หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี
หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534) หรือนามปากกา พ.ณ ประมวญมารค เป็นกวี, อดีตข้าราชการกระทรวงการคลัง และอดีตอาจารย์พิเศษคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นพระโอรสในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ประสูติแต่หม่อมพัฒน์ รัชนี ณ อยุธยา
หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี | |
---|---|
ประสูติ | 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
สิ้นชีพิตักษัย | 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 (81 ปี) จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย |
พระบุตร | หม่อมราชวงศ์ภัทรชัย รัชนี หม่อมราชวงศ์แซมแจ่มจรัส รัชนี หม่อมราชวงศ์ยอดเถา รัชนี หม่อมราชวงศ์เย็นตา ปาร์เมนติเอร์ |
ราชสกุล | รัชนี |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ |
พระมารดา | หม่อมพัฒน์ รัชนี ณ อยุธยา |
พระประวัติ
แก้หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี มีพระนามลำลองว่า ท่านชายพลุ เป็นพระโอรสลำดับที่สามในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ประสูติแต่หม่อมพัฒน์ รัชนี ณ อยุธยา (ธิดาของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ กับท่านผู้หญิงเปลี่ยน)[1] มีโอรสคือหม่อมราชวงศ์แซมแจ่มจรัส รัชนี[2]
หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ ทรงสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ทรงรับราชการในกระทรวงการคลัง [2] และมีความรอบรู้ทั้งด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี เป็นอาจารย์พิเศษประจำคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ มีความสามารถในด้านกวี ใช้นามปากกาว่า "พ.ณ ประมวญมารค" ได้รับการยกย่องเปรียบเทียบกับกวีร่วมสมัยคืออังคาร กัลยาณพงศ์ โดยเรียกหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ว่า "ท่านจันทร์" และเรียกอังคาร กัลยาณพงศ์ ล้อว่า "ท่านอังคาร" เพื่อให้คล้องจองกัน[3]
ทรงสนิทสนมคุ้นเคยกับกลุ่มศิลปินและนักเขียน เช่น เฟื้อ หริพิทักษ์, รงค์ วงษ์สวรรค์, สุวรรณี สุคนธา, หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์, ประหยัด พงษ์ดำ, สาโรจน์ จารักษ์[4] โดยมักพบปะสังสรรค์กันที่ร้านอาหารมิ่งหลี ใกล้มหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งหนึ่งเคยมีผู้บันทึกว่า ทรงเล่นโคลงสดกับอังคาร กัลยาณพงศ์ ความว่า[4]
- ท่านจันทร์ - จันทร์จิรายุเจ้า เหนือดาว อื่นเฮย
- ท่านอังคาร - ดาวก็ดาวไม่ยอ กว่าข้า
หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 ที่จังหวัดเชียงใหม่[2] สิริชันษา 81 ปี พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนชั้นเกียรติยศประกอบศพจากหีบทองทึบเป็นพระราชทานโกศราชวงศ์ประกอบศพ ฉัตรเครื่องตั้งประดับ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลาพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ และรับศพอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด มีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2535[2] ในการนี้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปพระราชทานเพลิง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2473 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 4 (ป.ป.ร.4)
- พ.ศ. 2499 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายหน้า)[5]
- พ.ศ. 2498 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)
- พ.ศ. 2506 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2503 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ "ชมรมสายสกุลบุนนาค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-26. สืบค้นเมื่อ 2009-04-05.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 ขรรค์ชัย บุนปาน. ประดับไว้ในโลกา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2544. 285 หน้า. ISBN 974-322-293-6
- ↑ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และวาณิช จรุงกิจอนันต์. เรียงร้อยถ้อยคำ. กรุงเทพฯ : ก.ไก่, 2528. 254 หน้า. ISBN 974-2560-45-5
- ↑ 4.0 4.1 http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=1771.25;wap2[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 73 ตอนที่ 74 วันที่ 18 กันยายน 2499