พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
มหาอำมาตย์โท[2] พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ มีพระนามเดิมว่า พระบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส หรือนามปากกาว่า น.ม.ส. (10 มกราคม พ.ศ. 2420 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488) เป็นปราชญ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย เป็นองค์ต้นราชสกุล รัชนี[3]
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ | |
---|---|
พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชั้นโท | |
อธิบดีกรมกษาปณ์สิทธิการ[1] | |
ดำรงตำแหน่ง | 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447 |
ประสูติ | 10 มกราคม พ.ศ. 2420 |
สิ้นพระชนม์ | 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 (68 ปี) |
ชายา หม่อม | หม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี หม่อมพัฒน์ รัชนี ณ อยุธยา |
พระบุตร | 11 องค์ |
ราชสกุล | รัชนี |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ |
พระมารดา | จอมมารดาเลี่ยมเล็ก |
ลายพระอภิไธย |
พระประวัติ
แก้พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ มีพระนามเดิมว่า พระบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส เป็นพระราชโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) กับจอมมารดาเลี่ยมเล็ก (ธิดานายสุดจินดา (พลอย ชูโต) [4] ประสูติเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2420 ในพระบวรราชวัง มีพระเชษฐภคินีหนึ่งพระองค์คือพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภัททาวดีศรีราชธิดา
เมื่อเยาว์วัยทรงเรียนหนังสือกับพระมารดาที่ตำหนัก เมื่อพระชันษา 5 ปี ก็ทรงอ่านหนังสือได้คล่อง ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เมื่อพ.ศ. 2429 และต่อมาศึกษาภาษาอังกฤษจนถึงพ.ศ. 2436 จึงเข้ารับราชการในตำแหน่งนายเวร กระทรวงธรรมการ ขณะพระชันษา 16 ปี และได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยในกรมศึกษาธิการใน ทรงรับหน้าที่พิเศษเป็นข้าหลวงสอบไล่วิชาหนังสือไทย ทรงเป็นกรรมการพิเศษร่างพระราชบัญญัติพิจารณาความแพ่ง และทรงได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2432 ผนวชเป็นสามเณร โดยมีพระพรหมมุนี (เหมือน สุมิตฺโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระเมธาธรรมรส (อ่อน อหึสโก) เป็นพระศีลาจารย์[5]
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป พ.ศ. 2440 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสตามเสด็จด้วย ทรงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เป็นเวลาสองปี และเสด็จกลับจากประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2442
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรี[6]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพระริเริ่มตั้งลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2470 และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการองคมนตรี[7] โดยทรงได้รับเลือกเป็นสภานายก เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2474[8]
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 ด้วยพระโรคหลอดเลือดในสมองตัน สิริพระชันษา 68 ปี 195 วัน มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2491 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[9]
พระกรณียกิจ
แก้พ.ศ. 2442 ทรงเข้ารับราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงรับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมตรวจและกรมสารบาญชี
พ.ศ. 2444 ทรงย้ายเป็นปลัดกรมธนบัตร และเจริญก้าวหน้าเป็นผู้แทนเจ้ากรมธนบัตร เจ้ากรมธนบัตร เจ้ากรมกองที่ปรึกษาอธิบดีกรมประสาปน์สิทธิการ อธิบดีกรมตรวจและกรมสารบาญชี อธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ทรงจัดตั้งและวางรากฐานกิจการสหกรณ์ จนในที่สุดได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์
วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส เป็นองคมนตรี[10] และในวันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาเป็น พระราชวรวงษ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงศักดินา 11000 เครื่องยศพระราชทานประกอบด้วย พระมาลาเส้าเสทิน เครื่องทองคำลงยา มีพระยี่ก่า หีบหมากทองคำลงยา กากระบอกมีถาดรองทองคำ และพระแสงดาบญี่ปุ่นฝักถม[11] ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรีต่อไป[12] โดยทรงดำรงตำแหน่งถึงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475[13]
พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ดำรงตำแหน่งอุปนายกกรรมการหอพระสมุดสำหรับพระนคร ซึ่งต่อมาได้รวมเข้ากับกรมศิลปากร ต่อมาได้เปลี่ยนจากหอสมุดสำหรับพระนครเป็น "ราชบัณฑิตยสภา"[14]
การสหกรณ์ไทย
แก้ทรงดำริให้จัดสร้างสหกรณ์วัดจันทร์ สหกรณ์แห่งแรกของไทย[15]
พระนิพนธ์
แก้ในด้านงานพระนิพนธ์ ทรงเป็นกวีเอก ในการนิพนธ์ร้อยกรองและร้อยแก้วมากมายหลายเรื่อง ทรงใช้พระนามแฝงว่า "น.ม.ส." ย่อมาจากตัวอักษรท้ายพระนามเดิม รัชนี แจ่ม จรัส ทรงมีผลงานตีพิมพ์ (บางส่วน) ได้แก่
- พ.ศ. 2447 - สงครามญี่ปุ่น กับ รัสเซีย 2 เล่ม
- พ.ศ. 2448 - จดหมายจางวางหร่ำ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายเดือน "ทวีปัญญา" ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- พ.ศ. 2453 - สืบราชสมบัติ
- พ.ศ. 2459 - พระนลคำฉันท์ และ ตลาดเงินตรา
- พ.ศ. 2461 - นิทานเวตาล พิมพ์ครั้งแรก เพื่อแจกในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมพัฒน์ รัชนี
- พ.ศ. 2465 - กนกนคร
- พ.ศ. 2467 - ความนึกในฤดูหนาว
- พ.ศ. 2469 - ปาฐกถา เล่ม 1 พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าจอมมารดาเลี่ยม
- พ.ศ. 2472 - ปาฐกถา เล่ม 2
- พ.ศ. 2473 - ประมวญนิทาน น.ม.ส. รวบรวมจากหนังสือ ลักวิทยาและทวีปัญญา
- พ.ศ. 2473 - กลอนและนักกลอน
- พ.ศ. 2474 - เห่เรือ ทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระราชพิธีทรงเปิดสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2475
- พ.ศ. 2474 - บทร้อง"อโหกุมาร" - ทรงนิพนธ์ด้วยสยามวิเชียรฉันท์8 ประทานให้เป็นบทร้องประจำโรงเรียนเทพศิรินทร์
- พ.ศ. 2474 - กาพย์เรื่องศรีธนนชัย[16]: 177
- พ.ศ. 2474 - คำทำนาย
- พ.ศ. 2475 - ฉันท์สดุดีสังเวยสมโภชพระมหาเศวตฉัตร[16]: 176
- พ.ศ. 2477 - เครื่องฝึกหัดเยเตลแมนในออกซฟอร์ดและเคมบริดจ์
- พ.ศ. 2477 - สักรวาไปรษณีย์[16]: 176
- พ.ศ. 2478 - นิทานกลอนพาไป[16]: 177
- พ.ศ. 2480 - เสภาสภา[16]: 176
- พ.ศ. 2480 - สักรวาชุด (สักรวาคราเลือกตั้ง สักรวาชุดชายสามโบสถ์ และสักวาชุดของครูเทพ)[16]: 177 [17]: 74
- พ.ศ. 2480 - โคลงนิทานกันโชกรามเกียรติ์[16]: 177
- พ.ศ. 2480 - โคลงไหว้ครู[18]: 7
- พ.ศ. 2481 - ปฤษาณาเถลิงศก[16]: 177
- (ไม่ทราบปีที่พิมพ์ แต่ทรงนิพนธ์ช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2) - ยุคกลางในยุโรป หรือ นิทานชาลมาญ
- พ.ศ. 2487 - สามกรุง - พระนิพนธ์สุดท้ายในกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ขณะนั้นพระองค์ประชวรต้อกระจก ทรงให้ หม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี รังสิต (พระธิดาในกรม) จดตามคำบอกของพระองค์
ครอบครัว
แก้พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ได้ทำพิธีอาวาหะมงคลกับหม่อมพัฒน์ (สกุลเดิม บุนนาค) บุตรีของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) และท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2444 มีพระโอรส-ธิดาหกองค์[19] ครั้นเมื่อหม่อมพัฒน์ถึงแก่กรรมแล้ว พระองค์จึงเสกสมรสใหม่กับหม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี (พระนามเดิม หม่อมเจ้าพิมลพรรณ วรวรรณ) พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์[20] เมื่อ พ.ศ. 2462 มีพระโอรส-ธิดาด้วยกันสององค์
- ประสูติแต่หม่อมพัฒน์ รัชนี ณ อยุธยา ต.จ.
