พลเอก กฤษณ์ สีวะรา (25 มีนาคม พ.ศ. 2457 - 23 เมษายน พ.ศ. 2519) เป็นนายทหารชาวไทย และนักการเมือง อดีตผู้บัญชาการทหารบก, อดีตแม่ทัพภาคที่ 1 เป็นรัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตเลขาธิการคณะปฏิวัติผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ 14 ตุลา ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความสงบ[2] ภายหลังการลาออกจากทุกตำแหน่งและ เดินทางออกนอกประเทศของ 3 ทรราช และอดีตราชองค์รักษ์พิเศษ

กฤษณ์ สีวะรา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
19 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
นายกรัฐมนตรีจอมพล ถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าพลโท พงษ์ ปุณณกันต์
ถัดไปโอสถ โกศิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
21 เมษายน พ.ศ. 2519 – 23 เมษายน พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ก่อนหน้าพลตรี ประมาณ อดิเรกสาร
ถัดไปพลเอก ทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
9 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513
นายกรัฐมนตรีจอมพล ถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าน้อม อุปรมัย
ถัดไปอภัย จันทวิมล
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2517 – 30 กันยายน พ.ศ. 2518
ก่อนหน้าพลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์
ถัดไปพลเรือเอก สงัด ชลออยู่
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 30 กันยายน พ.ศ. 2518
ก่อนหน้าจอมพล ประภาส จารุเสถียร
ถัดไปพลเอก บุญชัย บำรุงพงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 มีนาคม พ.ศ. 2457
เมืองพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต23 เมษายน พ.ศ. 2519 (62 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองพรรคสหประชาไทย (2511 – 2514)
คู่สมรสคุณหญิงสุหร่าย สีวะรา
บุตร9 คน
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุด
กองทัพบกไทย
กองทัพเรือไทย
กองทัพอากาศไทย
ประจำการพ.ศ. 2477 - 2518
ยศ พลเอก
พลเรือเอก
พลอากาศเอก[1]
บังคับบัญชากองบัญชาการทหารสูงสุด
กองทัพบกไทย

ประวัติ

แก้

ชีวิตส่วนตัว

แก้

พล.อ. กฤษณ์ ชื่อเกิดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2457 เป็นบุตรชาย คนที่ 2 จากจำนวน 9 คน ของ ร.ต. ชิต และนางละมุล สีวะรา เดิมที พล.อ. กฤษณ์ เคยเปลี่ยน 4 ครั้ง คือ[3]

  • ละออ สีวะรา
  • บุญชุบ สีวะรา เมื่ออายุ 2 ปี
  • กริสน์ สีวะรา เปลี่ยนเมื่อ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 ครองยศ"ร้อยเอก"ในขณะนั้น
  • กฤษณ์ สีวะรา เปลี่ยนเมื่อ 23 พฤจิกายน พ.ศ. 2492 ครองยศ"พันโท"ในขณะนั้น

พล.อ. กฤษณ์ เคยสมรสกับนางสวาท สีวะรา หลังจบสงครามมหาเอเชียบูรพา กฤษณ์ก็แยกทางกัน ต่อมาก็สมรสกับคุณหญิงสุหร่าย สีวะรา (สกุลเดิม ลิ้มเจริญ) มีบุตรธิดา 9 คน

การศึกษา[4]

แก้

จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาลัย) และโรงเรียนเทพศิรินทร์ จากนั้นในปี พ.ศ. 2474 ได้เข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยทหารบกด้วยการสอบได้เป็นที่ 1 จบการศึกษาในปี พ.ศ. 2479 และได้รับพระราชทานยศร้อยตรีเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479

ก่อนรับราชการ

แก้

หลังรับราชการ

แก้
  • พ.ศ. 2489 - สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนทหารราบ ชั้นผู้บังคับกองร้อย
  • พ.ศ. 2495 - สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนทหารราบ ชั้นผู้บังคับกองพัน รุ่นที่ 1
  • พ.ศ. 2499 - สำเร็จการอบรมหลักสูตรการรบร่วม
  • พ.ศ. 2502 - สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยการทัพบก รุ่นที่ 1
  • พ.ศ. 2503 - สำเร็จอบรมหลักสูตรทำความคุ้นเคยอาวุธใหม่ ณ ค่ายบลิส กองทัพบกสหรัฐ
  • พ.ศ. 2504 - สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 3

การทำงาน

แก้

จากนั้นชีวิตราชการของ พล.อ. กฤษณ์ สีวะราเติบโตขึ้นมาเป็นลำดับในกองทัพภาคที่ 1 (และเป็นแม่ทัพภาคที่ 2 ด้วยในช่วงหนึ่ง) จนกระทั่งได้เป็นแม่ทัพภาคในปี พ.ศ. 2506 [6] และขึ้นเป็นรองผู้บัญชาการทหารบกในปี พ.ศ. 2509 [7] จากนั้นในรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจรได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม[8] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตามลำดับและเป็นสมาชิกวุฒิสภาอีกตำแหน่งด้วย

ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ได้รับแต่งตั้งให้เป็น ผบ.ทบ. ต่อจากจอมพล ประภาส จารุเสถียร ที่ดำรงตำแหน่งรอง ผบ.ทสส. เพียงตำแหน่งเดียว [9]

พล.อ. กฤษณ์ สีวะรา เป็นบุคคลแรกในกองทัพที่ปฏิเสธไม่รับตำแหน่งจอมพลจนถือเป็นประเพณีปฏิบัติตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลาเป็นต้นมาไม่มีการแต่งตั้งนายทหารยศจอมพลในประเทศไทยอีกโดยพล.อ.กฤษณ์ขอรับพระราชทานแค่ยศ พลเรือเอก และ พลอากาศเอก พร้อมกับ พล.อ. สุรกิจ มัยลาภ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2516 [10]

หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา พล.อ. กฤษณ์ ได้เป็นรักษาการผบ.ทสส. จนกระทั่งเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2518 และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2519[11] แต่หลังจากรับตำแหน่งได้ไม่นาน ก็ถึงแก่อนิจกรรมอย่างกะทันหันที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2519 โดยสาเหตุการถึงแก่อนิจกรรมยังคงเป็นที่สงสัย เพราะก่อนหน้านั้น พล.อ. กฤษณ์ ได้เล่นกอล์ฟและรับประทานข้าวเหนียวมะม่วงเพียงเท่านั้น

พล.อ. กฤษณ์ สีวะรา มีผลงานสำคัญในขณะดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 2, ผบ.ทบ. และรักษาราชการ ผบ.ทสส. ได้พยายามมอบนโยบายแก่ผู้บังคับบัญชาของกองทัพภาคที่ 2 เพื่อหาทางวางกำลังทหารที่จังหวัดสกลนคร ทำให้มีหน่วยทหารเข้ามาตั้งในพื้นที่เพื่อทำการปราบปรามผู้ก่อการร้ายจนเป็นที่ยำเกรงของอริราชศัตรู ทำให้ประชาชนได้รับความอบอุ่นโดยทั่วกัน กองทัพบกจึงได้อนุมัติให้ตั้งชื่อค่ายกองพันที่ 1 กรมทหารราบที่ 3 (ร.3. พัน.1) จ.สกลนคร ว่า "ค่ายกฤษณ์สีวะรา" เพื่อเป็นอนุสรณ์

เหตุการณ์ทางการเมือง

แก้

เหตุการณ์ 14 ตุลา

แก้

พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร กล่าวในปี พ.ศ. 2546 ว่า พล.อ. กฤษณ์ เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการสังหารหมู่นิสิต นักศึกษา และประชาชนในการชุมนุม แต่ก็เป็นการชี้แจงหลังเกิดเหตุมาเกือบ 30 ปี และเป็นการชี้แจงเพียงฝ่ายเดียวโดยที่ฝ่ายครอบครัวของทาง พล.อ. กฤษณ์ มิได้มีโอกาสชี้แจงกลับ คำกล่าวของ พ.อ. ณรงค์ ขัดแย้งกับ นายโอสถ โกศิน อดีตรัฐมนตรีที่ใกล้ชิดกับ พล.อ. กฤษณ์ ซึ่งระบุว่า พล.อ. กฤษณ์ เป็นบุคคลสำคัญที่ไม่ยอมให้มีการปฏิบัติการขั้นรุนแรงแก่นักศึกษา อย่างไรก็ตามเขาเป็น ผู้อำนวยการรักษาความปลอดภัยของประเทศ ในช่วงที่ 3 ทรราช ลี้ภัยไปต่างประเทศ โดยข้อเท็จจริงภายหลังเขาควบคุมสถานการณ์เหตุการณ์ก็เริ่มคลี่คลายลง

เหตุการณ์ 6 ตุลา

แก้

แม้ว่า พล.อ. กฤษณ์ จะเสียชีวิตไปก่อนเหตุการณ์ดังกล่าว แต่มีการวิเคราะห์ว่าการเสียชีวิตอย่ามีเงื่อนงำของ พล.อ. กฤษณ์ เป็นหนึ่งในชนวนเหตุที่ทำให้เกิดการปราบปรามนักศึกษาและประชาชนจนเป็นเหตุการณ์นองเลือดในเหตุการณ์ 6 ตุลา เพราะเปิดโอกาสให้ทหารฝ่ายขวาได้ครองอำนาจในกองทัพ

การเสียชีวิต

แก้

พล.อ. กฤษณ์เสียชีวิต เพราะ“ข้าวเหนียวมะม่วง” ขณะนั้นเป็นถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลผสม ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่มี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี

