เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)

มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) (30 ตุลาคม พ.ศ. 2428 – 25 กันยายน พ.ศ. 2519) ขุนนาง 5 แผ่นดิน อดีตประธานศาลฎีกา เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีหลายกระทรวง เคยดำรงตำแหน่ง ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี ประธานองคมนตรี และเป็นคนสุดท้ายที่ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าพระยา

เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ
(จิตร ณ สงขลา)
ประธานองคมนตรี[1]
ดำรงตำแหน่ง
27 พฤษภาคม – 8 มิถุนายน พ.ศ. 2506
(0 ปี 12 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
ถัดไปพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
ดำรงตำแหน่ง
9 กรกฎาคม – 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2506
(0 ปี 5 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
ถัดไปพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
ประธานรัฐสภาไทย
และประธานสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
22 กันยายน พ.ศ. 2477 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2479
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
ก่อนหน้าพลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน)
ถัดไปพระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)
ประธานวุฒิสภา
ดำรงตำแหน่ง
26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
ก่อนหน้าพลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน)
ถัดไปพันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)
อธิบดีศาลฏีกา คนที่ 6
ดำรงตำแหน่ง
6 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2471
ก่อนหน้ามหาอำมาตย์โท พระยากฤติกานุกรณ์กิจ (ดั่น บุนนาค)
ถัดไปพระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี (บุญช่วย วณิกกุล)
ตำแหน่งเสนาบดีและรัฐมนตรี
เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2471 – พ.ศ. 2474
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าเจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (หม่อมราชวงศ์ลบ สุทัศน์)
ถัดไปพระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี (บุญช่วย วณิกกุล)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481
นายกรัฐมนตรีพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
ก่อนหน้าเจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)
ถัดไปพลเรือตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์)
ดำรงตำแหน่ง
1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488
นายกรัฐมนตรีพันตรี ควง อภัยวงศ์
ก่อนหน้าพลเรือตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์)
ถัดไปศาสตราจารย์ ดิเรก ชัยนาม
ดำรงตำแหน่ง
31 มกราคม – 24 มีนาคม พ.ศ. 2489
นายกรัฐมนตรีพันตรี ควง อภัยวงศ์
ก่อนหน้าพระยานลราชสุวัจน์ (ทองดี นลราชสุวัจน์)
ถัดไปหลวงชำนาญนิติเกษตร (อุทัย แสงมณี)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
24 มิถุนายน พ.ศ. 2476 – 22 กันยายน พ.ศ. 2477
นายกรัฐมนตรีพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
ก่อนหน้าพระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)
ถัดไปพระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2481 – 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2482
นายกรัฐมนตรีพันเอก หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ)
ก่อนหน้าหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)
ถัดไปจอมพลแปลก พิบูลสงคราม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2487 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2488
นายกรัฐมนตรีพันตรี ควง อภัยวงศ์
ก่อนหน้าพลเอก หลวงเชวงศักดิ์สงคราม (ช่วง ขวัญเชิด)
ถัดไปนาวาเอก หลวงศุภชลาศัย ร.น. (บุง ศุภชลาศัย)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 ตุลาคม พ.ศ. 2428
บ้านพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา) ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
เสียชีวิต25 กันยายน พ.ศ. 2519 (90 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสท่านผู้หญิงน้อม พหลโยธิน
ท่านผู้หญิงประภา วัชราภัย
บุตรนางจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (ถนิต ไกรฤกษ์)
นายขนบ ณ สงขลา
นางจำนงค์ ไกรฤกษ์
นางสมศรี อังสุวัฒนะ
นางภิรมย์ วณิกกุล
พันเอกจินดา ณ สงขลา
นางสาวผกา ณ สงขลา
นายเจตนา ณ สงขลา
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ญาใจ (ยาใจ) ณ สงขลา
นางสายจิตร กฤษณามระ
บุตรชาย ถึงแก่กรรมเมื่อคลอด
บุพการี
  • พระอนันตสมบัติ (เอม ณ สงขลา) (บิดา)
  • นางเชื้อ วัชราภัย (มารดา)
ศิษย์เก่าสำนักเกรย์อิน (The Honourable Society of Gray’s Inn), ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ลายมือชื่อ

ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ มีบทบาทในคณะรัฐมนตรีหลายคณะ โดยดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข และ กระทรวงการคลัง ภายหลังพ้นภารกิจทางการเมืองแล้ว ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี และเคยดำรงตำแหน่ง ประธานองคมนตรี ในรัชกาลที่ 9

