สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง
สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง (อังกฤษ: Royal Dhamma Studies Office[1]) คู่กับสำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวงของคณะสงฆ์ไทยและคณะสงฆ์อื่น เป็นหน่วยงานในการบังคับบัญชาของสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดยอาศัยมติการเห็นชอบของมหาเถรสมาคม (มส.) และคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม (กศป.)ซึ่งอยู่ในความอุปถัมภ์ของรัฐบาลไทย โดยมีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการรับสนองงาน และอุดหนุนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีจากรัฐบาลให้ มีหน้าที่หลักคือดำเนินการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษา ชั้นตรี โท เอก ของชาติ[2] และจัดให้มีการสอบไล่วัดผลประจำปีตามหลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษาที่เปิดสอนไปทั่วราชอาณาจักรไทยและต่างประเทศ
Royal Dhamma Studies Office | |
สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวงที่วัดบวรนิเวศวิหาร | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2471 |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
ต้นสังกัดหน่วยงาน | มหาเถรสมาคม |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ
แก้สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง ถูกก่อตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรม ซึ่งประกอบไปด้วย 2 แผนกด้วยกัน คือแผนกบาลี และแผนกธรรม ซึ่งแผนกธรรมดูแลโดยแม่กองธรรม ก่อตั้งขึ้นตามดำริของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นการศึกษาส่วนของพระธรรมวินัยในภาษาไทย ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับพระภิกษุและสามเณรในการศึกษาพระธรรมคำสอนของศาสนาพุทธได้อย่างทั่วถึง ซึ่งแต่เดิมการศึกษาของคณะสงฆ์ไทยจะใช้การศึกษาผ่านภาษาบาลีซึ่งเป็นสิ่งที่ยากสำหรับภิกษุและสามเณรทั่วไป ทำให้ขาดแคลนผู้มีความรู้ความเข้าใจในพระธรรมวินัยทั้งในด้านการเผยแผ่ การปกครอง และการเทศนาให้กับประชาชน จึงได้มีการสร้างการเรียนพระธรรมวินัยในภาษาไทยหรือนักธรรมขึ้นมา เริ่มต้นสอนภิกษุสามเณรในวัดบวรนเิวศวิหารเป็นครั้งแรกตั้งแต่ทรงรับหน้าที่ในการปกครองวัดบวรนิเวศวิหารเมื่อปี พ.ศ. 2435 ประกอบไปด้วยการเรียนรู้ทั้งด้านหลักธรรม, พุทธประวัติ และพระวินัย รวมไปถึงการแต่งและแก้กระทู้ธรรม[3]
เมื่อทรงเห็นว่าผลการเรียนการสอนดังกล่าวเป็นไปได้ด้วยดี จึงมีแนวคิดที่จะนำวิธีการดังกล่าวไปใช้ให้แพร่หลายขึ้น เนื่องจากสามารถเรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ง่าย ซึ่งขณะนั้นเองได้มีการประการใช้พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร รัตนโกสินทรศก 124 ในปี พ.