คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 30

อดีตคณะรัฐมนตรีไทย

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 30 ของไทย (9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2512)

คณะรัฐมนตรีถนอม 2
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 30 แห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2506 - 2512
วันแต่งตั้ง11 ธันวาคม​ พ.ศ. 2506
วันสิ้นสุด7 มีนาคม​ พ.ศ. 2512
(5 ปี 87 วัน)
บุคคลและองค์กร
พระมหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีถนอม กิตติขจร
ประวัติ
ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 29
ถัดไปคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 31

พลเอก ถนอม กิตติขจร (ยศในขณะนั้น) เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

รายชื่อคณะรัฐมนตรี คณะที่ 30 ของไทย

แก้

ในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2506 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้[1]

  1. พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  2. พลเอก ประภาส จารุเสถียร เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  3. พลเอก ถนอม กิตติขจร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  4. นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  5. พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  6. พลเอก สุรจิต จารุเศรนี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
  7. พลโท พงษ์ ปุณณกันต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  8. นายพจน์ สารสิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
  9. พลเอก ประภาส จารุเสถียร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  10. พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ จุณณานนท์) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  11. หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  12. นายเกษม ศรีพยัคฆ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
  13. พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  14. นายบุณย์ เจริญไชย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  15. พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  16. พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
  17. พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
  18. นายบุญชนะ อัตถากร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
  19. นายทวี แรงขำ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

การปรับคณะรัฐมนตรี

แก้
  • วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2506 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งรัฐมนตรีเพิ่มเติมดังต่อไปนี้[2]
  1. พลเอก จิตติ นาวีเสถียร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  2. พลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2507 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้ง[3]
  1. พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สืบแทนนายบุณย์ เจริญไชย ซึ่งกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2507
  • วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2507 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ปรับปรุงและแต่งตั้งรัฐมนตรีบางตำแหน่ง ดังนี้[4]
  1. พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สืบแทน พลเอก สุรจิต จารุเศรนี ซึ่งกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2507
  2. หม่อมหลวง ชูชาติ กำภู เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
  • วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงและแต่งตั้งรัฐมนตรีบางตำแหน่ง ดังต่อไปนี้[5]
  1. นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สืบแทน นายเกษม ศรีพยัคฆ์ ซึ่งถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2508
  2. นายเสริม วินิจฉัยกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2510 นายบุญชนะ อัตถากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง
  • วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายพจน์ สารสิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อีกตำแหน่งหนึ่ง[6]

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี คณะที่ 30 ของไทย

แก้

คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เพราะเหตุที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามพระราชกฤษฎีกาให้เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนฯ พ.ศ. 2511 และพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2512 ต่อมาเมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้เข้ารับหน้าที่แล้ว คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ จึงพ้นจากตำแหน่ง แต่ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงาน ไปจนกว่าจะตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นใหม่ ตามมาตรา 147 วรรค 2 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

อ้างอิง

แก้
  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๙ ราย)
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (พลเอก จิตติ นาวีเสถียร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร และพลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี (นายบุณย์ เจริญชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมลาออก และตั้ง พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและปรับปรุงแต่งตั้งรัฐมนตรี (พลเอก สุรจิต จารุเศรนี ลาออก และตั้งพระประกาศสหกรณ์ หม่อมหลวงชูชาติ กำภู)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ปรับปรุงและแต่งตั้งรัฐมนตรี (ให้นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และตั้งนายเสริม วินิจฉัยกุล ดำรงตำแหน่งแทน)
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี (นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ และแต่งตั้งนายพจน์ สารสิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ อีกตำแหน่งหนึ่ง)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้