หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
พลเรือตรี นายแพทย์ หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์ (29 ธันวาคม พ.ศ. 2426 — 7 เมษายน พ.ศ. 2483) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ประสูติแต่หม่อมกลีบ (สกุลเดิม ฌูกะวิโรจน์) เสกสมรสกับ หม่อมหลวงคลอง ไชยันต์ (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์)
หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์ | |
---|---|
ประสูติ | 29 ธันวาคม พ.ศ. 2426 |
สิ้นชีพิตักษัย | 7 เมษายน พ.ศ. 2483 (56 ปี) |
ศิษย์เก่า | โรงพยาบาลกายส์ฮอสปีตัล |
อาชีพ | แพทย์ทหาร, ตุลาการ |
หม่อม | หม่อมหลวงคลอง สนิทวงศ์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
ราชสกุล | ไชยันต์ |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย |
พระมารดา | หม่อมกลับ ไชยันต์ ณ อยุธยา |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองทัพเรือไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2457 – พ.ศ. 2475 |
ชั้นยศ | พลเรือตรี |
บังคับบัญชา | กรมแพทย์ทหารเรือ |
การศึกษา
แก้หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์ เป็นนักเรียนหลวงทุนพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปศึกษาวิชาแพทย์ ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2439 ทรงสำเร็จการศึกษา หลักสูตรอายุรศาสตร์ โรคเมืองร้อน (L.C.R.) และ ศัลยศาสตร์ (M.R.C.S.) เมื่อปี พ.ศ. 2457 จากโรงพยาบาลกายส์ฮอสปีตัล กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
การทรงงาน
แก้หลังจากทรงสำเร็จการศึกษาวิชาแพทย์แล้ว หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ได้เข้ารับราชการเป็นแพทย์ทหารเรือ และดำรงตำแหน่งนายแพทย์ประจำพระองค์ รวมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- นายแพทย์ใหญ่ทหารเรือ กระทรวงทหารเรือ พ.ศ. 2460 – พ.ศ. 2475 (ปัจจุบันคือตำแหน่งเจ้ากรมแพทย์ทหารเรือ)[1]
- นายแพทย์ประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พ.ศ. 2460
- ประธานตุลาการศาล กรมบัญชาการทหารเรือ พ.ศ. 2469
- องคมนตรี ตามพระราชบัญญัติองคมนตรี พ.ศ. 2470
- องคมนตรี พ.ศ. 2474 - 2476[2]
- นายกอำนวยการจัดประชุมสมาคมเวชกรรมเมืองร้อนแห่งบูรพเทศ พ.ศ. 2473
ในทางทหารเรือได้มีบันทึกถึงกิจการที่ท่านได้วางรากฐานและพัฒนาไว้ ได้แก่ การสร้างสถานบริการแพทย์ไว้เป็นระเบียบเรียบร้อย การจัดการศึกษานักเรียนพยาบาลเป็นหลัก การจัดงานแผนกต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเรียบร้อย ได้จัดการปราบโรคเหน็บชาในกองทัพเรือจนสิ้นเชิง ได้จัดอาสารักษาอหิวาตกโรคสำหรับพลเมืองทั่วไปกับทหาร ในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งนายแพทย์ใหญ่ทหารเรือ ท่านได้ยกวิทยฐานะของแพทย์ผู้ประกอบโรคศิลปะทั้งหมดที่มีอยู่ในการแพทย์ทหารเรือให้เท่าเทียมกัน ให้ทุกคนมีสิทธิเสรีในการรักษาพยาบาลตามที่ตนเห็นชอบ ไม่กำหนดตามแบบเดิมที่ว่า แพทย์ประจำหมวดเรือหรือแพทย์ประจำแผนก ไม่มีสิทธิ์จะตั้งตำหรับยารักษาโรค ไม่มีสิทธิทำการักษาคนไข้โดยอิสระ ดำเนินการรักษาโดยลำพังไม่ได้ต้องมีหัวหน้าแพทย์ควบคุม พฤติการณ์ที่ท่านทรงกระทำนี้ นับว่าท่านได้ส่งเสริมวิทยฐานะของแพทย์ให้มีสิทธิเสรีอย่างน่าสรรเสริญยิ่ง ต่อมาท่านได้ทรงจัดตั้งโรงเรียนจ่าพยาบาลขึ้นในกรมแพทย์ทหารเรือสอนและอบรมจนกระทั่งสภาการแพทย์รับจดทะเบียนเป็นแพทย์ชั้น 2 ได้[3]
ในระหว่างทรงประกอบวิชาชีพแพทย์ทหารเรือ หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์ ทรงเป็นครูสอนวิชาแพทย์ ครูวิชาโรคผิวหนัง และบรรณาธิการวารสารการแพทย์ ทรงนิพนธ์ตำราแพทย์และคู่มือแพทย์หลายเล่มด้วยกัน อาทิเช่น คู่มือแพทย์ประจำครอบครัว รวมถึงได้ร่วมประชุมก่อตั้งแพทยสมาคมฯ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2464 โดยครั้งแรกได้จดทะเบียนเป็น “สมาคม” มีสำนักงานชั่วคราวอยู่ที่ตึกอำนวยการของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งแต่ก่อนที่จะมีสมาคมนี้ขึ้น ได้มีการประชุมของแพทย์ชั้นผู้ใหญ่ เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2464 เป็นครั้งแรก[4]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งกรรมการสภาองคมนตรี ตามพระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช 2470[5]