ศ. 2448 ที่ระบุว่าพระภิกษุทั้งหมดจะได้รับการยกเว้นการเกณฑ์ทหาร ยกเว้นเฉพาะสามเณรที่มิได้รู้ธรรม ทางราชการจึงขอให้คณะสงฆ์กำหนดเกณฑ์การรู้ธรรมของสามเณรดังกล่าว สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ จึงได้กำหนดหลักสูตร "องค์สามเณรรู้ธรรม" ขึ้นมา ต่อมาได้ปรับปรุงหลักสูตรขึ้นมาเป็น "องค์นักธรรม" สำหรับภิกษุสามเณรชั้นนวกะ (ผู้บวชใหม่) ทั่วไป โดยได้รับพระบรมราชานุมัติในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2454 และโปรดให้มีการสอบส่วนกลางขึ้นครั้งแรกในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2454 ณ วัดบวรนิเวศวิหาร, วัดมหาธาตุ และวัดเบญจมบพิตร ประกอบด้วย 3 รายวิชา ได้แก่ ธรรมวิภาคในนวโกวาท, การแต่งความแก้กระทู้ธรรม และแปลภาษามคธเฉพาะในท้องนิทานในอรรถกถาธรรมบท[3]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2455 ได้ทรงปรับปรุงหลักสูตรองค์นักธรรมให้กว้างขวางขึ้น เหมาะกับการศึกษาเรียนรู้ จึงได้แบ่งออกเป็น 2 หลักสูตร[3] คือ
- อย่างสามัญ จัดการสอบเหมือนกันทั้งในกรุงเทพมหานครและตามหัวเมือง แบ่งออกเป็น 2 ประโยค
- ประโยค 1 ศึกษาเกี่ยวกับธรรมวิภาค และการเรียงความแก้กระทู้ธรรม โดยไม่ต้องซักที่มา
- ประโยค 2 ศึกษาเกี่ยวกับพุทธประวัติย่อ กับเรียงความแก้กระทู้ธรรม โดยซักที่มาจากหนังสือไทย
อย่างสามัญ หากสอบผ่านประโยค 1 จะได้รับยกเว้นการเกณฑ์ทหาร หากสอบผ่านอย่างสามัญทั้ง 2 ประโยค จะได้เป็น นักธรรม 2 ประโยค[3]
- อย่าวิสามัญ จะจัดการสอบเฉพาะในกรุงเทพมหานคร แบ่งออกเป็น 2 ประโยค
- ประโยค 1 ศึกษาถกถาธรรมบท มีการแก้อรรถด้วย
- ประโยค 2 มีการเพิ่มบาลีไวยากรณ์และสัมพันธ์
อย่างวิสามัญ ผู้ที่สอบผ่านวิสามัญทั้งสองประโยค จะได้เป็น เปรียญ 2 ประโยค เทียบได้กับเปรียญปริยัติ (เปรียญบาลี) 3 ประโยค[3]
ในปี พ.ศ. 2456 ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรองค์นักธรรมอีกครั้ง โดยเพิ่มหลักธรรมในหมวดคิหิปฏิบัติเข้าไปในธรรมวิภาค เพื่อประโยชน์หากจำเป็นต้องลาสิกขาไปเป็นฆราวาส เรียกว่า นักธรรมชั้นตรี การศึกษารูปแบบใหม่นี้เป็นที่นิยมในหมู่ภิกษุและสามเณรเป็นอย่างมาก และเป็นที่นิยมในวงกว้าง ในระยะเวลา 2 ปีมีผู้เข้าร่วมสอบกว่าเกือบพันรูป ทำให้ต่อมามีการขยายระดับการศึกษานักธรรมให้ทั่วถึงสำหรับการศึกษาของพระภิกษุในทุกระดับ คือกำหนดหลักสูตร นักธรรมชั้นโท สำหรับพระภิกษุชั้นมัชฌิมะ คือพระที่มีพรรษาเกิน 5 แต่ไม่ถึง 10 และ นักธรรมชั้นเอก สำหรับภิกษุชั้นเถระ คือพระที่มีพรรษา 10 ขึ้นไป และเป็นหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานของคณะสงฆ์มาจนถึงปัจจุบัน[3]
เนื่องจากการศึกษานักธรรมเริ่มเป็นที่นิยมทั้งในคณะสงฆ์และในหมู่ข้าราชการ ซึ่งผู้ที่สอบได้ประโยคนักธรรมนั้นเมื่อลาสิกขาออกไปสามารถรับราชการครูได้ตามโรงเรียนต่าง ๆ ของรัฐ และสามารถได้สิทธิพิเศษในการสอบเลื่อนวิทยฐานะครูไม่ต้องสอบ 1 ชุดวิชา เนื่องจากประโยคนักธรรมชั้นตรีถือเป็นอีกชุดวิชาในการสอบเลื่อนวิทยฐานะ ทำให้ในสมัยพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าได้พิจารณาให้อนุญาตให้ฆราวาส คือครูทั้งหญิงและชายสามารถร่วมสอบประโยคนักธรรมชั้นตรีในสนามหลวงได้ ผ่านการตั้งหลักสูตรสำหรับฆราวาสชื่อว่า "ธรรมศึกษาตรี" มีรายละเอียดเชี่ยนเดียวกับหลักสูตรนักธรรมชั้นตรี ยกเว้นวิชาวินัยบัญญัติ ได้เปลี่ยนไปใช้เนื้อหาเบญจศีล เบญจธรรม และอุโบสถศีลแทนทีพระธรรมวินัยของภิกษุสงฆ์ โดยธรรมศึกษาตรีเปิดสอบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2472[3] และได้รับความสนใจจากฆราวาสร่วมสอบเป็นจำนวนมาก[3]
