หม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต
หม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต (25 ธันวาคม พ.ศ. 2456 – 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533) เป็นพระโอรสองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร กับหม่อมเอลีซาเบท รังสิต ณ อยุธยา
หม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต | |
---|---|
หม่อมเจ้าชั้น 5 | |
หม่อมเจ้าปิยะรังสิต เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 | |
ประสูติ | 25 ธันวาคม พ.ศ. 2456 |
สิ้นชีพตักษัย | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 (76 ปี) จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย |
ชายา | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต |
หม่อม | หม่อมราชวงศ์ผ่องลักษณ์ ทองใหญ่ หม่อมบุญพิทักษ์ รังสิต ณ อยุธยา |
พระบุตร | หม่อมราชวงศ์เยาวลักษณ์ รังสิต หม่อมราชวงศ์วิภานันท์ รังสิต หม่อมราชวงศ์ปรียนันทนา รังสิต หม่อมราชวงศ์ประทักษ์ รังสิต |
ราชสกุล | รังสิต |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร |
พระมารดา | หม่อมเอลีซาเบท รังสิต ณ อยุธยา |
ศาสนา | พุทธ |
พระประวัติ
แก้หม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต มีพระนามลำลองว่า ท่านชายปิยะ[1]เป็นพระโอรสองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร กับหม่อมเอลีซาเบท รังสิต ณ อยุธยา มีโสทรอนุชาและโสทรขนิษฐาสององค์ คือ หม่อมเจ้าสนิทประยูรศักดิ์ รังสิต (19 สิงหาคม พ.ศ. 2460 - 10 กันยายน พ.ศ. 2538) และจารุลักษณ์กัลยาณี บูรณะนนท์ (เดิม: หม่อมเจ้าจารุลักษณ์กัลยาณี รังสิต; 7 สิงหาคม พ.ศ. 2467 - 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555)
หม่อมเจ้าปิยะรังสิต เสกสมรสครั้งแรกกับหม่อมราชวงศ์ผ่องลักษณ์ ทองใหญ่ มีธิดาหนึ่งคน คือ
- หม่อมราชวงศ์เยาวลักษณ์ รังสิต
จากนั้นได้รับพระราชทานน้ำพระมหาสังข์จากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเสกสมรสกับหม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต (ราชสกุลเดิม รัชนี; ต่อมาคือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 มีธิดาสองคน คือ
- หม่อมราชวงศ์วิภานันท์ รังสิต
- หม่อมราชวงศ์ปรียนันทนา รังสิต
และหม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต ยังมีโอรสหนึ่งคนกับหม่อมบุญพิทักษ์ รังสิต ณ อยุธยา (สกุลเดิม แสงฤทธิ์) คือ
- หม่อมราชวงศ์ประทักษ์ รังสิต
การศึกษา
แก้- พ.ศ. 2465 ระดับประถมศึกษาตอนต้น-ตอนปลาย ที่ โรงเรียนเทพศิรินทร์ กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2467 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ โรงเรียนเทพศิรินทร์ กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2468 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ โรงเรียนยิมนาเซียมในซือริช ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
- พ.ศ. 2477 ระดับปริญญาตรี คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยซือริช ซือริช ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
- พ.ศ. 2481 ระดับปริญญาโท คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยคอร์เนล สหรัฐ
ธุรกิจ
แก้- พ.ศ. 2497 บริษัท ประชายนต์ จำกัด เป็นบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์นำเข้าจากประเทศเยอรมนีเป็นรายแรกของไทย อันได้แก่รถยนต์ ฟ็อลคส์วาเกิน, เอาดี้, พอร์เชอ และบีเอ็มดับเบิลยู
- พ.ศ. 2513 บริษัท ประมวลธนกิจ จำกัด เป็นบริษัทให้ความช่วยเหลือ ด้านสินเชื่อกับผู้ซื้อรถยนต์โดยการเช่าซื้อ
- พ.ศ. 2513 บริษัท อู่นพวงษ์ (2517) จำกัด เป็นบริษัทที่ให้บริการรับซ่อมรถยนต์, และขายอะไหล่
- พ.ศ. 2523 บริษัท ป.รังสิต จำกัด เป็นบริษัทก่อสร้างอาคารชุด เพื่อประชาชนที่มีรายได้ปานกลาง อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร
หม่อมเจ้าปิยะรังสิต ถึงชีพิตักษัยด้วยพระโรคหทัยวายเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 ที่จังหวัดเชียงใหม่ สิริชันษา 76 ปี 1 เดือน 6 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2533 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2510 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[2]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. 2491 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายหน้า)สืบตระกูล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร ป.จ.ว.
- พ.ศ. 2462 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 4 (ว.ป.ร.4)[3]
- พ.ศ. 2489 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 3 (อ.ป.ร.3)
- พ.ศ. 2496 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[4]
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของหม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.จ.ไกรสิงห์ วุฒิชัย ณ เมรุวัดธาตุทอง วันพุธ ที่ 23 มิถุนายน 2519. [ม.ป.ท.]: มงคลการพิมพ์; 2519.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 84 ตอนที่ 41 วันที่ 10 พฤษภาคม 2510
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา 18 สิงหาคม 2496 เล่ม 70 ตอนที่ 54