สงวน จูฑะเตมีย์
สงวน จูฑะเตมีย์ หรือ เสวกตรี นายหมวดโท หลวงนฤเบศร์มานิต ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[2] (เกิด 10 เมษายน 2427 - 15 ตุลาคม 2523)[3][4] เป็นสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน และเป็นรัฐมนตรีไม่ได้ประจำกระทรวง ถึง 5 สมัย ตั้งแต่ คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 4 - 9 โดยมีนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และอดีตอธิบดีกรมสรรพสามิต[5][6]
สงวน จูฑะเตมีย์ | |
---|---|
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ชั่วคราว) | |
ดำรงตำแหน่ง 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | ปรีดี พนมยงค์ |
ก่อนหน้า | ปรีดี พนมยงค์ |
ถัดไป | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร พระยามานวราชเสวี |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | |
นายกรัฐมนตรี | ปรีดี พนมยงค์ |
ก่อนหน้า | หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) |
ถัดไป | ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 13 เมษายน พ.ศ. 2482 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2485 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | ขุนสมาหารหิตะคดี |
ถัดไป | กาจ กาจสงคราม |
อธิบดีกรมสรรพสามิต | |
ดำรงตำแหน่ง 10 เมษายน พ.ศ. 2477 – 1 เมษายน พ.ศ. 2483 | |
ก่อนหน้า | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย |
ถัดไป | หลวงอรรถสารประสิทธิ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 เมษายน พ.ศ. 2427 |
เสียชีวิต | 15 ตุลาคม พ.ศ. 2523 (96 ปี)[1] |
ประวัติ
แก้ชีวิตการทำงาน
แก้หลวงนฤเบศร์มานิต (สงวน จูฑะเตมีย์) เป็นสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน และเป็นรัฐมนตรีไม่ได้ประจำกระทรวง ถึง 5 สมัย ในรัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนา และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2482[7] และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์[8]
นอกจากนี้ก่อนหน้าที่จะเข้าสู่วงการทางการเมือง หลวงนฤเบศร์มานิตเคยเป็นคุณครูสอน โรงเรียนราชวิทยาลัย ซึ่งภายหลังชื่อโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยรับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนนฤเบศร์มานิต ถือศักดินา ๓๐๐ เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2458[9] ได้รับพระราชทานยศเป็นรองหุ้มแพร เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2459[10] และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงนฤเบศร์มานิต ถือศักดินา ๔๐๐ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462[11] โดยได้เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2463[12]
บั้นปลายชีวิต
แก้ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2523 สงวน จูฑะเตมีย์ (หลวงนฤเบศร์มานิต) ถูกศาลแพ่ง สั่งให้เป็นบุคคลซึ่งไร้ความสามารถ อันเนื่องมาจากป่วยเป็นอัมพาต นัยน์ตามองไม่เห็น พูดจาไม่รู้เรื่อง ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ โดยบรรจง จูฑะเตมีย์เป็นผู้อนุบาล[13]
ยศและตำแหน่ง
แก้- 15 มิถุนายน 2459 – รองหุ้มแพร
- 4 มีนาคม 2461 – นายหมวดโท[14]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2482 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[15]
- พ.ศ. 2467 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[16]
- พ.ศ. 2459 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)[17]
อ้างอิง
แก้- ↑ หลวงนฤเบศร์มานิต - สถาบันพระปกเกล้า
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๖ ราย)
- ↑ ประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง ให้หลวงนฤเบศร์มานิต พ้นจากตำแหน่ง
- ↑ พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการฝ่ายพลเรือน มาตรา 10
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ ตั้งอธิบดีกรมสรรพสามิต, เล่ม 51, ตอน ง, 22 เมษายน พ.ศ. 2477, หน้า 207
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้หลวงนฤเบศร์มานิต พ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพสามิตต์ เพราะอายุครบเกษียณ , เล่ม 57, ตอน ง, 11 มิถุนายน พ.ศ. 2483, หน้า 729
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และกระทรวงการคลัง (นายพันเอก หลวงพรหมโยธี และหลวงนฤเบศร์มานิต)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๖ ราย)
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๒๒๑๒)
- ↑ รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ ประกาศศาลแพ่ง เรื่องให้นายสงวน จูฑะเตมีย์ เป็นบุคคลไร้ความสามารถ
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า 3492)
- ↑ พระราชทานเหรียญราชรุจิ