จากผลตอบรับในการร่วมสอบธรรมศึกษาตรี ในปี พ.ศ. 2473 จึงได้มีการจัดตั้งหลักสูตร "ธรรมศึกษาโท" ขึ้นมา เพื่อขยายระดับการศึกษาของฆราวาสที่สนใจการศึกษานักธรรมซึ่งช่วยส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนาให้กว้างขวาง โดยประกอบด้วย 3 วิชาที่ต้องสอบเช่นเดียวกับนักธรรมชั้นโท ยกเว้นวิชาวินัยบัญญัติ โดยเริ่มสอบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2473[3]
คณะสงฆ์ได้จัดตั้งหลักสูตร "ธรรมศึกษาเอก" และเปิดให้ฆราวาสร่วมสอบในปี พ.ศ. 2478 โดยประกอบไปด้วย 3 วิชา เช่นเดียวกับนักธรรมชั้นเอก ยกเว้นวิชาวินัยบัญญัติ[3]
การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในด้านพระธรรมวินัยได้มีการพัฒนามาตามลำดับนับตั้งแต่การเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2455 เพื่อให้พระภิกษุสามเณรมีความรู้ในพระธรรมคำสอน เป็นศาสนทายาทในการสืบทอดคำสอนอย่างมีคุณภาพ โดยนับเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานของภิกษุสามเณรควบคู่ไปกับการศึกษาพระปริญัติธรรมแผนกบาลีตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงสามารถเผยแผ่ไปยังฆราวาสซึ่งเป็นหนึ่งในพุทธบริษัทซึ่งสนใจในพระธรรมวินัย ซึ่งมีประโยชน์ต่อการดำรงรักษาพระพุทธศาสนาในอีกทาง[3]
รายชื่อแม่กองธรรมสนามหลวง
แก้ลำดับที่ | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | พระศาสนโศภน (แจ่ม จตฺตสลฺโล) | พ.ศ. 2470 | พ.ศ. 2484 |
2 | พระศรีสมโพธิ (เกษม ภทฺทธมฺโม) | พ.ศ. 2486 | พ.ศ. 2488 |
3 | พระศรีสุธรรมมุนี (อาจ อาสโภ) | พ.ศ. 2488 | พ.ศ. 2491 |
4 | พระพิมลธรรม (ชอบ อนุจารี) | พ.ศ. 2491 | พ.ศ. 2503 |
5 | สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสาโร) | พ.ศ. 2503 | พ.ศ. 2532 |
6 | พระสุธรรมาธิบดี (เพิ่ม อาภาโค) | พ.ศ. 2532 | พ.ศ. 2542 |
7 | สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) | พ.ศ. 2542 | พ.ศ. 2559 |
8 | สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สุชิน อคฺคชิโน) | พ.ศ. 2559 | ปัจจุบัน |
การจัดการศึกษาในปัจจุบัน
แก้หลักสูตรนักธรรม (ภิกษุสามเณร)
แก้หลักสูตรนักธรรม เป็นหลักสูตรที่เปิดให้มีการเรียนการสอนเฉพาะนักบวชของศาสนาพุทธ คือ ภิกษุ และสามเณร[3]
นักธรรมชั้นตรี
แก้นักธรรมชั้นตรี ประกอบด้วย
- การเรียงความแก้กระทู้ธรรม ใช้หนังสือ พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม 1
- ธรรมวิภาค ใช้หนังสือ ธรรมวิภาค เล่ม 1 และหนังสือ นวโกวาท
- พุทธประวัติ ใช้หนังสือพุทธประวัติ และปฐมสมโพธิกถา
- วินัยบัญญัติ ใช้หนังสือ วินัยมุข เล่ม 1 และหนังสือนวโกวาท
- ศาสนพิธี ใช้หนังสือ ศาสนพิธี เล่ม 1[4]
นักธรรมชั้นโท
แก้นักธรรมชั้นโท[3] ประกอบด้วย
- การเรียงความแก้กระทู้ธรรม โดยใช้หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต กำหนดหัวข้อต่างกัน 2 หัวข้อ และเชื่อมโยงกันเป็นทำนองเทศน์ โดยอ้างอิงจากภาษิตอื่นจากอีก 2 แห่งห้ามซ้ำกัน
- ธรรมวิภาค โดยใช้หนังสือธรรมวิภาค ปริจเฉทที่ 2
