กรมสรรพสามิต
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
กรมสรรพสามิต (อังกฤษ: The Excise Department) เป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดกระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการจัดเก็บ ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี มีลักษณะฟุ่มเฟือย และสินค้าและบริการที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากกิจการของรัฐ เป็นต้น
The Excise Department | |
เครื่องหมายราชการ | |
ภาพรวมกรม | |
---|---|
ก่อตั้ง | 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 |
กรมก่อนหน้า |
|
ประเภท | ส่วนราชการ |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | 1488 ถนนนครไชยศรี แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 |
งบประมาณต่อปี | 10,305,024,700 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
ฝ่ายบริหารกรม |
|
ต้นสังกัดกรม | กระทรวงการคลัง |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของกรม |
ประวัติ
แก้การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในประเทศไทย สันนิษฐานว่ามีการจัดเก็บตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแต่ไม่มีหลักฐาน แต่พบหลักฐานปรากฏว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น สมัยพระเจ้าปราสาททอง ราว พ.ศ. 2178 มีกฎหมายลักษณะพระธรรมนูญกำหนดว่าได้เก็บอากรจากสุรา โดยมิได้กำหนดอัตราและวิธีการจัดเก็บอย่างไร แต่ปรากฏหลักฐานชัดเจนในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ภาษีสรรพสามิตของไทย มีต้นกำเนิดมาจาก ฝิ่น และสุรา ซึ่งมีหน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดเก็บภาษีดังกล่าวแยกจากกัน คือ กรมฝิ่น และกรมสุรา
ใน พ.ศ. 2474 กรมสุราได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ควบคุมและจัดเก็บภาษีไม้ขีดไฟที่ทำขึ้นในราชอาณาจักรอีกอย่างหนึ่งด้วย จึงมีการเปลี่ยนชื่อกรมจากเดิมเป็น "กรมสรรพสามิตต์" เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งหม่อมเจ้าจิตรโภคทวี เกษมศรี ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพสามิตต์ เป็นคนแรก
ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบกรมในกระทรวงการคลัง ให้แยกงานสรรพสามิตต์และงานฝิ่นออกจากกรมสรรพากร แล้วรวมกันเป็น “กรมสรรพสามิตต์และฝิ่น” และในปีเดียวกันนั้นได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2476 ให้แก้นาม “กรมสรรพสามิตต์และฝิ่น” เป็น “กรมสรรพสามิต" เป็นต้นมา
หน่วยงานในสังกัด
แก้- กลุ่มตรวจสอบภายใน
- โรงงานไพ่
- องค์การสุรา
หน่วยงานราชการส่วนกลาง
แก้- สำนักงานมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 1
- สำนักงานมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 2
- สำนักตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม
- กลุ่มวิเคราะห์สินค้าและของกลาง
- กลุ่มพัฒนาและตรวจสอบทางเทคนิค
- กองกำกับและตรวจสอบภาษีสรรพสามิต
- กองกำกับและพัฒนามาตรฐานราคาภาษีสรรพสามิต
- สำนักกฎหมาย
- สำนักแผนภาษี
- สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล
- สำนักบริหารการคลังและรายได้
- ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
- กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
- สำนักงานเลขานุการกรม
หน่วยงานราชการส่วนกลางในภูมิภาค
แก้- สำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 1 - 10
- สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ จำนวน 87 พื้นที่
- สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา จำนวน 177 พื้นที่
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๑๒, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ กรมสรรพสามิต
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์