรักษาด้วยรังสี
- การผ่าตัดโรควงด่างขาว
- การวินิฉัยภูมิแพ้
- การบำบัดเชิงระบบ โดยใช้ยา
- การบำบัดเฉพาะที่
อ้างอิง
แก้- ↑ Random House Webster's Unabridged Dictionary. Random House, Inc. 2001. Page 537. ISBN 037572026.
- ↑ "What is a dermatologist; what is dermatology. DermNet NZ". Dermnetnz.org. 2009-06-15. สืบค้นเมื่อ 2012-10-28.
- ↑ http://www.aad.org/public/specialty/what.html
- ↑ "What is a Dermatologist". Dermcoll.asn.au. สืบค้นเมื่อ 2012-10-28.
- ↑ http://dst.or.th/know_details.php?news_id=26&news_type=kno
- ↑ "Liposuction - Who Invented Liposuction?". Inventors.about.com. 2012-04-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-10-28.