- ตำนาน (อนุพุทธประวัติ) โดยใช้หนังสืออนุพุทธประวัติ, หนังสือพุทธานุพุทธประวัติ (เฉพาะประวัติพระสาวก), หนังสือสังคีติกถา และหนังสือปฐมสมโพธิ
- วินัยบัญญัติ ใช้หนังสือวินัยมุข เล่ม 12
- ศาสนพิธี สำหรับชั้นโท[4]
นักธรรมชั้นเอก
แก้นักธรรมชั้นเอก[3] ประกอบด้วย
- การเรียงความแก้กระทู้ธรรม โดยใช้หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต และหนังสือธรรมอื่น เช่น มงคลวิเสสกถา กำหนดหัวข้อต่างกัน 3 หัวข้อ และเชื่อมโยงกันเป็นทำนองเทศน์ โดยอ้างอิงจากภาษิตอื่นจากอีก 3 แห่งห้ามซ้ำกัน
- ธรรมวิภาค โดยใช้หนังสือธรรมวิจารณ, หนังสือสมถกรรมาน, หนังสือมหาสิตปัฎฐานสูตร และคิริมานนทสูตร
- ตำนาน (พุทธานุพุทธประวัติ) โดยใช้หนังสือพุทธประวัติ เล่ม 1-3 หนังสือปฐมสมโพธิ, หนังสือพุทธานุพุทธประวัติ, หนังสืออนุพุทธประวัติ และหนังสือสังคีติกถา
- วินัยบัญญัติ โดยใช้หนังสือวินัยมุข เล่ม 3[5]
หลักสูตรธรรมศึกษา (คฤหัสถ์)
แก้หลักสูตรธรรมศึกษา เป็นหลักสูตรที่เปิดให้มีการเรียนการสอนในส่วนของคฤหัสถ์หรือฆราวาส ที่มีความสนในในพระพุทธศาสนาและพระธรรมวินัย[3]
ธรรมศึกษาตรี
แก้ธรรมศึกษาตรี ประกอบด้วย
- การเรียงความแก้กระทู้ธรรม ใช้หนังสือ พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม 1
- ธรรมวิภาค ใช้หนังสือ ธรรมวิภาค เล่ม 1 และหนังสือ นวโกวาท
- พุทธประวัติ ใช้หนังสือพุทธประวัติ และปฐมสมโพธิกถา
- วินัยบัญญัติ ใช้เนื้อหาเบญจศีล เบญจธรรม และอุโบสถศีล
- ศาสนพิธี สำหรับชั้นตรี[4]
ธรรมศึกษาโท
แก้ธรรมศึกษาโท ประกอบด้วย
- การเรียงความแก้กระทู้ธรรม โดยใช้หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต กำหนดหัวข้อต่างกัน 2 หัวข้อ และเชื่อมโยงกันเป็นทำนองเทศน์ โดยอ้างอิงจากภาษิตอื่นจากอีก 2 แห่งห้ามซ้ำกัน
- ธรรมวิภาค (วิชาธรรม)[4] โดยใช้หนังสือธรรมวิภาค ปริจเฉทที่ 2
- ตำนาน (อนุพุทธประวัติ) โดยใช้หนังสืออนุพุทธประวัติ, หนังสือพุทธานุพุทธประวัติ (เฉพาะประวัติพระสาวก), หนังสือสังคีติกถา และหนังสือปฐมสมโพธิ
- วินัยบัญญัติ อุโบสถศีล สำหรับชั้นโท[4]
- ศาสนพิธี สำหรับชั้นโท[4]
ธรรมศึกษาเอก
แก้ธรรมศึกษาเอก ประกอบด้วย
- การเรียงความแก้กระทู้ธรรม โดยใช้หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต และหนังสือธรรมอื่น เช่น มงคลวิเสสกถา กำหนดหัวข้อต่างกัน 3 หัวข้อ และเชื่อมโยงกันเป็นทำนองเทศน์ โดยอ้างอิงจากภาษิตอื่นจากอีก 3 แห่งห้ามซ้ำกัน
- ธรรมวิภาค (วิชาธรรม)[4] โดยใช้หนังสือธรรมวิจารณ, หนังสือสมถกรรมาน, หนังสือมหาสิตปัฎฐานสูตร และคิริมานนทสูตร
- ตำนาน (พุทธานุพุทธประวัติ) โดยใช้หนังสือพุทธประวัติ เล่ม 1-3 หนังสือปฐมสมโพธิ, หนังสือพุทธานุพุทธประวัติ, หนังสืออนุพุทธประวัติ และหนังสือสังคีติกถา
- วินัยบัญญัติ อุโบสถ สำหรับชั้นเอก[4]
การสอบธรรมสนามหลวง
แก้การสอบธรรมและธรรมศึกษาในสนามหลวง หมายถึง การสอบไล่เพื่อวัดผลธรรมและธรรมศึกษาเพื่อเลื่อนชั้นประจำปีของชาติ พระสงฆ์เจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวงมีหน้าที่วางแผน, ประเมินและดำเนินการเพื่อให้การศึกษาของสงฆ์ตามหลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษาของชาติมีประสิทธิภาพและคุณภาพ[6]
