พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นพจนานุกรมอธิบายศัพท์ภาษาไทยที่ราชบัณฑิตยสภา (ชื่อเดิมคือ ราชบัณฑิตยสถาน) จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนหนังสือไทยให้เป็นระเบียบเดียวกัน ไม่ลักลั่น โดยมีการปรับปรุงแก้ไขตามลำดับเรื่อยมา เมื่อราชบัณฑิตยสภาจัดพิมพ์พจนานุกรมรุ่นหนึ่ง ๆ แล้วเสร็จ จะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ออก ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระเบียบการใช้ตัวสะกด ให้หนังสือราชการและการศึกษาเล่าเรียนใช้ตัวสะกดตามพจนานุกรมรุ่นนั้น ๆ เสมอไป

ประวัติ

แก้

หนังสือปทานุกรมจัดจำหน่ายในปี พ.ศ. 2470 จัดทำโดยกระทรวงธรรมการ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงศึกษาธิการ) เป็นหนังสือรวบรวมคำในภาษาไทยพร้อมอธิบายความหมาย แต่ยังมีข้อบกพร่องอยู่ กระทรวงธรรมการจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการชำระปทานุกรมขึ้นเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2475[1] เพื่อพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมปทานุกรมดังกล่าว ภายหลังได้มีการสถาปนาราชบัณฑิตยสถานเมื่อ พ.ศ. 2477 จึงได้โอนงานจากคณะกรรมการชำระไปอยู่ในราชบัณฑิตยสถาน และเปลี่ยนชื่อจาก ปทานุกรม เป็น พจนานุกรม เนื่องจากเห็นว่าชื่อเดิมมีความหมายไม่ตรงกับลักษณะของหนังสือ[2]

ฉบับต่าง ๆ

แก้
  • ปทานุกรม พ.ศ. 2470
  • พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 ใช้เวลาปรับปรุงตั้งแต่ พ.ศ. 24752493[2] พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2493 ตีพิมพ์ทั้งหมด 20 ครั้ง จำนวนทั้งสิ้น 187,000 เล่ม
  • พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ใช้เวลาปรับปรุงตั้งแต่ พ.ศ. 25202522[3][4] จัดพิมพ์เนื่องในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ. 2525 ตีพิมพ์ทั้งหมด 6 ครั้ง จำนวนทั้งสิ้น 280,000 เล่ม
  • พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ใช้เวลาปรับปรุงตั้งแต่ พ.ศ. 2525–พ.ศ. 2541 แต่ราชบัณฑิตยสถานตั้งใจจะจัดพิมพ์ในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ พ.ศ. 2542 แต่มิได้แล้วเสร็จในเวลาดังกล่าว ทว่าในที่สุดจึงได้ปรับปรุงสำเร็จราว พ.ศ. 2544 โดยยังคงเรียกว่าฉบับ พ.ศ. 2542 พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2546 จำนวน 200,000 เล่ม
  • พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เริ่มปรับปรุงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546[5] แล้วเสร็จประมาณปี พ.ศ. 2555[6] พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2556 จำนวน 100,000 เล่ม

อ้างอิง

แก้
  1. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า ธ.
  2. 2.0 2.1 ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า น.
  3. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า ต.
  4. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า ถ.
  5. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า ก.
  6. "ราชบัณฑิตยสถานจัดทำพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔" (PDF). ราชบัณฑิตยสถาน. 2012. สืบค้นเมื่อ 1 Oct 2012.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้