บุญเท่ง ทองสวัสดิ์
บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ (15 เมษายน 2455 - 1 พฤศจิกายน 2542) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรองประธานรัฐสภาและอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรวม 16 สมัย ซึ่งเคยมากที่สุดในโลก[1] (ปัจจุบันเป็นชวน หลีกภัย 17 สมัย) รวมถึงเป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับฉายาจากนักสื่อมวลชนว่า เท่งเที่ยงถึง[2]
บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ | |
---|---|
บุญเท่งในปี 2489 | |
รองประธานรัฐสภา และ ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 | |
ก่อนหน้า | หะริน หงสกุล |
ถัดไป | อุทัย พิมพ์ใจชน |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 – 15 มกราคม พ.ศ. 2529 | |
นายกรัฐมนตรี | เปรม ติณสูลานนท์ |
ดำรงตำแหน่ง 8 มกราคม พ.ศ. 2519 – 4 เมษายน พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 8 มกราคม พ.ศ. 2519 – 4 เมษายน พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | ใหญ่ ศวิตชาติ |
ถัดไป | ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 17 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 8 มกราคม พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | อรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร |
ถัดไป | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 เมษายน พ.ศ. 2455 อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 (87 ปี) เขตบางแค จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2491—2518) กิจสังคม (2518—2526) สหประชาธิปไตย (2526—2532) เอกภาพ (2532—2535) สามัคคีธรรม (2535) ชาติพัฒนา (2535—2542) |
คู่สมรส | เทียมจันทร์ ทองสวัสดิ์ (วานิชขจร) นารี ทองสวัสดิ์ |
ลายมือชื่อ | |
ประวัติ
แก้นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2455 [3]ที่ตำบลล้อมแรด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง บิดาชื่อ นายบุญเย็น เป็นปลัดอำเภอ มารดาชื่อ นางบุญมี มีอาชีพค้าขาย เมื่ออายุได้เพียง 10 ขวบ บิดาก็ถึงแก่กรรม ในวัยเด็กนายบุญเท่งเป็นเด็กที่เรียนหนังสือเก่ง เคยได้ทุนเรียนดีของอำเภอ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย, โรงเรียนเคนเนตแมคเคนซี่ และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นได้เดินทางมาศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ที่กรุงเทพมหานคร จนกระทั่งจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 โดยระหว่างที่อยู่กรุงเทพมหานครนั้น ได้เป็นเด็กวัดอาศัยอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม[4] ต่อมาได้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ธรรมศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง รวมถึงได้รับปริญญา รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2525-2526 สมรสกับ นางเทียมจันทร์ ทองสวัสดิ์ หรือ เทียมจันทร์ วานิชขจร (6 กุมภาพันธ์ 2464) รองนางสาวไทย อันดับ 2 ปี พ.ศ. 2482 [5] มีบุตรสาว คือ นางสาวธารทอง ทองสวัสดิ์ และสมรสอีกครั้งกับ นางนารี ทองสวัสดิ์
การทำงาน
แก้นายบุญเท่งได้เข้ารับราชการครั้งแรกเป็นผู้ฟังคดีประจำศาล หรือโปลีสสภา หรืออัยการตำรวจประจำศาลแขวงนครเหนือ ต่อมาศาลโปลีสสภาเปลี่ยนมาเป็นศาลแขวง ตำแหน่งผู้ฟังคดีประจำศาลได้เปลี่ยนเป็นอัยการตำรวจประจำศาลแขวง และได้ทำงานเป็นอัยการตำรวจประจำศาลแขวง เป็นเวลา 1 ปี
งานการเมือง
แก้นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดครั้งแรก ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2480 เนื่องจากมีญาติที่มีกิจการค้าไม้อยู่ที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ขณะที่อายุได้เพียง 26 ปี และได้รับเลือกตั้ง ทั้งที่มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดลำปาง ทั้งนี้เนื่องจากในขณะนั้น ผู้แทนฯคนเก่าของลำปาง คือ นายสร้อย ณ ลำปาง เป็นบุคคลที่ทางครอบครัวนายบุญเท่งให้การนับถือ จึงไม่ขอลงแข่งขันด้วย ด้วยในขณะนั้นจังหวัดลำปางมีผู้แทนราษฎรได้เพียงคนเดียว[4] และเป็นผู้แทนฯจังหวัดแม่ฮ่องสอนรวม 2 สมัย ต่อมาได้กลับมาลงรับสมัครที่ จังหวัดลำปาง ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2489 และได้รับเลือกติดต่อกัน จนถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2535 รวม 14 สมัย[6][7] ในสังกัดพรรคการเมืองต่างๆ อาทิ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคกิจสังคม พรรคสหประชาธิปไตย พรรคเอกภาพ พรรคสามัคคีธรรม และพรรคชาติพัฒนา ตามลำดับ
นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ ได้รับตำแหน่งทางการเมืองสำคัญหลายตำแหน่ง อาทิ ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 13, รัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวง 2 สมัย[8], รัฐมนตรีว่าการกระทรวมหาดไทย[9] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช และเป็นรองนายกรัฐมนตรีอีกครั้งในรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์[10]
นอกจากนี้ นายบุญเท่งยังมีส่วนร่วมในการก่อตั้งพรรคการเมืองหลายพรรค อาทิ พรรคประชาธิปัตย์ ที่ร่วมกับนายควง อภัยวงศ์ แกนนำพรรคก้าวหน้า มารวมกับพรรคประชาธิปไตย ของ ดร.โชติ คุ้มพันธ์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2489, พรรคกิจสังคม ที่ร่วมกับ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2518 และ เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคสหประชาธิปไตย อีกด้วย
อีกทั้งยังเคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[11]
รางวัลและเกียรติยศ
แก้บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชโปรดเกล้าแต่งตั้ง
ถึงแก่อสัญกรรม
แก้บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 สิริอายุรวม 87 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2522 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2523 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[14]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[15]
อ้างอิง
แก้- ↑ สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ 42,7 (16-22 ก.ค. 2538),38-39 สละ ลิขิตกล
- ↑ วาทะ “เท่ง เที่ยงถึง” ส.ส.ไร้พ่ายชี้ การซื้อเสียงเป็น “วัฒนธรรมหนึ่งของคนไทยเสียแล้ว”
- ↑ บุญเท่ง ทองสวัสดิ์
- ↑ 4.0 4.1 หน้า 10 บทความ-การ์ตูน, บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ : ผู้แทนฯตลอดกาล. "ส่วนร่วมสังคมไทย" โดย นรนิติ เศรษฐบุตร. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,263: วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559 ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม
- ↑ "กระทู้จาก thaifilm.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 2008-04-17.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๑ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓, ๑๘ เมษายน ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑๔ มกราคม ๒๕๑๙
- ↑ รายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๖ จากเว็บไซต์ thaiscouts