นอกจากได้รับราชการและทำงานด้านการเมือง เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศยังมีความสำคัญกับวงการประกันชีวิตของไทย โดยเมื่อ ปี พ.ศ. 2489 ได้เป็นผู้ก่อตั้ง และประธานคนแรก ของบริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งแรกของไทย ที่ก่อตั้ง และบริหารงานโดยคนไทย และยังคงดำเนินกิจการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติ แก้

เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ เกิดวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2428 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดที่บ้านพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา ณ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นบุตรชายคนโตของพระอนันตสมบัติ (เอม ณ สงขลา) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา กับนางอนันตสมบัติ (เชื้อ วัชราภัย) ธิดาของหลวงอุปการโกษากร (เวท วัชราภัย) กับท่านปั้น วัชราภัย (ณ สงขลา) เป็นหลานของเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ลำดับที่ 6 นับจากทั้งฝ่ายบิดาและมารดา เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 9 คน ได้แก่

  1. เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)
  2. พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 9 ประธานรัฐสภาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สมรสกับท่านผู้หญิงศรี (ลพานุกรม) น้องสาวเภสัชกร ดร.ตั้ว ลพานุกรม กรรมการราษฎร อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์คนแรก
  3. คุณหญิงลิ้ม ณ สงขลา สมรสกับ พระยาอภิรักษ์ราชอุทาน (ฑิตย์ ณ สงขลา) มหาดเล็ก เจ้ากรมสวนหลวงและองคมนตรี
  4. หลวงสฤษฎิสุขาการ (รอด ณ สงขลา)
  5. คุณหญิงเกษร สุขุม
  6. นางมหานุภาพปราบสงคราม (จิ๋ว ณ สงขลา) สมรสกับหลวงมหานุภาพปราบสงคราม (ผ่อง โรจนะหัสดิน)
  7. นายอาจ ณ สงขลา สมรัสกับ นางผัน
  8. คุณเอื้อน ณ สงขลา
  9. นางราชฤทธิ์บริรักษ์ (ลำดวน ณ สงขลา) สมรสกับ ขุนราชฤทธิ์บริรักษ์ (ขำ ณ สงขลา)

การศึกษา แก้

...ในปีพุทธศักราช 2450 พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงพระปิยมหาราช เสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป ครั้งที่ 2 ข้าพเจ้าได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ตามเสด็จนอกสวิต (Suite) ในฐานะเป็นนักเรียนหลวงของกระทรวงยุติธรรม พร้อมกับนักเรียนอื่นอีกสองคน โดยเรือพระที่นั่งจักรีจากกรุงเทพฯ เปลี่ยนขึ้นเรือแซกชั่น ของบริษัทเยอรมันน๊อรทด๊อยซ์ลอยด์ จากสิงคโปร์ตรงไปเมืองเยนัว ประเทศอิตาลี แล้วโดยสารรถไฟไปยังเมืองซานเรโม ซึ่งเป็นที่ประทับเมื่อได้พักอยู่เจ็ดวันแล้ว ได้กราบถวายบังคมลาตามเสด็จพระเจ้าลูกยาเธอสี่พระองค์คือ สมเด็จพระราชบิดาเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนครราชสีมา สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เจ้าอยู่หัว เมื่อยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนสุโขทัยธรรมราชา พร้อมด้วยพระยาวิสูตรโกษา อัครราชทูตไทยประจำประเทศอังกฤษ และเลขานุการ ไปยังกรุงลอนดอน เพื่อศึกษาวิชากฎหมายต่อไป

  • พ.ศ. 2453 สำเร็จเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ (Barrister – at – law) โดยใช้เวลาศึกษาวิชากฎหมายที่ สำนักเกรย์อิน (Gray’s Inn) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษเป็นเวลา 3 ปีครึ่ง และตลอดระยะเวลาที่ศึกษา ได้ศึกษาภาษาฝรั่งเศสเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับวิชากฎหมายอีกด้วย

การทำงาน แก้

หน้าที่พิเศษ แก้

เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) และพระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) น้องชาย เป็นผู้อุปถัมป์วัดสุทธิวรารามต่อจากนางอนันตสมบัติ (เชื้อ ณ สงขลา) ผู้เป็นมารดาและได้เป็นผู้รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดสุทธิวราราม เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2511 โดยหลังจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรถวายผ้าพระกฐินเสร็จแล้ว ได้ตรัสกับเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) ว่า

