เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร)

ขุนนางชาวไทย

พลเอก เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) (21 เมษายน พ.ศ. 2410 - 1 มีนาคม พ.ศ. 2504) อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ระหว่าง 1 เมษายน พ.ศ. 2465 - 3 สิงหาคม พ.ศ. 2469 รับตำแหน่งสืบต่อจากเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล)

เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต
(แย้ม ณ นคร)
เสนาบดีกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
26 สิงหาคม พ.ศ. 2464 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2469
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล)
ถัดไปสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 เมษายน พ.ศ. 2410
ประเทศสยาม
เสียชีวิต1 มีนาคม พ.ศ. 2504 (93 ปี)
ประเทศไทย
บุพการี

ประวัติ

แก้

เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต เกิดเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2410 ณ จวนเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี ซึ่งเดิมเป็นวังเจ้านคร จังหวัดนครศรีธรรมราช (ปัจจุบันเป็นศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ) เป็นบุตรคนที่ 5 ของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พร้อม ณ นคร) และเป็นบุตรคนเดียว ที่เกิดกับหม่อมนิ่ม ณ นคร

พี่น้องต่างมารดา ของท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต มีจำนวน 18 คน ดังนี้

  • คุณหญิงนุ้ยใหญ่ ณ ถลาง (ภรรยาพระยาสุนทราทรธุรกิจปรีชา หมี ณ ถลาง)
  • พระยานครกุลเชษฐ์มเหศรภักดี (เอียด ณ นคร)
  • นายชื่น ณ นคร
  • คุณนิล ณ นคร
  • เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต
  • นายแดง ณ นคร
  • คุณตลับ ณ นคร
  • คุณลิ้นจี่ ณ นคร ภรรยา พระพิสัยฯ
  • คุณขาว ณ นคร
  • คุณนุ่ม ณ นคร
  • คุณพริ้ง เภกะนันทน์ ภรรยา อำมาตย์โท พระวุฒิศาสตร์วินิจฉัย (ชิต เภกะนันทน์)
  • พระยาสุรเทพภักดี (พร้อม ณ นคร)
  • ขุนบริรักษ์ภูเบศร์ (แกะ ณ นคร)
  • คุณแห้ว ณ นคร
  • นายกลั่น ณ นคร
  • คุณผ่อง ณ นคร
  • คุณลวาด ณ นคร
  • คุณจำเริญ ณ นคร
  • นายไข่ ณ นคร

ในวัยเยาว์ ได้ศึกษาหนังสือไทยและขอม ในสำนักเรียนครูคง เมืองนครศรีธรรมราช กับเรียนวิชาเลขไทย ในสำนักขุนกำจัดไพริน (เอี่ยม) จนถึงอายุ 13 ปี เมื่อได้ตัดจุกแล้ว ก็บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาย้ายไปอยู่วัดใหม่กาแก้ว มีพระครูเทพมุนี (แก้ว) เป็นอุปัชฌาย์

ถึงปี พ.ศ. 2423 สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้ออกไปเมืองนครศรีธรรมราช จึงขอตัวท่านให้เข้ามารับราชการกับท่านที่กรุงเทพฯ ต่อมาก็ได้อยู่กับเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) และได้ถวายตัวเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบก (ปัจจุบันคือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า) เมื่อ พ.ศ. 2431 เป็นนักเรียนนายร้อย เลขประจำตัว 3 ของประเทศไทย ได้ศึกษา ณ พระราชวังสราญรมย์ จนสำเร็จการศึกษา และเลื่อนยศเป็นร้อยตรี เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2432

หลังจากนั้นจึงรับราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และความสามารถ จนมีความเจริญในราชการเป็นลำดับ คือ เป็นปลัดทัพบก ในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2446[1], เป็นปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหม ใน พ.ศ. 2453 , เป็นผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ใน พ.ศ. 2464 จนได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นเสนาบดีกระทรวงกลาโหมในที่สุด เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2465

ในระหว่างรับราชการ ได้เคยรับพระบรมราชโองการให้เป็นหัวหน้า ออกไปตรวจการที่ภาคพายัพ เพื่อจัดตั้งกองทหารในภาคนี้ และทำการปราบเงี้ยว ครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2445 ต่อมาในปี พ.ศ. 2450 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เดินทางออกไปดูการประลองยุทธใหญ่ ที่ประเทศญี่ปุ่น และเมือ พ.ศ. 2453 ก็โปรดฯให้เป็นผู้ไปไต่สวนพวกจีน ที่จังหวัดแพร่ ซึ่งรวมตัวจะไปช่วยพวกกบฏที่ประเทศจีนกบฏ ร.ศ. 130[2] นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง องคมนตรี ทั้งในรัชกาลที่ 6 และสืบมาถึงรัชกาลที่ 7 ด้วย

ท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2469 เพราะป่วย หลังจากนั้นก็ได้ใช้ชีวิตอย่างสงบ ณ บ้านของท่านซึ่งได้รับพระราชทาน ชื่อ "บ้านมหาโยธิน" ที่ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ และบริจาคเงินบำรุงศาสนวัตถุ เช่นสร้างโบสถ์, ศาลาการเปรียญ, หล่อพระประธาน ไว้ประดิษฐานยังวัดทั้งในกรุงเทพฯ และบ้านเดิม นครศรีธรรมราช หลายคราว

อนึ่ง เมื่อมีการพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้น ท่านเมื่อครั้งเป็น พลโท พระยาวรเดชศักดาวุธ ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานนามสกุลด้วยผู้หนึ่ง ทรงพิจารณาเห็นว่า วงศ์สกุลของท่าน ล้วนแต่ได้ดีมีชื่อเสียงกันจากนครศรีธรรมราชแทบทั้งนั้น จึงพระราชทานให้นามสกุลว่า "ณ นคร" (na Nagara)[3] โดยมีคำว่า "ณ" เทียบกับคำว่า "De" ของสกุลขุนนางฝรั่ง สกุลนี้ได้รับพระราชทานเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2456

