เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พร้อม ณ นคร)
เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี นามเดิม พร้อม สกุล ณ นคร อดีตจางวางเมืองนครศรีธรรมราช
ประวัติ
แก้เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี มีนามเดิมว่าหนู แต่มักรู้จักในชื่อพร้อม บางแห่งจึงระบุนามว่าหนูพร้อม เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2385[1] (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2386) เป็นบุตรเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร) กับท่านผู้หญิงหญิง (ธิดาหม่อมเจ้าจันทร์ พระโอรสในสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ) มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 6 คน ได้แก่[2]
- เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พร้อม ณ นคร) จางวางเมืองนครศรีธรรมราช
- พระศิริธรรมบริรักษ์ (ถัด ณ นคร) ปลัดเมืองนครศรีธรรมราช
- พระยาบริรักษ์ภูเบศร์ (เอี่ยม ณ นคร)
- เจ้าจอมอิ่ม ในรัชกาลที่ 4
- กลาง (หญิง)
- เจ้าจอมสว่าง ในรัชกาลที่ 5
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระเสน่หามนตรี ถึงปี พ.ศ. 2410 เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร) ผู้เป็นบิดาของท่านถึงแก่อสัญญกรรม มีผู้ซึ่งเป็นเชื้อวงศ์ของเจ้าพระยานคร (น้อย) คิดปรารถนาจะเป็นพระยานครศรีธรรมราชหลายคน แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริจะโปรดฯ ให้ตั้งพระเสน่หามนตรีเป็นพระยานครศรีธรรมราช แต่เนื่องจากเวลานั้นพระเสน่หามนตรียังมิได้ผ่านการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ จึงยังมิทรงตั้งพระยานครศรีธรรมราชในทันที ในปีนั้นพระเสน่หามนตรีได้อุปสมบทและจำพรรษา ณ วัดพิชัยญาติการาม คืนวันหนึ่งพระเสน่หามนตรีไหว้พระอยู่ในกุฏิ มีผู้ร้ายเอาปืนยิงเข้าไปทางช่องฝา บังเอิญปืนลั่นออกเมื่อขณะพระเสน่หามนตรีกราบพระ กระสุนปืนข้ามไปจึงไม่ถูก การไต่สวนต่อมาก็ไม่ได้ตัวผู้ร้าย[3] พอพระเสน่หามนตรีลาสิกขาแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระเสน่หามนตรีเป็นพระยานครศรีธรรมราช ชาติเดโชไชย มไหสวริยาธิบดี อภัยพิริยบรากรมพาหุ สำเร็จราชการเมืองนครศรีธรรมราช[4]
วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2448 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออก ณ พลับพลาเมืองนครศรีธรรมราช ได้พระราชทานสัญญาบัตรให้ท่านเป็นเจ้าพระยาสุธรรมมนตรีศรีธรรมราช มาตยพงษ์สถาพร วรเดโชไชย อภัยพิริยบรากรมพาหุ จางวางเมืองนครศรีธรรมราช ถือศักดินา 10000[5]
เจ้าพระยาสุธรรมมนตรีป่วยเป็นโรคชรามานาน ถึงแก่อสัญกรรมวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 เวลา 20.30 น.[6] สิริอายุได้ 64 ปี 246 วัน
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 151 (เชิงอรรถ)
- ↑ วงศ์สกุลณนคร, หน้า 13
- ↑ เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 149
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 5 ตอนที่ 1 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ
- ↑ "พระราชทานสัญญาบัตรตั้งเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22 (16): 380. 16 กรกฎาคม ร.ศ. 124. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม พ.ศ. 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ข่าวอสัญญกรรม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (33): 818. 17 พฤศจิกายน ร.ศ. 126. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม พ.ศ. 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)
- บรรณานุกรม
- บดินทร์. วงศ์สกุลณนคร. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.], 2482. 98 หน้า. หน้า 13.
- สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 404 หน้า. หน้า 149-151. ISBN 974-417-534-6