หม่อมราชวงศ์ปรียนันทนา รังสิต

หม่อมราชวงศ์ปรียนันทนา รังสิต (เกิด 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2495)[ต้องการอ้างอิง] เป็นนักการเมืองหญิงชาวไทย เป็นธิดาในหม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต[1] เป็นนัดดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร[2] และเป็นผู้มีอำนาจบริหารจัดการวังวิทยุ ซึ่งเดิมเป็นที่ประทับของสมเด็จกรมพระยาชัยนาทนเรนทร[1]


ปรียนันทนา รังสิต

ปรียนันทนาใน พ.ศ. 2553
เกิด3 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 (72 ปี)
สัญชาติไทย
อาชีพสมาชิกวุฒิสภา
คู่สมรสชคัต สิงห์ (หย่า)
ปานศักดิ์ รังสิพราหมณกุล
บุตรลลิตยา รังสิต
เทพราช รังสิต
บิดามารดาหม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต

ปรียนันทนาเคยสมรสกับเจ้าชายชคัต สิงห์ พระโอรสของมาน สิงห์ที่ 2 มหาราชาแห่งรัฐชัยปุระ ประเทศอินเดีย ก่อนจะหย่าร้างกันใน พ.ศ. 2530[3] และสมรสใหม่กับปานศักดิ์ รังสิพราหมณกุล นักธุรกิจชาวไทย[4]

ชีวิตส่วนตัว

แก้
 
ปรียนันทนาและครอบครัวใน พ.ศ. 2553 (จากซ้าย) ปานศักดิ์ รังสิพราหมณกุล, ปรียนันทนา, เทพราช รังสิต (ยืนแถวหลัง), ลลิตยา รังสิต

ปรียนันทนาสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีด้านภาษาสันสกฤต ประวัติศาสตร์อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่วิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา มหาวิทยาลัยลอนดอน[ต้องการอ้างอิง]

ปรียนันทนาเคยสมรสกับชคัต สิงห์ พระโอรสของมาน สิงห์ที่ 2 มหาราชาแห่งชัยปุระ มีบุตรสองคน คือ ลลิตยา รังสิต และเทพราช รังสิต ต่อมาใน พ.ศ. 2530 ปรียนันทนาหย่าร้างกับชคัต สิงห์ และเดินทางกลับมาอยู่ประเทศไทยพร้อมกับบุตรทั้งสอง และบุตรทั้งสองได้ฟ้องร้องคดีเกี่ยวกับสมบัติของชคัต สิงห์ เพื่ออ้างสิทธิ์ในกองมรดก[3]

ภายหลังปรียนันทนาสมรสใหม่กับปานศักดิ์ รังสิพราหมณกุล นักธุรกิจชาวไทย[4]

การเมือง

แก้

ปรียนันทนาเป็นสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 10 (พ.ศ. 2551–2557) มาจากการสรรหา[4] และเป็นหนึ่งในกลุ่มสมาชิกวุฒิสภา 40 คน (กลุ่ม 40 ส.ว.)[ต้องการอ้างอิง] มีตำแหน่งรองประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา[ต้องการอ้างอิง] และประธานกรรมาธิการศาสนาศิลปและวัฒนธรรม วุฒิสภา[ต้องการอ้างอิง]

การสังคม

แก้

ปรียนันทนาเป็นประธานมูลนิธิวิภาวดีรังสิต[ต้องการอ้างอิง] ประธานกรรมการบริษัทนันทนาจำกัด[ต้องการอ้างอิง] และบรรณาธิการหนังสือ สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)[ต้องการอ้างอิง]

คดีความ

แก้

วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2564 ปรียนันทนาฟ้องณัฐพล ใจจริง ผู้เขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491–2500) รวมถึงอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ คือ กุลลดา เกษบุญชู มี้ด และบุคคลจากสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันที่เผยแพร่วิทยานิพนธ์ดังกล่าวเป็นหนังสือชื่อ ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี ประกอบด้วยชัยธวัช ตุลาธน, อัญชลี มณีโรจน์, และธนาพล อิ๋วสกุล โดยกล่าวหาว่า วิทยานิพนธ์ดังกล่าว ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับบทบาทของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ในรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 นั้น เป็นการละเมิดต่อกรมพระยาชัยนาทนเรนทร เรียกร้องค่าเสียหาย 50 ล้านบาท[2][5]

ต่อมาในวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ศาลแพ่งวินิจฉัยว่า วิทยานิพนธ์กล่าวถึงกรมพระยาชัยนาทนเรนทร ไม่ได้กล่าวถึงปรียนันทนา ปรียนันทนาจึงมิใช่ผู้เสียหาย นอกจากนี้ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรสิ้นพระชนม์ไปก่อนเกิดวิทยานิพนธ์ การฟ้องคดีนี้จึงเป็นการกล่าวอ้างความเสียหายต่อผู้ที่ไม่มีสภาพบุคคลแล้ว ซึ่งไม่สามารถกระทำได้ ปรียนันทนาไม่มีอำนาจฟ้องคดี พิพากษายกฟ้อง[6]

ทรัพย์สิน

แก้

ตามการเปิดเผยทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555 ปรียนันทนามีทรัพย์สินทั้งสิน 1,300,811,644 บาท มีรายได้เดือนละ 6,864,195 บาท ไม่มีหนี้สิน ส่วนปานศักดิ์ รังสิพราหมณกุล คู่สมรส มีทรัพย์สินทั้งสิ้น 54,460,823 บาท มีรายได้เดือนละ 1,296,460 บาท ไม่มีหนี้สิน[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ลำดับสาแหรก

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต". th-hellomagazine.com. 2024.
  2. 2.0 2.1 "ฟ้อง 'ณัฐพล ใจจริง-ฟ้าเดียวกัน' 50 ล้าน เขียนธีสิส ป.เอก ทำราชสกุลรังสิตเสียหาย". matichon.co.th. 2564-03-09.
  3. 3.0 3.1 "ปิดคดีมรดกหมื่นล้าน! ศาลอินเดียยกกรรมสิทธิ์ 'พระราชวังชัยมาฮาล' ให้ทายาทราชสกุล 'รังสิต'". mgronline.com. 2564-12-23.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "กรุสมบัติ 1.3 พันล."ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต"ก่อนลูกชนะคดีได้มรดกหมื่นล". isranews.org. 2558-08-28.
  5. "หนาวแน่!ม.ล.ชัยนิมิตโชว์ประวัติ'ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต'หญิงแกร่งตัวจริงที่ฟ้องราชวงศ์อินเดีย8ปีและชนะมาแล้ว". thaipost.net. 2564-03-10.
  6. "ยกฟ้อง คดี ม.ร.ว.ปรียนันทนา ฟ้อง 'ณัฐพล-ฟ้าเดียวกัน' 50 ล้าน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตั้งแต่ต้น". matichon.co.th. 2567-11-13.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี 2553 เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 127 ตอนที่ 14 ข หน้า 61, 8 ธันวาคม 2553
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี 2552 เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 126 ตอนที่ 16 ข หน้า 131, 4 ธันวาคม 2552
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2008-12-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 124 ตอนที่ 6 ข หน้า 5, 5 พฤษภาคม 2550