พระยานลราชสุวัจน์ (ทองดี นลราชสุวัจน์)

มหาอำมาตย์ตรี พระยานลราชสุวัจน์ ชื่อจริง ทองดี นลราชสุวัจน์ (สกุลเดิม วณิกพันธุ์ ; 8 สิงหาคม พ.ศ. 2424 - 6 มีนาคม พ.ศ. 2496) อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราว และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 13

มหาอำมาตย์ตรี
พระยานลราชสุวัจน์
(ทองดี นลราชสุวัจน์)

ป.ม., ท.จ., ต.ช.
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ชั่วคราว)
ดำรงตำแหน่ง
9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2489
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
17 กันยายน พ.ศ. 2488 – 31 มกราคม พ.ศ. 2489
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 8 สิงหาคม พ.ศ. 2424
เมืองกรุงเก่า ประเทศสยาม
เสียชีวิต 6 มีนาคม พ.ศ. 2496 (71 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
คู่สมรส คุณหญิงอ่อน นลราชสุวัจน์
ศาสนา พุทธ

ประวัติแก้ไข

พระยานลราชสุวัจน์ (ทองดี นลราชสุวัจน์) เป็นบุตรนายคง และนางจุ้ย เกิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2424 ที่ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 10 คน

พระยานลราชสุวัจน์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2496 พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2496[1]

งานการเมืองแก้ไข

พระสุธรรมวินิจฉัย เคยดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราว เมื่อพ.ศ. 2489 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 13

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แก้ไข

หลังการลาออกของปรีดี พนมยงค์ พระยานลราชสุวัจน์ (ทองดี นลราชสุวัจน์) พระสุธรรมวินิจฉัย (ชม วณิกเกียรติ) และสงวน จูฑะเตมีย์ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราว ตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 11 และได้มีส่วนร่วมในการกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชให้เสด็จขึ้นครองราชย์[2][3]

รัฐมนตรีแก้ไข

พระยานลราชสุวัจน์ (ทองดี นลราชสุวัจน์) ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีมาแล้ว 1 สมัย คือ

  1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 13[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยากับคำวินิจฉัยของพระยาโบราณราชธานินทร์ ฉบับชำระครั้งที่ 2[ลิงก์เสีย]
  2. บทที่ 3 สถาบันพระมหากษัตริย์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช[ลิงก์เสีย]
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งนายตำรวจเอกเป็นหัวราชสำนัก (จำนวน ๑๖ ราย)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๐๑, ๑๑ ธันวาคม ๒๔๘๒
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๘๑, ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๙๘, ๒๕ มกราคม ๒๔๖๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๙๙, ๒๖ พฤษภาคม ๒๔๗๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๕ ตอน ๐ ง หน้า ๒๔๑๐, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๑
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๖๑, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