วันสอบธรรม
แก้การกำหนดวันสอบนักธรรมนั้น แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
- ช่วงที่ 1 นักธรรมชั้นตรี : กำหนดสอบตรงกับ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 11 ถึง ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 11 ตามปฏิทินจันทรคติของทุกปี
- ช่วงที่ 2 นักธรรมชั้นโท - เอก : กำหนดสอบตรงกับ แรม 2 ค่ำ เดือน 12 ถึง แรม 5 ค่ำ เดือน 12
ส่วน ธรรมศึกษา : กำหนดสอบ ประมาณ แรม 7 ค่ำ เดือน 12
การจัดสอบธรรม
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การสอบไล่นักธรรม
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การสอบไล่ธรรมศึกษา
แก้สำหรับการสอบไล่ธรรมศึกษานั้น จะเปิดให้มีการสอบตามสนามสอบต่าง ๆ ที่ได้กำหนดขึ้น เช่น ที่โรงเรียนพระปริยัติธรรมของวัดต่าง ๆ[7] ,สถานศึกษาสำหรับโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และองค์กรต่าง ๆ ที่สนใจ ซึ่งจะสังกัดตามสำนักเรียนของวัดต่าง ๆ โดยหนึ่งสำนักเรียนอาจจะมีสนามสอบหลายแห่งได้ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้เข้าสอบ[8]
การจัดสอบธรรมในต่างประเทศ
แก้สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง ได้จัดให้มีการสอบธรรมสนามหลวงในต่างประเทศด้วย อาทิ ในประเทศสหรัฐ, ประเทศออสเตรเลีย, ประเทศนิวซีแลนด์ และไต้หวัน โดยมีผู้เข้ารับการสอบทั้งชาวไทยในต่างประเทศ และชาวต่างประเทศที่สนใจในพระพุทธศาสนา[9] ซึ่งมหาเถรสมาคมได้มีมติแต่งตั้งผู้แทนแม่กองธรรมเพื่อไปควบคุมการจัดสอบในต่างประเทศ[10]
ที่ตั้งสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง
แก้สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง ตั้งอยู่หน้าวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
อ้างอิง
แก้- ↑ Curriculum of Dhamma Studies for Elementary Level (PDF). Royal Dhamma Studies Office. 2009. ISBN 9789743999673.
- ↑ หลักสูตรการศึกษาแผนกธรรม
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 "ประวัตินักธรรม - สนง.แม่กองธรรมสนามหลวง". www.gongtham.net.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 pariyat (2021-10-28). "หลักสูตรนักธรรม-ธรรมศึกษา". www.pariyat.com.
- ↑ หลักสูตรนักธรรมและเปรียญสำหรับใช้ในการศึกษาและสอบไล่ธรรมวินัยของพระภิกษุสามเณร. พระยาภักดีนฤเบศร์ รวบรวม ฉบับพิมพ์ครั้งแรก, พ.ศ. 2469. หน้า ก-ข.
- ↑ ประกาศผลสอบแผนกธรรม
- ↑ pariyat (2021-10-28). "หลักสูตรนักธรรม-ธรรมศึกษา". www.pariyat.com.
- ↑ "สนามสอบ นักธรรม-ธรรมศึกษา". dhammastudy.org.
- ↑ "มหาเถรสมาคม The Sangha Supreme Council of Thailand". www.mahathera.org.
- ↑ "การสอบ ธรรมสนามหลวงต่างประเทศ เริ่มเดือน มี.ค." posttoday. 2019-02-24.
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ประวัติการศึกษาแผนกธรรม
- ทำเนียบแม่กองธรรมสนามหลวง
- ข้อมูลนักธรรม ธรรมศึกษา บาลีประโยค1-2 ถึง 9 เพื่อการศึกษาพระปริยัติธรรม.จากบาลีดอตเน็ต
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์