- จันทร์เจริญ รัชนี (พ.ศ. 2445–2515) นามปากกา จ.จ.ร.[21]
- ศะศิเพลินพัฒนา บุนนาค
- หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534) นามปากกา พ. ณ ประมวญมารค
- หม่อมเจ้ารัชนีพัฒน์พิทยาลงกรณ์ รัชนี
- ศะศิธรพัฒนวดี บุนนาค (18 มิถุนายน พ.ศ. 2457 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2549) เสกสมรสกับวิลาศ บุนนาค มีบุตรสี่คน[22]
- หม่อมเจ้าจันทร์พัฒน์โมลีจุฑาพงศ์ รัชนี (12 มิถุนายน พ.ศ. 2459 – 8 มิถุนายน พ.ศ. 2535)
- ประสูติแต่หม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต (20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 – 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520) นามปากกา ว. ณ ประมวญมารค เสกสมรสกับหม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต มีพระธิดาสองคน
- หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี (20 มกราคม พ.ศ. 2465 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2565) นามปากกา ภ. ณ ประมวญมารค เสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์ดัชรีรัช[23] หรือดัชรีรัชนา[24] (ราชสกุลเดิม วรวรรณ) มีโอรส-ธิดาสามคน
- ไม่ทราบหม่อม
- หม่อมเจ้าจันทร์จิรกาล รัชนี
- หม่อมเจ้าชาย
- หม่อมเจ้าจันทร์จรัส รัชนี (ไม่มีข้อมูล – 28 ธันวาคม พ.ศ. 2450)
พระเกียรติยศ
แก้ธรรมเนียมพระยศของ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ | |
---|---|
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | เกล้ากระหม่อม/หม่อมฉัน |
การขานรับ | เกล้ากระหม่อม/เพคะ |
พระอิสริยยศ
แก้- 10 มกราคม พ.ศ. 2420 – 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 : พระบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส
- 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 : พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส
- 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 : พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2459 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[25]
- พ.ศ. 2456 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[26]
- พ.ศ. 2455 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[27]
- พ.ศ. 2463 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[28]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)[29]
- พ.ศ. 2457 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)[30]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[31]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้พระสมัญญานาม
แก้พระยศ
แก้พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ | |
---|---|
รับใช้ | กองเสือป่า |
ชั้นยศ | นายกองตรี |
พระยศพลเรือน
แก้พระยศเสือป่า
แก้สถานที่อันเนื่องด้วยพระนาม
แก้- ตึกพิทยาลงกรณ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- อาคารพิทยาลงกรณ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- โรงเรียนพิทยาลงกรณ์พิทยาคม แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. แจ้งความกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ. เล่ม ๒๑ หน้า ๖๒๔. วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๓.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. พระราชทานยศเลื่อนยศ. เล่ม ๓๐ หน้า ๙๗๖. วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๔๕๖.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๗๒. เล่ม ๓๔ หน้า ๒๑๑๕. วันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๙.
- ↑ องค์ บรรจุน. หญิงมอญ, อำนาจ และราชสำนัก. กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, มติชน, 2550. 224 หน้า. ISBN 978-974-02-0059-8.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ข่าวพระองค์เจ้า และหม่อมเจ้าทรงผนวช. เล่ม ๖ ตอน ๑๕ หน้า ๑๒๕. วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๐๘. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2559.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. พระราชทานสัญญาบัตร์องคมนตรี. เล่ม ๒๘ หน้า ๑๓๔๐. วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๕๔.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศตั้งกรรมการองคมนตรี พ.ศ. ๒๔๗๔-๖. เล่ม ๔๗ หน้า ๔๓๓. วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๔๗๓.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. สภากรรมการองคมนตรี. เล่ม ๔๘ หน้า ๑๗๖. วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๔๗๔.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. หมายกำหนดการ ที่ 3/2491 พระราชทานเพลิงพระศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๑. เล่ม ๖๕ ตอน ๑๙ ง หน้า ๑๑๑๗. วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๑.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. พระราชทานสัญญาบัตรองคมนตรี. เล่ม ๒๘ ตอน ๐ง หน้า ๑๓๔๐. วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๕๔. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2559.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรม ตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้า และตั้งเจ้าพระยา. เล่ม ๓๐ ตอน ก หน้า ๓๓๙–๓๔๒. วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๖. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2559.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. การพระราชพิธีตั้งองคมนตรี. เล่ม ๔๒ หน้า ๒๗๑๔. วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๔๖๘.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศยกเลิก พระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช ๒๔๗๐. เล่ม ๔๙ หน้า ๒๐๐. วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๔๗๕.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศตั้งกรรมการบัณฑิตย์สภา. เล่ม ๔๓ หน้า ๑๐๕–๑๐๖. วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๔๖๙.