พลเรือตรี นายแพทย์ หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์ สิ้นชีพิตักษัย เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2483 สิริชันษา 56 ปี
ภายหลังจากสิ้นชีพิตักษัย สมาคมแพทย์ทหารแห่งประเทศไทยได้ยกย่อง พลเรือตรี นายแพทย์ หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์ เป็นคนดีศรีแพทย์ทหาร สาขาแพทย์ทหารและการบริการสังคม
พระเกียรติยศ
แก้พลเรือตรี หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์ ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2473 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[6]
- พ.ศ. 2474 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[7]
- พ.ศ. 2468 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[8]
- พ.ศ. 2460 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[9]
- พ.ศ. 2471 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการในพระองค์ (ร.ด.ม.(พ))[10]
- พ.ศ. 2473 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[11]
- พ.ศ. 2474 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 2 (ป.ป.ร.2)[12]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2474 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ ชั้นที่ 1[13]
- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2477 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 2[14]
- เชโกสโลวาเกีย :
- พ.ศ. 2477 – เครื่องอิสริยาภรณ์สิงโตขาว ชั้นที่ 2[15]
- ราชอาณาจักรฮังการี :
- พ.ศ. 2477 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งราชอาณาจักรฮังการี ชั้นที่ 2[16]
พระยศ
แก้พระยศทหาร
แก้- – นายนาวาโท
- 23 เมษายน พ.ศ. 2463: นายนาวาเอก[17]
- 5 กันยายน พ.ศ. 2467: โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมุรธาธรส่งสัญญาบัตรยศไปพระราชทาน[18]
- 27 มีนาคม พ.ศ. 2467: นายพลเรือตรี[19]
พระยศพลเรือน
แก้- 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2469: มหาเสวกตรี[20]
อ้างอิง
แก้- ↑ แจ้งความกระทรวงทหารเรือ
- ↑ ประกาศตั้งกรรมการองคมนตรี พ.ศ. 2474 - 2476 ราจกิจจานุเบกษา วันที่ 15 มีนาคม 2473http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2473/A/433.PDF
- ↑ สมาคมแพทย์ทหารแห่งประเทศไทย
- ↑ ประวัติแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
- ↑ พระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช 2470 ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 5 กันยายน 2470http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2470/A/205.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๑๘, ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๙๕, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๑๖, ๖ ธันวาคม ๒๔๖๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มราชการแผ่นดิน, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๖๙, ๒๐ มกราคม ๒๔๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๑๒, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๓๔, ๙ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๙๒, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาต ประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๙๙๙, ๑๐ มกราคม ๒๔๗๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง ให้ตราต่างประเทศ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๐๑๘, ๒๐ มกราคม ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความให้ประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๐๘, ๙ มิถุนายน ๒๔๗๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความให้ประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๐๙, ๙ มิถุนายน ๒๔๗๘
- ↑ พระราชทานยศทหารเรือ
- ↑ ส่งสัญญาบัตรยศทหารเรือไปพระราชทาน
- ↑ พระราชทานยศทหารเรือ
- ↑ พระราชทานยศ