หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน คือระบบทางการ[1] ที่ใช้สำหรับแสดงคำในภาษาไทยเป็นอักษรโรมันตามวิธีอ่าน จัดทำโดยราชบัณฑิตยสถาน (ปัจจุบันคือสำนักงานราชบัณฑิตยสภา) และลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2482[2] และครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2542[3]

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน
ชนิด ระบบการถอดเป็นอักษรโรมันสำหรับ
ผู้ประดิษฐ์ราชบัณฑิตยสถาน
ประดิษฐ์เมื่อพ.ศ. 2482
ช่วงยุค
ปัจจุบัน
ภาษาพูดไทย
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ

หลักเกณฑ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ถอดวิสามานยนามในป้ายบอกทางและเอกสารต่าง ๆ ของหน่วยงานราชการเป็นหลัก และเป็นระบบที่ใกล้เคียงกับมาตรฐานการถอดเสียงภาษาไทยมาตรฐานหนึ่ง ๆ มากที่สุด แต่การใช้หลักเกณฑ์นี้ในทางปฏิบัติเป็นไปอย่างไม่สม่ำเสมอแม้ในหมู่หน่วยงานราชการเอง ระบบการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันตามหลักเกณฑ์นี้แทบจะเหมือนกับระบบที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน ISO 11940-2

ลักษณะเด่น

แก้

ลักษณะเด่นของหลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง พ.ศ. 2542 ได้แก่