- ↑ Jack Shaffer (31 สิงหาคม 1999). Historical Dictionary of the Cooperative Movement – Thailand. Scarecrow Press. p. 384. ISBN 978-0-8108-6631-7.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 16.5 16.6 16.7 ประทีป วาทิกทินกร. (2539). วรรณกรรมพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (Litterary Works of H.H. Prince Bidyalankarana). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์. 180 หน้า. ISBN 974-599-763-6 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
- ↑ วัชรี รมยะนันทน์ และคณะ. (2538). รายงานผลการวิจัยเรื่อง "เพลงสักวา". โครงการวิจัยแม่บทเรื่อง วรรณคดีเพื่อความสุขของชนในชาติ: วรรณกรรมเพลงไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัย. 266 หน้า. ISBN 978-974-6-3111-2-0
- ↑ จันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี, หม่อมเจ้า. (2536). กวีหน้าพระลาน บ่อนโคลงนายโต๊ะ ณ ท่าช้าง พ. ณ ประมวญมารค. กรุงเทพฯ: เลเซอร์ปริ๊น. 184 หน้า.
- ↑ "สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวลชั้นที่ 3 สายสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาสุริยวงศ์ (ดิศ บุนนาค)". ชมรมสายสกุลบุนนาค. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 มกราคม 2022. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2018.
- ↑ ราชสกุลวงศ์. หน้า 180.
- ↑ "ชีวิต จ.จ.ร. (หม่อมเจ้าหญิงจันทร์เจริญ รัชนี)". Oncebookk. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2018.
- ↑ "สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวลชั้นที่ 7 สายพระยาประภากรวงศ์ (ว่อง บุนนาค) บุตรพระยาประภากรวงศ์วรวุฒิภักดี (ชาย)". ชมรมสายสกุลบุนนาค. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มิถุนายน 2015. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2018.
- ↑ ชีวิตเสี่ยง ๆ. หน้า 3.
- ↑ "ม.ร.ว. ดัชนีรัชนา (วรวรรณ) รัชนี ถึงแก่อนิจกรรม". เดลินิวส์. 29 พฤษภาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2018.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามสมาชิกสมาชิกาเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า พระราชทานในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พระพุทธศักราช ๒๔๕๙, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๖๖, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๗๔, ๔ มกราคม ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๑๙, ๒๒ มกราคม ๑๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๐๗๙, ๑๓ มีนาคม ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๖๑, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๕๒, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๒๑, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๖๖, ๕ มีนาคม ๒๔๕๘
- ↑ "พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย". ภาควิชาสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 กรกฎาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2018.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ. เล่ม ๒๘ หน้า ๑๐๑๕. วันที่ ๒๐ สิงหาคม ร.ศ. ๑๓๐.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. พระราชทานยศแลเลื่อนยศ. เล่ม ๓๐ หน้า ๙๗๖. วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๔๕๖.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. พระราชทานยศพิเศษ. เล่ม ๔๓ หน้า ๒๓๑๕. วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๔๖๙.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. พระราชทานสัญญาบัตร์กองเสือป่า. เล่ม ๒๘ หน้า ๖๖๒. วันที่ ๒ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๓๐.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. พระราชทานสัญญาบัตร์กองเสือป่า. เล่ม ๒๘ หน้า ๑๕๐๔. วันที่ ๘ ตุลาคม ร.ศ. ๑๓๐.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. เลื่อนแลตั้งตำแหน่งยศนายกองนายหมู่เสือป่า. เล่ม ๓๐ หน้า ๒๖๘๔. วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๖.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศเลื่อนยศเสือป่า. เล่ม ๓๑ หน้า ๒๒๔๒. วันที่ ๓ มกราคม ๒๔๕๗.
บรรณานุกรม
แก้- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 141. ISBN 978-974-417-594-6.
- ภ. ณ ประมวญมารค. ชีวิตเสี่ยง ๆ. กรุงเทพฯ : แพรวสำนักพิมพ์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2560. 30 หน้า. ISBN 978-616-18-1702-2.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์