เกษม บุญศรี (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 - 22 ตุลาคม พ.ศ. 2531) อดีตแม่กองธรรมสนามหลวง ราชบัณฑิตภาคีสมาชิก อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย 2 สมัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ 2 สมัย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร 1 สมัย

เกษม บุญศรี
ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย
ดำรงตำแหน่ง
4 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2490
ก่อนหน้าพระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)
ถัดไปพึ่ง ศรีจันทร์
ดำรงตำแหน่ง
20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 – 14 มิถุนายน พ.ศ. 2493
ก่อนหน้าพึ่ง ศรีจันทร์
ถัดไปพระราชธรรมนิเทศ (เพียร ไตติลานนท์)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448
เสียชีวิต22 ตุลาคม พ.ศ. 2531
พรรคการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
คู่สมรสอาพรรณ บุญศรี

ประวัติ

แก้

เกษม บุญศรี เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 ที่บ้านเกาะหงษ์ ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นบุตรของนายดิน และนางน้อม บุญศรี[1] ได้บวชเป็นพระภิกษุ มีฉายาทางธรรมว่า ภทฺทธมฺโม ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 7 ประโยค[2] อาศัยอยู่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2484 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะมีนามว่าพระศรีสมโพธิ[3] และดำรงตำแหน่งแม่กองธรรมสนามหลวงตั้งแต่ พ.ศ. 2486 จนลาสิกขาบทในปี พ.ศ. 2488[4]

ต่อมาได้สมรสกับนางอาพรรณ บุญศรี[5]

งานการเมือง

แก้

เกษม บุญศรี ได้รับการเลือกให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2489[6] และได้รับเลือกตั้งเรื่อยมา รวม 3 สมัย อีกทั้งยังได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร 2 สมัย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

เกษม บุญศรี ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489 จังหวัดนครสวรรค์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491 จังหวัดนครสวรรค์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จังหวัดพระนคร พรรคประชาธิปัตย์

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

แก้

เกษม บุญศรี ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 4
  2. ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 5

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. เกษม บุญศรี[ลิงก์เสีย] จาก province.myfirstinfo.com
  2. "นายเกษม บุญศรี". สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๕๘, ๑๑ มีนาคม ๒๔๘๔, หน้า ๔๙๙
  4. "ทำเนียบแม่กองธรรมสนามหลวง". สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. นายเกษม บุญศรี และ นางอาพรรณ บุญศรี[ลิงก์เสีย] ประวัติและผลงาน
  6. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ ตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทน ตอนที่ ๔๐, เล่ม ๖๓, ๑๑ มิถุนายน ๒๔๘๙
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘๒๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖


ก่อนหน้า เกษม บุญศรี ถัดไป
พระศาสนโศภน (แจ่ม จตฺตสลฺโล)   แม่กองธรรมสนามหลวง
(พ.ศ. 2486 - พ.ศ. 2488)
  พระศรีสุธรรมมุนี (อาจ อาสโภ)