  • เลือกใช้เฉพาะอักษรโรมันที่ไม่ผ่านการดัดแปลงและไม่ใส่เครื่องหมายเสริมสัทอักษรใด ๆ
  • ถอดเสียงสระเดี่ยวและสระประสมทั้งหมดโดยใช้อักษรที่เป็นสระ ได้แก่ ⟨a⟩, ⟨e⟩, ⟨i⟩, ⟨o⟩, ⟨u⟩
  • อักษรเดี่ยว ⟨a⟩, ⟨e⟩, ⟨i⟩, ⟨o⟩, ⟨u⟩ แทนเสียงสระเดี่ยวที่มีค่าเสียงเดียวกันอย่างในชุดสัทอักษรสากล
    • ทวิอักษรที่ลงท้ายด้วย ⟨e⟩ แทนเสียงสระเดี่ยว กล่าวคือ ⟨ae⟩, ⟨oe⟩, ⟨ue⟩ แทนเสียง /ɛ, ɤ, ɯ/ ตามลำดับ หลักเกณฑ์นี้อาจเลือกใช้ทวิอักษรดังกล่าวเนื่องจากมีหน้าตาคล้ายคลึงกับสัทอักษรตัวแฝด /æ, œ, ɯ/
    • ทวิอักษรและไตรอักษรที่ลงท้ายด้วย ⟨a⟩, ⟨i⟩, ⟨o⟩ เป็นสระประสม และแทนเสียง /a, j, w/ ตามลำดับ
  • ใช้อักษรแทนเสียงพยัญชนะตามอักษรในชุดสัทอักษรสากล ยกเว้น
    • ทวิอักษรที่ลงท้ายด้วย ⟨h⟩ กล่าวคือ ⟨ph⟩, ⟨th⟩, ⟨kh⟩ แทนเสียงพยัญชนะพ่นลม /pʰ, tʰ, kʰ/ เพื่อแยกความแตกต่างจาก ⟨p⟩, ⟨t⟩, ⟨k⟩ ซึ่งแทนเสียงพยัญชนะไม่พ่นลม /p, t, k/
    • ⟨ch⟩ แทนทั้งเสียงพยัญชนะ /t͡ɕʰ/ และเสียงพยัญชนะ /t͡ɕ/
    • ⟨ng⟩ แทนเสียงพยัญชนะ /ŋ/
    • ⟨y⟩ แทนเสียงพยัญชนะ /j/ (ในตำแหน่งต้นพยางค์)
  • ถอดเสียงพยัญชนะตามเสียงที่ออกโดยไม่คำนึงถึงการสะกดการันต์ เช่น ศรี /sǐː/ = si (ไม่ใช่ sri); ลา /lâːt/ = lat (ไม่ใช่ lad); ศิลป์ /sǐn/ = sin (ไม่ใช่ silp)
  • ถอดเสียงสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูปตามเสียงที่ออก เช่น กล /kōn/ = kon (ไม่ใช่ kn หรือ kl); ส/sǔaj/ = suai (ไม่ใช่ swi หรือ swy); บรรจง /bān.t͡ɕōŋ/ = banchong (ไม่ใช่ brrchng)
  • ในคำหลายพยางค์ หากพยางค์ที่ตามมาขึ้นต้นด้วยสระ หรือหากพยางค์หน้าลงท้ายด้วยสระ และพยางค์ที่ตามมาขึ้นต้นด้วย ⟨ng⟩ ให้ใส่เครื่องหมายยัติภังค์เพื่อเลี่ยงความกำกวมในการแยกพยางค์ เช่น สะอาด = sa-at; สำอาง = sam-ang; สง่า = sa-nga
  • ในการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันให้เขียนแยกเป็นคำ ๆ เช่น ถนนโชคชัย = Thanon Chok Chai (ไม่ใช่ Thanonchokchai); จังหวัดชลบุรี = Changwat Chon Buri (ไม่ใช่ Changwatchonburi); สถาบันไทยคดีศึกษา = Sathaban Thai Khadi Sueksa (ไม่ใช่ Sathabanthaikhadisueksa) ยกเว้นคำประสมและวิสามานยนามที่เป็นชื่อบุคคล รวมทั้งวิสามานยนามที่เป็นคำสมาสและออกเสียงสระเชื่อมกลางคำ ให้เขียนติดกัน เช่น รถไฟ = rotfai (ไม่ใช่ rot fai); นายโชคชัย จิตงาม = Nai Chokchai Chitngam (ไม่ใช่ Nai Chok Chai Chit Ngam); อำเภอธัญบุรี = Amphoe Thanyaburi (ไม่ใช่ Amphoe Thanya Buri)
  • ในกรณีของวิสามานยนามที่เป็นชื่อภูมิศาสตร์ ให้ถอดคำบอกประเภทวิสามานยนามนั้นเป็นอักษรโรมันโดยไม่ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ เช่น เกาะช้าง = Ko Chang (ไม่ใช่ Chang Island); เขาสอยดาว = Khao Soi Dao (ไม่ใช่ Soi Dao Hill); แม่น้ำป่าสัก = Maenam Pa Sak (ไม่ใช่ Pa Sak River); คลองแสนแสบ = Khlong Saen Saep (ไม่ใช่ Saen Saep Canal); ถนนหนองระแหง = Thanon Nong Rahaeng (ไม่ใช่ Nong Rahaeng Road); ซอยบ้านบาตร = Soi Ban Bat (ไม่ใช่ Ban Bat Lane)

ตารางเทียบเสียง

แก้

ตารางเทียบเสียงพยัญชนะและสระตามหลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง พ.ศ. 2542 เป็นดังนี้[3]

พยัญชนะ   สระ
อักษรไทย อักษรโรมัน
(ตัวต้น)
อักษรโรมัน
(ตัวสะกด)
k k
ข, ฃ, ค, ฅ, ฆ kh k
ng ng
ch t
ฉ, ช ch t
s t
ch
y n
d t
t t
ฐ, ฑ, ฒ th t
ฑ, ด d t
n n
t t
ถ, ท, ธ th t
n n
b p
p p
ph
f
ph p
f p
ph p
m m
y ดูที่ตารางสระ
r n
rue, ri, roe
ฤๅ rue
l n
lue
ฦๅ lue
w ดูที่ตารางสระ
s t
s t
s t
h
l n
h
    
