พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป)

(เปลี่ยนทางจาก พระยาเฉลิมอากาศ)

พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป) (26 เมษายน พ.ศ. 2430 – 14 กันยายน พ.ศ. 2498) เป็นนักบินคนแรกของประเทศไทยและเป็นผู้ให้กำเนิดกองทัพอากาศไทย

พลอากาศโท

พระยาเฉลิมอากาศ
(สุณี สุวรรณประทีป)
เกิด26 เมษายน พ.ศ. 2430
ถึงแก่กรรม14 กันยายน พ.ศ. 2498 (68 ปี)
บิดามารดา
  • หลวงอนุกูลราชกิจ (ทอง สุวรรณประทีป) (บิดา)
  • นางหรุ่น อนุกูลราชกิจ (มารดา)
ภาพล้อพระยาเฉลิมอากาศ ฝีพระหัตถ์ รัชกาลที่ 6

ประวัติ

แก้

พระยาเฉลิมอากาศ มีนามเดิมว่า สุณี สุวรรณประทีป เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2430 ที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เข้ามาศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้คะแนนดีเยี่ยม จากนั้นเข้ารับราชการทหาร

ท่านได้รับทุนไปศึกษาวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศส ขณะมียศเป็น นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ เป็นนักบินรุ่นแรก คนหนึ่งในจำนวน 3 คน ซึ่งประกอบด้วย นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินศุข) (ต่อมาเป็น นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์) และนายร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต (ต่อมาเป็น นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต)

ท่านรับราชการเป็นนักบินในกองทัพจนมียศเป็นนายพลโท บรรดาศักดิ์เป็นพระยาเฉลิมอากาศ เมื่อ พ.ศ. 2463 เป็นผู้ริเริ่มหน่วยบินซึ่งเดิมมีเครื่องบินเพียง 8 ลำ จนพัฒนามาเป็น กรมอากาศยานทหารบก และกลายเป็นกองทัพอากาศไทย ในเวลาต่อมา

นายพลโท พระยาเฉลิมอากาศ พ้นจากหน้าที่ "เจ้ากรมอากาศยาน" เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2475[1] ภายหลังมีการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ซึ่งได้มีคำสั่ง "ยกเลิกชั้นนายพลในกองทัพไทย" และกลับเข้าทำหน้าที่ ผู้กำกับการบินพลเรือน เป็นนายทหารนอกราชการ ในปี พ.ศ. 2481 ภายหลังได้รับพระราชทานยศ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ และลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. 2486

นายพลโท พระยาเฉลิมอากาศ ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2498 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สิริอายุ 68 ปี 141 วัน

ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์

  • 6 มกราคม พ.ศ. 2453 เป็น “หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ”[2]
  • 18 มิถุนายน พ.ศ. 2457 เป็น “พระเฉลิมอากาศ”[3]
  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2463 เป็น “พระยาเฉลิมอากาศ” ถือศักดินา 1500[4]

ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรยศทหาร

  • สิงหาคม พ.ศ. 2446 เป็นนักเรียนนายร้อย
  • มิถุนายน พ.ศ. 2448 เป็นว่าที่นายร้อยตรี
  • 21 กันยายน พ.ศ. 2448 เป็นนายร้อยตรี [5]
  • 11 ตุลาคม พ.ศ. 2449 เป็นนายร้อยโท [6]
  • 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2451 เป็นนายร้อยเอก [7]
  • 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 เป็นนายพันตรี [8]
  • 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 เป็นนายพันโท[9]
  • 23 มีนาคม พ.ศ. 2459 – เป็นนายพันเอก [10]
  • 23 เมษายน 2461 – เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรยศทหารบก[11]
  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 เป็นนายพลตรี [12]
  • 6 มีนาคม พ.ศ. 2473 เป็นนายพลโท [13]
  • พ.ศ. 2475 ยกเลิกยศนายทหารชั้นนายพล ใน กองทัพบก
  • 1 ธันวาคม พ.ศ. 2479 เป็นนายนาวาอากาศเอก [14]
  • 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 เป็นพลอากาศโท[15]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง นายทหารออกจากประจำการ
  2. ส่งสัญญาบัตรขุนนางไปพระราชทาน (หน้า ๒๔๔๐)
  3. ตั้งและเลื่อนบรรดาศักดิ์ (หน้า ๗๓๗)
  4. พระราชทานบรรดาศักดิ์
  5. พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
  6. พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก (หน้า ๗๗๓)
  7. พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก (หน้า ๑๙๙)
  8. ตั้งตำแหน่งยศนายทหารบก
  9. ตั้งตำแหน่งยศนายทหารบก (หน้า ๔๑๔)
  10. พระราชทานยศนายทหารบก (หน้า ๙๒)
  11. รายวันพระราชทานสัญญาบัตรยศทหารบก
  12. พระราชทานยศทหารและข้าราชการในกระทรวงกลาโหม
  13. พระราชทานยศ (หน้า ๔๕๙๒)
  14. ประกาศ เรื่อง พระราชทานยศทหารอากาศ (หน้า ๒๕๕๙)
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๗๐ ง หน้า ๒๘๓๖, ๓ พฤศจิกายน ๒๔๘๕
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๗๙, ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๕๒, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๔๖๘
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานฐานันดร แห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีและเหรียญรามมาลา เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๒, ๒๗ เมษายน ๒๔๖๒
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันอังคารที่ ๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๔ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๘๖, ๘ มกราคม ๒๔๖๔
  21. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่นายทหารผู้มีความชอบและผู้ปฎิบัติราชการ เกี่ยวเนื่องด้วยการส่งกองทหารในงานพระราชสงครามที่ยุโรป เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๓๒, ๒๑ กันยายน ๒๔๖๒
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๗๔, ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๖
  23. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่นายทหารผู้มีความชอบและผู้ปฏิบัติราชการ เกี่ยวเนื่องด้วยการส่งกองทหารในงานพระราชสงครามที่ยุโรป เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๒๕, ๒๑ กันยายน ๒๔๖๒
  24. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรมาลา เก็บถาวร 2022-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๓๐, ๒๕ มกราคม ๒๔๖๒
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๘๕, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
  26. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๘, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
  27. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๑๗๒๕, ๓ สิงหาคม ๒๔๙๗
  28. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๗๘, ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๙
  29. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๑๖, ๒๒ มกราคม ๒๔๖๔
  30. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๗๐๑, ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๐
  31. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๘๓, ๒๐ มกราคม ๒๔๗๑

บรรณานุกรม

แก้