ด้านครอบครัว เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต สมรสกับท่านผู้หญิงเลียบ ธิดาหลวงสุนทรสินธพ (จอ ปัจฉิม) มีบุตร-ธิดารวม 4 คน คือ[4]

เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) ถึงอสัญกรรมเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2504 และ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505[5]

ยศ/บรรดาศักดิ์

แก้
ยศ
  • จ่านายสิบ
  • วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2432 เป็นร้อยตรี[6]
  • วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 เป็นร้อยเอก[7]
  • วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 เป็นพันตรี[8]
  • วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2445 เป็นพันโท[9]
  • วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2446 เป็นพันเอก[10]
  • วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2455 เป็นพลโท[11]
  • วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2462 เป็นพลเอก[12]
  • 2 มิถุนายน 2462 – เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรยศทหารบก[13]
  • 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 นายกองตรีเสือป่า[14]
บรรดาศักดิ์
  • วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2440 เป็น หลวงรวบรัดสปัตรพล ถือศักดินา 800[15]
  • วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2444 เป็น พระสุรเดชรณชิต ถือศักดินา 1000[16]
  • วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 เป็น พระยาวรเดชศักดาวุธ[17]
  • วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2456 เป็น พระยาสีหราชเดโชไชย อภัยพิริยบรากรมพาหุ เจ้ากรมอาษาใหญ่ขวา ถือศักดินา 10000[18]
  • 10 ตุลาคม 2456 – เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์[19]
  • 13 ตุลาคม 2456 – กราบถวายบังคมลาไปสิงคโปร์เพื่อรับเสด็จ จอมพล พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ที่เสด็จกลับจากรักษาพระองค์ที่ยุโรป[20]
  • วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา มีสมญาจารึกในหิรัญบัฏ ว่า เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต อดิศรมหาสวามิภักดิ์ อุดมศักดิ์เสนาบดี ศรีธรรมราชกุลพงศ์ ดำรงราชวรฤทธิ์ สัตยสถิตย์อาชวาศัย พุทธาทิไตรย์สรณธาดา อภัยพิริยบรากรมพาหุ ดำรงศักดินา 10000[21]

ตำแหน่ง

แก้
  • – ราชองครักษ์เวร
  • 25 พฤศจิกายน 2456 – ราชองครักษ์พิเศษ[22]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พลเอก เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้[23]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "แจ้งความกรมยุทธนาธิการ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-13. สืบค้นเมื่อ 2020-06-13.
  2. "rakbankerd.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-05-11.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมุรธาธร เรื่อง ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 2 เก็บถาวร 2021-12-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 30, ตอน 0 ง, 6 กรกฎาคม 2456, หน้า 691
  4. "rta.mi.th". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-30. สืบค้นเมื่อ 2007-05-11.
  5. "ข่าวในพระราชสำนัก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-09. สืบค้นเมื่อ 2020-03-31.
  6. "ประกาศกรมยุทธนาธิการ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-12.
  7. "พระราชทานสัญญาบัตรทหาร (หน้า 282)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-11. สืบค้นเมื่อ 2020-03-31.
  8. "พระราชทานสัญญาบัตรทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-09. สืบค้นเมื่อ 2020-03-31.
  9. "พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-12. สืบค้นเมื่อ 2020-03-31.
  10. "พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-09. สืบค้นเมื่อ 2020-03-31.
  11. "ตั้งตำแหน่งยศนายทหารบก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-27. สืบค้นเมื่อ 2020-03-31.
  12. "พระราชทานยศทหารบก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-02-10. สืบค้นเมื่อ 2020-03-31.
  13. รายวันพระราชทานสัญญาบัตรยศทหารบก
  14. "พระราชทานยศนายเสือป่า" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-19. สืบค้นเมื่อ 2020-07-19.
  15. "พระราชทานสัญญาบัตร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-09. สืบค้นเมื่อ 2020-03-31.
  16. "พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-07-28. สืบค้นเมื่อ 2020-03-31.
  17. "พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-09. สืบค้นเมื่อ 2020-03-31.
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ตั้งและเลื่อนบรรดาศักดิ์, เล่ม 30, ตอน ง, 22 มิถุนายน 2456, หน้า 592
  19. รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  20. ข้าราชการกราบถวายบังคมลา
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนกรม ตั้งพระองค์เจ้า และตั้งเจ้าพระยา เก็บถาวร 2021-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 39, 19 พฤศจิกายน 2465, หน้า 320-324
  22. แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ให้เป็นราชองครักษ์พิเศษ
  23. "พลเอก เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม)". nakhonfocus.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-23. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  24. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตรารัตนวราภรณ์, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๙๙, ๖ มกราคม ๒๔๖๐
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๔๗, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๖๕
  26. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๓๗, ๑๘ มกราคม ๒๔๕๖
  27. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๓๕, ๒๒ มกราคม ๑๓๑
  28. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๘๑, ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๖๑
  29. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรมาลา, เล่ม ๒๐ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๖๑๗, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๒
  30. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๘๓, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
  31. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๒๖, ๒ มกราคม ๒๔๖๙
  32. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๑๗๒๔, ๓ สิงหาคม ๒๔๙๗
  33. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์เฮนรีดีไลออนกรุงบรันซวิก, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๕, ๓ เมษายน ๑๒๙
  34. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๑๕, ๒๒ มกราคม ๒๔๖๔