อักษรไทย อักษรโรมัน
–ะ, –ั, รร (มีตัวสะกด), –า a
รร (ไม่มีตัวสะกด) an
–ำ am
–ิ, –ี i
–ึ, –ื, —ือ ue
–ุ, –ู u
เ–ะ, เ–็, เ– e
แ–ะ, แ– ae
โ–ะ, –, โ–, เ–าะ, –อ o
เ–อะ, เ–ิ, เ–อ oe
เ–ียะ, เ–ีย ia
เ–ือะ, เ–ือ uea
–ัวะ, –ัว, –ว– ua
ใ–, ไ–, –ัย, ไ–ย, –าย ai
เ–า, –าว ao
–ุย ui
โ–ย, –อย oi
เ–ย oei
เ–ือย ueai
–วย uai
–ิว io
เ–็ว, เ–ว eo
แ–็ว, แ–ว aeo
เ–ียว iao

ประวัติ

แก้

ตัวอย่างความเปลี่ยนแปลง

แก้
อักษรไทย อักษรโรมัน (ตัวต้น) อักษรโรมัน (ตัวสะกด)
ธรรมการ
2475[4]
ราชบัณฑิต
2482[2]
ราชบัณฑิต
2511
ราชบัณฑิต
2542[3]
ธรรมการ
2475[4]
ราชบัณฑิต
2482
ราชบัณฑิต
2511
ราชบัณฑิต
2542[3]
ทั่วไป ทั่วไป พิสดาร ทั่วไป ทั่วไป พิสดาร
č čh č ch ch t t t / č t t
ch ch ch ch ch t t t / ch t t
ch ch c῾ ch ch t t t / c῾ t t
s s ç s s t t t / ç t t
ทร s s ç᾿ s s t t t / ç᾿ t t
s s ś s s t t t / ś t t
s s s s t t t / ṣ t t
s s s s s t t t / s t t
ฤ [รึ] ṛư̆ ru rue
ฤ [เรอ] ṛœ roe roe
ฤๅ ṛư ru rue
ḷu lu lue
ฦๅ ḷ́ư lu lue
อักษรไทย อักษรโรมัน
ธรรมการ
2475[4]
ราชบัณฑิต
2482[2]
ราชบัณฑิต
2511
ราชบัณฑิต
2542[3]
ทั่วไป พิสดาร ทั่วไป พิสดาร
–ึ; –ื ư ư̆; ư̄ ư ư̆; ư u ue
แ–ะ; แ– ĕ̦; ē̦ æ æ̆ḥ; æ ae ae
เ–าะ; –อ ŏ̦; ō̦ ǫ ǫ̆ḥ; ǫ o o
เ–อะ; เ–ิ; เ–อ ơ ơ̆; ơ̄ œ œ̆ḥ; œ̆; œ oe oe
เ–ือะ; เ–ือ ưa ưă; ưā ưa ư̆ăḥ; ưa, ưœ ua uea
ใ– ai ăi ai ăĭ ai ai
ไ– ai ăi ai ăi ai ai
–ัย ai ăi ai ăy ai ai
–าย ai āi ai ai ai ai
เ–ือย ưai ưai ưœi uai ueai
–ิว iu iu iu iu io
แ–็ว; แ–ว e̦o ĕ̦o; ē̦o æo æo aeo aeo
เ–ียว iau ieo ieo ieo iao

