เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค)

ขุนนางชาวไทย
(เปลี่ยนทางจาก เจ้าพระยาพิชัยญาติ)

มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาพิชัยญาติ นามเดิม ดั่น บุนนาค (6 มิถุนายน พ.ศ. 2418 – 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2489) อดีตประธานรัฐสภา (ประธานสภาผู้แทนราษฎร) และอธิบดีศาลฎีกา

เจ้าพระยาพิชัยญาติ
(ดั่น บุนนาค)
ประธานรัฐสภาไทย และ
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
2 กันยายน พ.ศ. 2475 – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2476
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
ถัดไปเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
อธิบดีศาลฎีกา
ดำรงตำแหน่ง
11 ธันวาคม พ.ศ. 2462 – 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2469
ก่อนหน้าพระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (ลออ ไกรฤกษ์)
ถัดไปพระยาจินดาภิรมย์ราชสภาบดี (จิตร ณ สงขลา)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2476
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ดั่น

6 มิถุนายน พ.ศ. 2418
จังหวัดธนบุรี
ประเทศสยาม
เสียชีวิต24 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 (71 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสแสง อารยะกุล
บุตร
  • หลวงเมธีนฤปกร
  • สดับ
  • สดม
บุพการี
  • พระยาไพบูลย์สมบัติ (เดช บุนนาค) (บิดา)
  • สงวน บุนนาค (มารดา)
ความสัมพันธ์สกุลบุนนาค
ภาพล้อเจ้าพระยาพิชัยญาติ ฝีพระหัตถ์ รัชกาลที่ 6

ประวัติ แก้

เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) เป็นบุตรของพระยาไพบูลย์สมบัติ (เดช บุนนาค) กับนางสงวน เกิดเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2418 ที่บ้านเลขที่ 107 ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี ตำบลบางยี่ขัน อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี (ปัจจุบันเป็น แขวงบางยี่ขัน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร) สมรสกับคุณหญิงแสง (สกุลเดิม อารยะกุล) มีบุตร-ธิดาชื่อ หลวงเมธีนฤปกร (สดวก บุนนาค) ธิดาชื่อสดับและสดม เป็นนางพระกำนัลในรัชกาลที่ 7 ซึ่งต่อมาได้สมรสกับพระสุนทรวาจนา (สนุทร สาลักษณ) บุตรของมหาเสวกโท พระยาศรีภูริปรีชา (กมล สาลักษณ) และคุณหญิง (พึ่ง) ศรีภูริปรีชา

เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) เคยดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา-ประธานสภาผู้แทนราษฎร 1 สมัยคือ 2 กันยายน พ.ศ. 2475 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2476

ลำดับบรรดาศักดิ์ แก้

  • 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 เป็น หลวงเมธีนฤปกร ถือศักดินา ๖๐๐[1]
  • 16 มกราคม พ.ศ. 2446 เป็น พระเมธีนฤปกร ถือศักดินา ๘๐๐[2]
  • 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2451 เป็น พระยากฤติกานุกรณกิจ ถือศักดินา ๕๐๐๐[3]
  • พ.ศ. 2467 เป็น เจ้าพระยาพิชัยญาติ บรมธรรมิกนาถมหาสวามิภักดิ์ อัครวโรปถัมภ์นิติวิธาน พิศาลยุกติธำรง สุทธิประสงค์อาชวาศรัย ศรีรัตนตรัยสรณธาดา อภัยพิริยบรมกรมพาหุ ดำรงศักดินา 10,000[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

  •   เบลเยียม :
    • พ.ศ. 2470 –   เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลออปอลที่ 2 ชั้นที่ 1[15]

ถึงแก่อสัญกรรม แก้

เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) ถึงอสัญกรรม เมื่อ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 อายุ 71 ปี

ลำดับสาแหรก แก้

อ้างอิง แก้

  1. พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนยศ (หน้า ๔๙๓)
  2. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  3. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง (หน้า ๒๐๐)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนาพระองค์เจ้าและตั้งเจ้าพระยา, 23 พฤศจิกายน 2467, เล่ม 41, หน้า 2645
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๕๕, ๒๓ พฤศจิกายน ๒๔๖๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๑๐, ๒๕ มกราคม ๒๔๖๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๙๓, ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ส่งเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญไปพระราชทาน, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๓๑, ๑๘ มีนาคม ๒๔๘๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๕๖, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฝ่ายใน, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๐๑, ๗ มกราคม ๒๔๖๖
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๕๑, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๒๙ ง หน้า ๑๑๒๕, ๒๘ เมษายน ๒๔๘๕
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๕, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗๑๖, ๙ กรกฎาคม ๑๓๐
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาต ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๙๙, ๔ กันยายน ๒๔๗๐