พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)
มหาอำมาตย์ตรี พระยามานวราชเสวี (นามเดิม ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) (18 กันยายน พ.ศ. 2433 - 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527) อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 9 เป็นเวลา 15 ปี อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา อดีตอธิบดีกรมอัยการ เลขาธิการเนติบัณฑิตยสภา อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตสมาชิกสภากรรมการองคมนตรีในรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรีและองคมนตรีในรัชกาลที่ 9 และศาสตราจารย์วิสามัญแห่งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง[1]
มหาอำมาตย์ตรี พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม., ภ.ป.ร.1 | |
---|---|
![]() | |
ประธานรัฐสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 3 สิงหาคม พ.ศ. 2479 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2486 (6 ปี 325 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร |
ก่อนหน้า | เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) |
ถัดไป | พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) |
ดำรงตำแหน่ง 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 – 15 ตุลาคม พ.ศ. 2488 (1 ปี 105 วัน) | |
ก่อนหน้า | พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) |
ถัดไป | วิลาศ โอสถานนท์ |
ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
ดำรงตำแหน่ง 3 สิงหาคม พ.ศ. 2479 – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2480 (1 ปี 129 วัน) | |
ก่อนหน้า | เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) |
ถัดไป | พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) |
ดำรงตำแหน่ง 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2488 (0 ปี 358 วัน) | |
ก่อนหน้า | พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) |
ถัดไป | เกษม บุญศรี |
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา | |
ดำรงตำแหน่ง 27 ตุลาคม พ.ศ. 2466 – 6 กันยายน พ.ศ. 2468 (1 ปี 315 วัน) | |
ถัดไป | พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ (วงษ์ ลัดพลี) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 กันยายน พ.ศ. 2433 จังหวัดสงขลา ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 (93 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงศรี (ลพานุกรม) มานวราชเสวี |
ประวัติแก้ไข
พระยามานวราชเสวี เป็นบุตรพระอนันตสมบัติ (เอม ณ สงขลา) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา เกิดที่บ้านพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา) ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นน้องชายร่วมบิดามารดากับเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)
การศึกษาแก้ไข
หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมที่โรงเรียนราชวิทยาลัย ได้อยู่ในพระอุปถัมภ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
- การศึกษา (ตามลำดับ)
- โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก (อสช 971)
- โรงเรียนเทพศิรินทร์
- โรงเรียนราชวิทยาลัย (ปัจจุบันคือโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ )
พ.ศ. 2456 ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงของกระทรวงยุติธรรม ไปศึกษาต่อกฎหมายที่โรงเรียนอินเนอร์เทมเปิล (Inner Temple) ประเทศอังกฤษ
ครอบครัวแก้ไข
พระยามานวราชเสวี สมรสกับท่านผู้หญิงศรี มานวราชเสวี (ลพานุกรม) มีบุตรชายคนเดียว คือ
- วิรัช ณ สงขลา สมรสกับหม่อมเจ้าหญิงวุฒิเฉลิม วุฒิไชย มีบุตรชายสองคนชื่อ
- เดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562
- ณัฐญาดา ณ สงขลา [2]
ยศแก้ไข
ยศพลเรือนแก้ไข
- มหาอำมาตย์ตรี
ยศเสือป่าแก้ไข
- 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 นายหมวดตรี[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2493 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2493 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2484 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2461 - เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา[5]
- พ.ศ. 2461 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
- พ.ศ. 2463 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
- พ.ศ. 2465 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 3 ตริตราภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
- พ.ศ. 2466 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)
- พ.ศ. 2467 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
- พ.ศ. 2468 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2475 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
- พ.ศ. 2484 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. 2476 - เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1
- พ.ศ. 2477 - เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)
- พ.ศ. 2478 - เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)
- พ.ศ. 2469 - เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 4 (ป.ป.ร.4)
- พ.ศ. 2469 - เหรียญบรมราชาภิเษกทอง รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2481 - เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 2 (อ.ป.ร.2)[6]
- พ.ศ. 2493 - เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๙ (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2496 - เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[7]
พงศาวลีแก้ไข
พงศาวลีของพระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ประกาศตั้ง ศาสตราจารย์วิสามัญแห่งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง, เล่ม ๕๑, ๑ กรกฎาคม ๒๔๗๗, หน้า ๙๐๐
- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ ราชกิจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เล่ม 57 หน้า 2942
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๓๕, ตอน ๐ ง, ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๑, หน้า ๒๙๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๕๕, ตอน ๐ ง, ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑, หน้า ๒๙๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐, ตอน ๑๐ ง, ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๖, หน้า ๕๒๙
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
ก่อนหน้า | พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) | ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานรัฐสภา (ครั้งที่ 1) (3 สิงหาคม พ.ศ. 2479 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2480) |
พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) | ||
พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) | ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานรัฐสภา (ครั้งที่ 2) (2 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2488) |
เกษม บุญศรี (ประธานสภาผู้แทนราษฎร) พันตรี วิลาศ โอสถานนท์ (ประธานรัฐสภา) | ||
เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (22 กันยายน พ.ศ. 2477 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2478) |
พันตรี วิลาศ โอสถานนท์ | ||
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร | ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (16 มิถุนายน พ.ศ. 2489 - 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517) |
หลวงอดุลเดชจรัส (อดุล อดุลเดชจรัส) |