ฉบับ พ.ศ. 2475

แก้

ใน พ.ศ. 2474 กระทรวงธรรมการได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อพิจารณากำหนดวิธีการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันให้เป็นระบบเดียวกัน[2] เนื่องจากในเวลานั้นมีการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันหลายวิธี บางวิธีอาศัยการถอดอักษรตามรากศัพท์ในภาษาเดิม บางวิธีก็อาศัยการถอดอักษรตามเสียง คณะกรรมการมีความเห็นว่าควรกำหนดวิธีการถอดอักษรตามวิธีเขียนประกอบไปกับวิธีออกเสียงในภาษาไทย เพราะถ้ายึดหลักการถอดอักษรตามรากศัพท์ในภาษาเดิม อาจทำให้ต้องถอดอักษรไทยตัวเดียวกันเป็นอักษรโรมันต่างกัน และถ้าจะยึดหลักการถอดอักษรตามเสียงเท่านั้น ก็ไม่ตรงกับวิธีเขียนของไทยเสียทีเดียว นอกจากนี้ ยังมีความเห็นว่าควรจัดทำวิธีการถอดอักษรขึ้น 2 แบบ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ได้แก่ แบบทั่วไปและแบบพิสดาร (แบบละเอียด) แบบทั่วไปควรอนุโลมตามวิธีอ่านของไทย โดยใช้ในกรณีที่การออกเสียงสำคัญกว่าการเขียนตัวสะกดการันต์ เช่น ชื่อต่าง ๆ เป็นต้น ส่วนแบบพิสดารควรอนุโลมตามวิธีเขียนของไทย โดยใช้ในกรณีที่ต้องการแสดงที่มาหรือความหมายของคำให้ละเอียดแม่นยำเป็นต้น

ในการกำหนดวิธีการถอดอักษรแบบทั่วไป คณะกรรมการได้อาศัยหลักต่อไปนี้[2]

  • แบบทั่วไปควรเป็นวิธีที่จะขยายออกไปให้เป็นแบบพิสดารได้
  • แบบทั่วไปควรอาศัยหลักสัทศาสตร์ กล่าวคือ เสียงเสียงหนึ่งเขียนแทนด้วยตัวอักษรตัวหนึ่ง
  • แบบทั่วไปจะต้องสอดคล้องกับอักขรวิธีและวิธีออกเสียงในภาษาไทย
  • ในการเลือกตัวอักษรหรือเครื่องหมาย จะต้องคำนึงถึงตัวพิมพ์และตัวพิมพ์ดีดที่มีอยู่ ตลอดจนวิธีถอดอักษรที่มีใช้กันอยู่แล้วด้วย

เมื่อได้พิจารณาวิธีออกเสียงและตัวอักษรในภาษาไทยแล้ว คณะกรรมการมีความเห็นว่าในวิธีการถอดอักษรแบบทั่วไปไม่ต้องมีเครื่องหมายแสดงเสียงวรรณยุกต์หรือเครื่องหมายแสดงความสั้นยาวของเสียงสระ มีไว้สำหรับแบบพิสดารก็พอแล้ว

เมื่อคณะกรรมการได้จัดทำวิธีการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันเรียบร้อยแล้ว ก็ทำบันทึกเสนอต่อกระทรวงธรรมการ กระทรวงธรรมการนำเรื่องไปหารือกับราชบัณฑิตยสภา ราชบัณฑิตยสภาเห็นว่ากระทรวงธรรมการควรตีพิมพ์เผยแพร่วิธีการดังกล่าวเพื่อรับฟังความเห็นจากสาธารณชนเสียก่อน ต่อเมื่อไม่มีผู้ใดคัดค้านหรือแสดงความเห็นเพิ่มเติม จึงจะเสนอให้รัฐบาลประกาศใช้ต่อไป กระทรวงธรรมการเห็นด้วย จึงนำบันทึกรายงานของคณะกรรมการตีพิมพ์ลงในวารสาร วิทยาจารย์ และส่งสำเนาบันทึกรายงานให้หนังสือพิมพ์อื่น ๆ อีกบางฉบับตั้งแต่ต้น พ.ศ. 2475[2] อย่างไรก็ตาม วิธีการถอดอักษรที่ตีพิมพ์ในวารสาร วิทยาจารย์ นั้นครอบคลุมแบบทั่วไปและแบบพิสดารสำหรับสระเท่านั้น มิได้กล่าวถึงแบบพิสดารสำหรับพยัญชนะแต่อย่างใด[4]