“…การเจ็บป่วยด้วยโรคท้องเฟ้อ อันสืบเนื่องมาแต่การรับประทานข้าวเหนียว มะม่วง จนถึงขั้นเกิดโรคแทรกซ้อนเป็นโรคหัวใจขาดเลือด การเข้าโรงพยาบาลพระมงกุฏ ฯ อย่างกระทันหัน เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2519 การตรวจวินิจฉัยโรคโดยนายแพทย์แห่งโรงพยาบาลดังกล่าว และแถลงว่าอาการ ป่วยดีขึ้นเป็นลำดับ แต่แล้วก็ทรุดหนักลงในเวลาเพียง 6 - 7 วัน และถึงแก่อนิจกรรม เช้ามืดวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2519 เป็นเรื่องที่น่าคิดว่าเหตุไฉน……” [12]

ค่ายกฤษณ์สีวะรา

แก้

เนื่องจาก พล.อ. กฤษณ์ สีวะรา ซึ่งก่อนถึงแก่อสัญกรรม เคยดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 2 เป็นผู้มองการณ์ไกลในการป้องกันประเทศ และได้พิจารณาเห็นว่า จ.สกลนคร เป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ จึงได้มอบหมายให้แก่ผู้บังคับบัญชา ในกองทัพภาคที่ 2 หาแนวทางในการวางกำลังทหาร ในพื้นที่เพื่อทำการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ จนทำให้ประชาชนได้รับความอบอุ่นนับได้ว่า พล.อ. กฤษณ์ สีวะรา เป็นนักการทหารที่มีสายตากว้างไกล สามารถคาดการณ์ได้ถูกต้องแม่นยำ ในขณะที่ พล.อ. กฤษณ์ สีวะรา ดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ. ได้กรุณาให้การสนับสนุนการก่อสร้าง และจัดตั้งหน่วย จังหวัดทหารบกอุดร (ส่วนแยกที่ 1 สกลนคร) และกองพันทหารราบที่ 1 กรมผสมที่ 3 ในขณะนั้นอย่างดียิ่ง จนค่ายทหารแห่งนี้ สามารถจัดตั้งเป็นปึกแผ่น เป็นที่เชิดหน้าชูตาของประเทศ และเป็นที่ยำเกรงของอริราชศัตรู

ในทางการเมือง พล.อ. กฤษณ์ สีวะรา เคยดำรงตำแหน่งในระดับสูงของรัฐบาลมาแล้วหลายยุคหลายสมัยในด้านความสามารถและความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับแก่ประชาชนทั่วไป ตลอดทั้งพี่น้องชาวจ.สกลนครเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ พล.อ. กฤษณ์ สีวะรา ซึ่งได้ถึงแก่อสัญกรรมไปแล้ว และเพื่อเป็นมิ่งขวัญ เป็นความภาคภูมิใจแก่เหล่าทหาร ที่ปฏิบัติภารกิจอยู่ ณ จ.สกลนคร กองทัพภาคที่ 2 จึงได้ขอพระราชทานนามค่ายนี้ว่า "ค่ายกฤษณ์สีวะรา" และเมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรด ฯ พระราชทานนามว่า "ค่ายกฤษณ์สีวะรา" เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พลเอก กฤษณ์ สีวะรา ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  2. แต่งตั้งผู้อำนวยการรักษาความสงบ
  3. ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก กฤษณ์ สีวะรา ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม 2519
  4. หนังสือที่ระลึกงานฌาปนกิจ พลเอก กฤษณ์ สีวะรา 25 ธันวาคม 2519
  5. ประวัติโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (พลเอก กฤษณ์ สีวะรา พลตำรวจโท พิชัย กุลละวณิชย์ นายมนูญ บริสุทธิ์ นายอภัย จันทวิมล นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์)
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 90 ตอน 115 ง พิเศษ หน้า 2 13 กันยายน พ.ศ. 2516
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 90 ตอน 173 ง พิเศษ หน้า 15 25 ธันวาคม พ.ศ. 2516
  11. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2012-07-26.
  12. รายงาน “ใครฆ่ากฤษณ์ สีวะรา? ปกปักษ์ทางการเมือง-การทหาร” โดยนาย กังหัน หน้า 4 หนังสือพิมพ์สหมิตร ฉบับตะวันใหม่ ปีที่ 1 ฉบับที่ 8 วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2521
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๑๙ ธันวาคม ๒๕๐๙
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๖
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๔๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๑
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๓๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗
  18. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๘๑, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๘๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๔ ตอนที่ ๖๑ ง หน้า ๓๓๓๑, ๑๖ ธันวาคม ๒๔๙๐
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๘ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๕๖ ง หน้า ๕๒๔๐, ๑๗ ตุลาคม ๒๔๙๓
  22. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๖ ง หน้า ๕๑๘๖, ๘ ธันวาคม ๒๔๙๖
  23. SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1964.
  24. "Semakan Penerima Darjah Kebesaran, Bintang dan Pingat Persekutuan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-19. สืบค้นเมื่อ 2017-06-10.
  25. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 84 ตอนที่ 73 หน้า 2237, 8 สิงหาคม 2510

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้