น้อม อุปรมัย (27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 - 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช 4 สมัย

น้อม อุปรมัย
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
16 มีนาคม – 16 กันยายน พ.ศ. 2500
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
7 สิงหาคม – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรีจอมพลถนอม กิตติขจร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454
อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
เสียชีวิต17 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 (71 ปี)
คู่สมรสนางภัทรา รัตนสุวรรณ

ประวัติ แก้

น้อม เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454[1] เป็นบุตรของนายกลิ่น และ นางกิมยี อุปรมัย สำเร็จการศึกษา ธรรมศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง สมรสกับนางภัทรา รัตนสุวรรณ มีบุตร-ธิดา รวม 7 คน

การทำงาน แก้

น้อมได้เข้าเข้ารับราชการเป็นครูจัตวา ที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ. 2474 ต่อมาได้ย้ายไปเป็นครูจัตวาโรงเรียนประชาบาล ตำบลศาลามีชัย 2 วัดศาลามีชัย อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ. 2476 และในระหว่าง พ.ศ. 2477 – 2484 ก็ได้ย้ายกลับมาเป็นครูที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศอีกครั้งหนึ่ง

หลังสำเร็จการศึกษาในระดับอนุปริญญาแล้ว น้อมได้เข้ารับราชการที่กระทรวงมหาดไทย และได้เป็นปลัดอำเภอตรี ที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ เมื่อ พ.ศ. 2485 ต่อมาย้ายไปเป็นปลัดอำเภอตรี อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2486 ต่อมาจึงได้รับการคัดเลือกและแต่งตั้งให้เป็นปลัดอำเภอตรี ที่อำเภอเมือง รัฐปะลิส และได้ย้ายมาเป็นปลัดอำเภอตรี ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี และได้ย้ายลงมาเป็นปลัดอำเภอตรีที่กิ่งอำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ในปีเดียวกันนั้นเอง จนใน พ.ศ. 2489 ก็ได้ลาออกจากราชการ เพื่อไปประกอบอาชีพส่วนตัวเป็นทนายความ

งานการเมือง แก้

น้อม ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรครั้งแรกใน พ.ศ. 2495 และได้รับเลือกติดต่อกันรวม 4 ครั้ง

น้อม ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ พ.ศ. 2501 ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร

นอกจากนี้ น้อมได้รับเลือกเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 8 เมื่อ พ.ศ. 2500[2] และ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ใน สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 10 เมื่อ พ.ศ. 2512

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

น้อม อุปรมัย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 จังหวัดนครศรีธรรมราช
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา[3]
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคสหภูมิพรรคชาติสังคม[4]
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคสหประชาไทย

ข้อเสนอสำคัญ แก้

เมื่อปี พ.ศ. 2498 น้อม อุปรมัย ได้ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลให้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูในภาค 8 (นครศรีธรรมราช)[5] จนเป็นที่มาของการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช ได้ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500

นอกจากนั้น เยังได้เสนอข้อเสนอเกี่ยวกับการศึกษาอีกจำนวนมาก เช่น การศึกษาทางไปรษณีย์ ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีการเปิดการเรียนการสอนด้วยวิธีการนี้[6] ปัญหาครูไม่พอทำการสอน การเลื่อนวิทยฐานะครู แบบเรียนมาตรฐาน หรือการประถมศึกษา[7] เป็นต้น

ถึงแก่อนิจกรรม แก้

น้อม อุปรมัย ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 สิริอายุรวม 71 ปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช. ณรงค์ บุญสวยขวัญ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2548
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (พลเอกพระประจนปัจจนึกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร นายน้อม อุปรมัย เป็นรอง ฯ คนที่ ๑ ร้อยโท จงกล ไกรฤกษ์ เป็นรอง ฯ คนที่ ๒)
  3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
  5. กระทู้ถามที่ ว. ๔๕/๒๔๙๘ ของนายน้อม อุปรมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่อง การตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูในภาค ๘
  6. กระทู้ถามที่ ว. ๔๔/๒๔๙๘ ของนายน้อม อุปรมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่อง การศึกษาทางไปรษณีย์
  7. กระทู้ถามที่ ว. ๓๒/๒๔๙๘ ของนายน้อม อุปรมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่อง การประถมศึกษา