วรรณกรรมพื้นบ้าน

วรรณกรรมพื้นบ้าน หมายถึง ผลงานที่เกิดขึ้นจากการใช้ภาษาโดยการพูดและการเขียนของกลุ่มชนในแต่ละท้องถิ่น เช่น วรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือ วรรณกรรมพื้นบ้านภาคอีสาน วรรณกรรมพื้นบ้านภาคใต้ เป็นต้น ซื่งในแต่ละท้องถิ่นก็จะใช้ภาษาพื้นบ้านในการถ่ายทอดเป็นเอกลักษณ์

วรรณกรรมที่สื่อเรื่องราวด้านต่างๆ ของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น จารีตประเพณี ชีวิตความเป็นอยู่ สภาพเศรษฐกิจและสังคม ทัศนคติ ค่านิยม ตลอดจนความเชื่อต่างๆ ของบรรพบุรุษ อันเป็นพื้นฐานของความคิดและพฤติกรรมของคนในปัจจุบัน

[1]ลักษณะของวรรณกรรมพื้นบ้าน แก้

  1. เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาจากมุขปาฐะ คือ เป็นการเล่าสืบต่อกันมาจากปากต่อปากและแพร่หลายกันอยู่ในกลุ่มชนท้องถิ่น
  2. เป็นแหล่งข้อมูลที่บันทึกข้อมูลด้านขนบธรรมเนียมประเพณีของกลุ่มชนท้องถิ่น อันเป็นแบบฉบับให้คนยุคต่อมาเชื่อถือและปฏิบัติตาม
  3. มักไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง เพราะเป็นเรื่องที่บอกเล่าสืบต่อกันมาจากปากต่อปาก
  4. ใช้ภาษาท้องถิ่น ลักษณะถ้อยคำเป็นคำง่ายๆ สื่อความหมายตรงไปตรงมา
  5. สนองความต้องการของกลุ่มชนในท้องถิ่น เช่น
    1. เพื่อความบันเทิง
    2. เพื่ออธิบายสิ่งที่คนในสมัยนั้นยังไม่เข้าใจ
    3. เพื่อสอนจริยธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีและพฤติกรรมด้านต่างๆ


ประเภทของวรรณกรรมพื้นบ้าน แก้

  1. จำแนกโดยอาศัยเขตท้องถิ่นได้ ๔ ประเภท คือ
    1. วรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือ (วรรณกรรมล้านนา)
    2. วรรณกรรมพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    3. วรรณกรรมพื้นบ้านภาคใต้
    4. วรรณกรรมพื้นบ้านภาคกลาง
  2. จำแนกตามวิธีการบันทึก ได้ ๒ ประเภท คือ
    1. วรรณกรรมมุขปาฐะ หมายถึง วรรณกรรมที่ใช้วิธีเล่าจากปากต่อปาก ไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
    2. วรรณกรรมลายลักษณ์อักษร หมายถึง วรรณกรรมที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-05. สืบค้นเมื่อ 2014-01-26.