ฉบับ พ.ศ. 2482

แก้

วิธีการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันที่กระทรวงธรรมการกำหนดไว้นั้นไม่ได้รับการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ เมื่อราชบัณฑิตยสถานรับโอนงานนี้มาจากกระทรวงธรรมการใน พ.ศ. 2477 ก็ได้สานงานนี้ต่อ[2] โดยพิจารณาทั้งแบบทั่วไปและแบบพิสดารร่วมกับสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศที่ฮานอย สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศเห็นชอบกับหลักการ แต่เสนอว่าควรแก้เครื่องหมายและตัวอักษรบางตัวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และควรแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างสระที่มีตัวสะกดกับสระที่ไม่มีตัวสะกดเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น ราชบัณฑิตยสถานได้นำข้อคิดเห็นต่าง ๆ มาดัดแปลงแก้ไขอีกเล็กน้อย ในที่สุดวิธีการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันทั้งสองแบบก็ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2482[2]

การวิพากษ์วิจารณ์

แก้

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง พ.ศ. 2542 ไม่ครอบคลุมลักษณะบางประการของระบบเสียงภาษาไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีข้อบกพร่องดังต่อไปนี้

  • ไม่แสดงเสียงวรรณยุกต์
  • ไม่จำแนกความต่างระหว่างสระเสียงสั้นกับสระเสียงยาว
  • สัญลักษณ์ ⟨ch⟩ ไม่จำแนกความต่างระหว่างเสียงพยัญชนะ /t͡ɕ/ กับเสียงพยัญชนะ /t͡ɕʰ/ (ดูตารางด้านล่าง) หลักเกณฑ์นี้ควรใช้ ⟨c⟩ แทน /t͡ɕ/ เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้สัญลักษณ์แทนเสียงพยัญชนะไม่พ่นลมเสียงอื่น ๆ แต่ผู้จัดทำหลักเกณฑ์ให้เหตุผลว่า หากใช้ ⟨c⟩ อาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดว่า ⟨c⟩ ออกเสียงเป็น [kʰ] หรือ [s] อย่างในภาษาอังกฤษ[3]
  • สัญลักษณ์ ⟨o⟩ ไม่จำแนกความต่างระหว่างเสียงสระ /ɔ/ กับเสียงสระ /o/ (ดูตารางด้านล่าง)
  หน่วยเสียง 1 หน่วยเสียง 2
อักษรโรมัน อักษรไทย สัทอักษรสากล คำบรรยาย ตัวอย่าง อักษรไทย สัทอักษรสากล คำบรรยาย ตัวอย่าง
ch จ, จร t͡ɕ พยัญชนะกักเสียดแทรก
เพดานแข็งปุ่มเหงือก
ไม่ก้อง
ไม่พ่นลม
าม = cham
จริง = ching
จันทร์ = chan
ฉ, ช, ฌ t͡ɕʰ พยัญชนะกักเสียดแทรก
เพดานแข็งปุ่มเหงือก
ไม่ก้อง พ่นลม
าม = cham
ฉิ่ง = ching
าน = chan
o โ–ะ, – o สระหลัง กึ่งปิด
ปากห่อ เสียงสั้น
จน = chon
ชล = chon
เ–าะ, –อ, –็อ ɔ สระหลัง กึ่งเปิด
ปากห่อ เสียงสั้น
จ้น = chon
ช่น = chon
โ– สระหลัง กึ่งปิด
ปากห่อ เสียงยาว
จร = chon
ชน = chon
–อ, – ɔː สระหลัง กึ่งเปิด
ปากห่อ เสียงยาว
จร = chon
ช้น = chon

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Report on the Current Status of United Nations Romanization Systems for Geographical Names: Thai (PDF)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การถอดอักษรไทยเป็นโรมัน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56: 3718. 26 มีนาคม 2482.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (37 ง): 11–12. 11 พฤษภาคม 2542.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "การถอดอักษรไทยเป็นโรมัน." วิทยาจารย์. เล่มที่ 32, ตอนที่ 8 (ประจำวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2475), 835–851.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • thai2english.com ถอดอักษรไทยออนไลน์ ตามการอ่านเสียง, ตามหลักราชบัณฑิตฯ, ตามสัทอักษรสากล ฯลฯ
  • โปรแกรมถอดอักษรไทยสำหรับวินโดวส์ โดย ผศ.ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล