สภากรรมการองคมนตรี
สภากรรมการองคมนตรี เป็นคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแต่งตั้งองคมนตรี จำนวน 40 คน ตั้งเป็น สภากรรมการองคมนตรี ทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมาย ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งองคมนตรี ขึ้นใหม่ทุกปีในวันที่ 4 เมษายน เนื่องในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ในขณะที่กฎหมายกำหนดให้องคมนตรี ดำรงตำแหน่งจนถึงสิ้นรัชกาล และมีกำหนดหลังจากนั้นอีก 6 เดือน เมื่อสิ้นรัชกาลจึงมีองคมนตรีมากถึง 233 คน
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาขึ้นสามคณะ ประกอบด้วย อภิรัฐมนตรีสภา เสนาบดีสภา และ สภากรรมการองคมนตรี โดยอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช ๒๔๗๐ ซึ่งทรงตราขึ้นมาใช้บังคับแทน พระราชบัญญัติปรีวีเคาน์ซิล พุทธศักราช ๒๔๑๗ ประกอบด้วยกรรมการองคมนตรีจำนวน 40 คน ซึ่งจะทรงตั้งจากองคมนตรี มีหน้าที่ประชุมปรึกษาหารือ ถวายความเห็นเกี่ยวกับสวัสดิภาพแห่งบ้านเมืองและประชาชน โดยกำหนดให้กรรมการองคมนตรี อยู่ในตำแหน่งได้ครั้งละ 3 ปี หลังจากนั้นอาจจะทรงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งซ้ำอีกก็ได้
สภากรรมการองคมนตรี ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีทั้งสิ้น 2 ชุด คือ ชุดที่หนึ่ง ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 2 กันยายน 2470 - 31 มีนาคม 2474 และชุดที่สอง ตั้งแต่ 1 เมษายน 2474 - 31 มีนาคม 2476 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้มีประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติองคมนตรี เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475
รายนามกรรมการองคมนตรี ในรัชกาลที่ 7 แก้ไข
ชุดที่หนึ่ง พ.ศ. 2470 - 2474 แก้ไข
(2 กันยายน 2470 - 31 มีนาคม 2474) [1]
- พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์
- หม่อมเจ้าบวรเดช กฤดากร
- หม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร
- หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร
- หม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร
- หม่อมเจ้าอุปพัทธพงศ์ ศรีธวัช
- เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
- เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)
- เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
- เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร)
- พระยาจินดาภิรมย์ราชสภาบดี (จิตร ณ สงขลา)
- พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (มิ้น เลาหเศรษฐี)
- พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี (บุญช่วย วณิกกุล)
- พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
- พระยาเทพอรชุน (อุ่ม อินทรโยธิน)
- พระยาบริบูรณ์ราชสมบัติ (หม่อมราชวงศ์มูล ดารากร)
- พระยาเผด็จดุลบดี (เลียบ อรรถยุกติ)
- พระยาเพชรดา (สอาด ณ ป้อมเพ็ชร์)
- พระยาไพศาลศิลปสาตร์ (รื่น ศยามานนท์)
- พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)
- พระยามโหสถศรีพิพัฒน์ (เชิญ ปริชญานนท์)
- พระยาวิสูตรสาครดิฐ (สาย โชติกเสถียร)
- พระยาศรีธรรมาธิราช (เจิม บุณย์รัตพันธุ์)
- พระยาจ่าแสนยบดี (ชิต สุวรรณวร)
- พระยาศุภกรณ์บรรณสาร (นุ่ม วสุธาร)
- พระยาสุรินทราชา (นกยุง วิเศษกุล)
- พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค)
- พระยาสุพรรณสมบัติ (ติณ บุนนาค)
- พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช)
- หม่อมเจ้าอลงกฎ ศุขสวัสดิ
- หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์
- พระยาราชนกูลวิบูลยภักดี (อวบ เปาโรหิตย์)
- พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (ศุข ดิษยบุตร์)
- พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน)
- พระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา)
- พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป)
- หม่อมเจ้าดำรัศดำรงค์ เทวกุล
- พระยาอานุภาพไตรภพ (จำรัส เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
- พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร)
- แต่งตั้งเพิ่มเติม
- หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยยันต์ (3 เมษายน 2471 แทนหม่อมเจ้าบวรเดช กฤดากร ที่ไปดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม)
- พระยาสารศาสตร์ศิริลักษณ์ (สรรเสริญ สุขยางค์) (3 เมษายน 2471 แทน พระยาสุพรรณสมบัติ ที่ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ประจำกรุงโตเกียว)
- พระยาพิพิธสมบัติ (ตาบ กุวานนท์)
- พระยาศรีธรรมราช (ทองคำ กาญจนโชติ) [2]
- เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) (3 เมษายน 2472 แทนพระยาจินดาภิรมย์ ที่ไปดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม)
- พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) (3 เมษายน 2472 แทน หม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร ที่ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ประจำกรุงวอชิงตัน) [3]
ชุดที่สอง พ.ศ. 2474 - 2475 แก้ไข
(1 เมษายน 2474 - 31 มีนาคม 2476) [4] สิ้นสุดลงเมื่อคณะราษฎรได้มีประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติองคมนตรี เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475
- พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
- หม่อมเจ้าสกลวรรณากร วรวรรณ
- เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
- เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)
- เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
- เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร)
- เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค)
- เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์มูล ดารากร)
- พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี (บุญช่วย วณิกกุล)
- พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
- พระยาราชนกูลวิบูลยภักดี (รื่น ศยามานนท์)
- พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)
- พระยามโหสถศรีพิพัฒน์ (เชิญ ปริชญานนท์)
- พระยาจ่าแสนยบดี (ชิต สุวรรณวร)
- พระยาสุรินทราชา (นกยุง วิเศษกุล)
- พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค)
- พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช)
- พระยามหาวินิจฉัยมนตรี (เภา ภวมัย)
- พระยาอมเรศร์สมบัติ (ต่วน ศุขะวณิช)
- พระยาพรหมทัตศรีพิลาต (แฉล้ม มิตรานนท์)
- พระยาเมธาธิบดี (สาตร์ สุทธเสถียร)
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฎ
- หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยยันต์
- เจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์)
- พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (ศุข ดิษยบุตร)
- พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน)
- พระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา)
- พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป)
- พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์)
- พระยาอานุภาพไตรภพ (จำรัส เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
- หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยยันต์
- พระยาพิพิธสมบัติ (ตาบ กุวานนท์)
- พระยาสารศาสตร์ศิริลักษณ์ (สรรเสริญ สุขยางค์)
- พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล)
- หม่อมเจ้าวิบุลย์สวัสดิ์วงศ์ สวัสดิกุล
- พระยาชลมารคพิจารณ์ (หม่อมหลวงพงษ์ สนิทวงศ์)
- พระยากฤตราชทรงสวัสดิ์ (สุดใจ ไกรจิตติ)
- พระยาอัชราชทรงสิริ (แม้น อรุณลักษณ์)
- พระยาวิทุรธรรมพิเนตุ (โต๊ะ อัมระนันทน์)
- พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ผ่อง โชติกะพุกกณะ)
ดูเพิ่ม แก้ไข
อ้างอิง แก้ไข
- จีรวัฒน์ ครองแก้ว. องคมนตรี ศักดิ์ศรีแผ่นดิน. กรุงเทพ : มูลนิธิทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ, พ.ศ. 2550. 269 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-7362-09-1
แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข
- พระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช ๒๔๗๐[ลิงก์เสีย] (PDF file)