ขอฝากดูแลวัดนี้ด้วย มีโอกาสจะมาอีก

ผลงานทางวิชาการ แก้

  • คำอธิบายกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท
  • คำอธิบายกฎหมายลักษณะพิจารณาคำพยานหลักฐาน
  • คำอธิบายพระธรรมนูญศาลยุติธรรม และวิธีพิจารณาความแพ่ง
  • คำอธิบายกฎหมายล้มละลาย
  • คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ครอบครัว แก้

เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศได้สมรสกับท่านผู้หญิงน้อม ธิดาของนายพลโท พระยาพหลโยธินรามินทรภักดี (นพ พหลโยธิน) กับคุณหญิงล้วน (จารุรัตน์) มีบุตร-ธิดารวม 11 คน ดังนี้[5][6]

  1. นางจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (ถนิต ณ สงขลา) สมรสกับศาสตราจารย์ หลวงจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (วิสุทธิ์ ไกรฤกษ์) บุตรเจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)
  2. นายขนบ ถึงแก่กรรมเมื่อวัยเยาว์
  3. นางจำนงค์ (ณ สงขลา) สมรสกับ นายพิพรรธน์ ไกรฤกษ์ บุตรคนโตของพระยาประเสริฐศุภกิจ (เพิ่ม ไกรฤกษ์) กับคุณหญิงจำเริญ น้องสาวเจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)
  4. นางสมศรี (ณ สงขลา) สมรสกับ นายเผดิม อังสุวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภา
  5. นางภิรมย์ (ณ สงขลา) สมรสกับ นายโอบบุญ วณิกกุล เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโตเกียว และกรุงปารีส บุตรพระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี (บุญช่วย วณิกกุล) องคมนตรี เสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และประธานศาลฎีกา
  6. พันเอกจินดา ณ สงขลา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) สมรสกับนางสาวพิมสิริ สารสิน บุตรีนายพจน์ สารสิน อดีตนายกรัฐมนตรีไทย กับท่านผู้หญิงสิริ
  7. นางสาวผกา ณ สงขลา
  8. นายเจตนา ณ สงขลา สมรสกับ นางกรรติกา (หัพนานนท์)
  9. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ญาใจ (ยาใจ) ณ สงขลา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมรสกับนางสาวสุคนธา ลิมปิชาติ บุตรีหลวงชาติตระการโกศล (เจียม ลิมปิชาติ) อธิบดีกรมตำรวจ และสมรสกับนางอุไรวรรณ (พ่วงบุญมาก)
  10. นางสายจิตร (ณ สงขลา) สมรสกับ ศาสตราจารย์กิตติคุณ เติมศักดิ์ กฤษณามระ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุตรคนโตของศาสตราจารย์อุปการคุณ พระยาไชยยศสมบัติ (เสริม กฤษณามระ) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และคุณหญิงศรีไชยยศสมบัติ
  11. บุตรชาย ถึงแก่กรรมเมื่อคลอด

และภายหลังจากท่านผู้หญิงน้อม พหลโยธิน ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 2495 เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศได้สมรสกับท่านผู้หญิงประภา วัชราภัย ธิดาของ มหาอำมาตย์โท พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ (สุหร่าย วัชราภัย) และ คุณหญิงจำเริญ วัชราภัย (ภัทรนาวิก)ไม่มีบุตร-ธิดาด้วยกัน ท่านผู้หญิงประภา วัชราภัย ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2516

ลำดับยศ บรรดาศักดิ์ และ ตำแหน่งทางวิชาการ แก้

  • พ.ศ. 2454 หลวงจินดาภิรมย์
  • พ.ศ. 2456 พระจินดาภิรมย์ราชสภาบดี
  • พ.ศ. 2457 มหาอำมาตย์ตรี พระจินดาภิรมย์ราชสภาบดี
  • พ.ศ. 2459 มหาอำมาตย์โท พระยาจินดาภิรมย์ราชสภาบดี
  • 15 ธันวาคม พ.ศ. 2471 - มหาอำมาตย์เอก[7]
  • พ.ศ. 2474 มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ ดำรงศักดินา 10,000 ไร่ มีสมญาจารึกในหิรัญบัฏว่า

เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ สมันตเนตรนิศุทธยุตติธรรมธร วิสดรนีติศาสตรราชประเพณี วิเชียรคีรีสัลลีวงศวัยวฑฒน์ บรมกษัตรสุนทรมหาสวามิภักดิ์ สุขุมลักษณ์สุจริตาร์ชวาศรัย ศรีรัตนตรัยสรณาภิรดี อภัยพีรยปรากรมพาหุ[8]

ถึงแก่อสัญกรรม แก้

เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2519 สิริอายุได้ 90 ปี 11 เดือน 8 วัน หลังจากรับราชการทั้งด้านตุลาการ บริหาร นิติบัญญัติ และองคมนตรี รวมทั้งสิ้นถึง 72 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2519 ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

  •   เบลเยียม :
    • พ.ศ. 2470 –   เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลออปอลที่ 2 ชั้นที่ 2[19]

ลำดับสาแหรก แก้

อ้างอิง แก้

  1. รายพระนาม/รายนามประธานองคมนตรีในรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. ๒๔๙๒ - )[ลิงก์เสีย]
  2. แจ้งความกระทรวงยุติธรรม เรื่อง ย้ายหน้าที่ราชการ
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๑ ราย)
  5. "เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร) - ชมรมสายสกุล ณ สงขลา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-01-15.
  6. ทำเนียบสายสกุล ณ สงขลา สายเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) - ชมรมสายสกุล ณ สงขลา
  7. พระราชทานยศพลเรือน
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศเลื่อนกรมและตั้งเจ้าพระยา, เล่ม 48, 15 พฤศจิกายน 2474, หน้า 409
  9. "ศาสตราจารย์วิสามัญแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-04. สืบค้นเมื่อ 2018-08-04.
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๙๔, ๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๒๓ ง หน้า ๑๗๐๑, ๒๕ เมษายน ๒๔๙๓
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๔ ง หน้า ๒๘๐๗, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๗
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๓๘, ๒๑ เมษายน ๒๔๗๘
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๔๖, ๒๒ มกราคม ๑๓๑
  15. ราชกิจจานุเบกษา, เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้าและฝ่ายใน, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๓๗, ๑ ธันวาคม ๒๔๗๒
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๐๓, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๖๐, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๑๐ ง หน้า ๕๓๐, ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๙๙, ๔ กันยายน ๒๔๗๐

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ดูเพิ่ม แก้

ก่อนหน้า เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) ถัดไป
พลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฎ   ประธานองคมนตรี ในรัชกาลที่ 9
(27 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 – 8 มิถุนายน พ.ศ. 2506
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 – 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2506)
  หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์
พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน)    
ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานรัฐสภา
(22 กันยายน พ.ศ. 2477 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2479)
  พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)
พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน)    
ประธานวุฒิสภา
(26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494)
  "ไม่มีวุฒิสภา"
สมัยต่อไป พันเอก นายวรการบัญชา
(บุญเกิด สุตันตานนท์)
มหาอำมาตย์โท พระยากฤติกานุกรณ์กิจ (ดั่น บุนนาค)
(ต่อมาเป็น มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาพิชัยญาติ)
  อธิบดีศาลฏีกา
(6 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2471)
  พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี (บุญช่วย วณิกกุล)
เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (หม่อมราชวงศ์ลบ สุทัศน์)    
เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
(พ.ศ. 2471 – พ.ศ. 2474)
  พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี (บุญช่วย วณิกกุล)
เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
(ครั้งที่ 1)

(21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481)
  พลเรือตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์)
พลเรือตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์)    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
(ครั้งที่ 2)

(1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488)
  ศาสตราจารย์ ดิเรก ชัยนาม
พระยานลราชวสุวัจน์ (ทองดี นลราชสุวัจน์)    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
(ครั้งที่ 3)

(31 มกราคม พ.ศ. 2489 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2489)
  หลวงชำนาญนิติเกษตร (อุทัย แสงมณี)
พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(24 มิถุนายน พ.ศ. 2476 – 22 กันยายน พ.ศ. 2477)
  พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)
หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(20 ธันวาคม พ.ศ. 2481 – 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2482)
  จอมพลแปลก พิบูลสงคราม
พลเอก หลวงเชวงศักดิ์สงคราม (ช่วง ขวัญเชิด)    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(2 สิงหาคม พ.ศ. 2487 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2488)
  นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย ร.น. (บุง ศุภชลาศัย)