พระราชธรรมนิเทศ (เพียร ไตติลานนท์)

อำมาตย์เอก พระราชธรรมนิเทศ นามเดิม เพียร ราชธรรมนิเทศ (สกุลเดิม ไตติลานนท์; 31 ธันวาคม พ.ศ. 2434 – 12 สิงหาคม พ.ศ. 2508) อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย 1 สมัย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี 2 สมัย

พระราชธรรมนิเทศ
(เพียร ราชธรรมนิเทศ)
ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย
ดำรงตำแหน่ง
15 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
ก่อนหน้าเกษม บุญศรี
ถัดไปพระประจนปัจจนึก (พุก มหาดิลก)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด31 ธันวาคม พ.ศ. 2434
จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศสยาม
เสียชีวิต12 สิงหาคม พ.ศ. 2508 (73 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
คู่สมรสอั้น ราชธรรมนิเทศ
บุตร7 คน

พระราชธรรมนิเทศ ลาออกจากบรรดาศักดิ์ เมื่อปี พ.ศ. 2485[1]

ประวัติ

แก้

พระราชธรรมนิเทศ (เพียร ราชธรรมนิเทศ) เกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2434 ที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรของนายเปลี่ยน และนางจัน ไตติลานนท์ เข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดทรงธรรม พระประแดง และโรงเรียนฝึกหัดครู บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้รับทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ

รับราชการ

แก้

ต่อมาได้รับราชการเป็น ผู้บังคับการโรงเรียนราชวิทยาลัย และเป็นเลขานุการประจำพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในสมัยรัชกาลที่ 7 เคยเป็นรองอธิบดีกรมโฆษณาการ และอธิบดีกรมธรรมการ[2]

งานการเมือง

แก้

พระราชธรรมนิเทศเป็นผู้มีบทบาทด้านการเมืองในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เคยเป็นคณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมไทย ที่แก้ไขปรับปรุงภาษาไทย และชำระปทานุกรมแห่งราชบัณฑิตยสถาน ในการปรับปรุงอักษรไทย เมื่อ ปี พ.ศ. 2485 ให้เหลือเพียง 31 ตัว โดยมี พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)เป็นประธาน จนได้ชื่อว่าเป็น 1 ใน 4 ปุโรหิตประจำตัวของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม คือ ยง เถียร เพียร นวล อันได้แก่ ยง (พระยาอนุมานราชธน) เถียร (หลวงวิเชียรแพทยาคม) เพียร (พระราชธรรมนิเทศ) นวล (หลวงสารานุประพันธ์)[3]

พระราชธรรมนิเทศได้รับการเลือกให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2491 และได้รับเลือกตั้งเรื่อยมา รวม 2 สมัย อีกทั้งยังได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร 1 สมัย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

พระราชธรรมนิเทศ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491 จังหวัดปทุมธานี
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 จังหวัดปทุมธานี

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

แก้

พระราชธรรมนิเทศ ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย[4] คือ

  1. ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 6

ยศและบรรดาศักดิ์

แก้
  • – หุ้มแพร
  • 8 พฤศจิกายน 2458 – นายหมู่ตรี[5]
  • 10 พฤศจิกายน 2458 – หลวงอภิบาลบุริมศักดิ์ ถือศักดินา 400[6]
  • 27 กุมภาพันธ์ 2458 – นายหมู่เอก[7]
  • 21 สิงหาคม 2460 – จ่า[8]
  • 26 กุมภาพันธ์ 2461 – นายหมวดเอก[9]
  • 2 พฤศจิกายน 2462 – พระราชธรรมนิเทศ ถือศักดินา 600[10]
  • 28 ธันวาคม 2463 – เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์[11]
  • 1 มกราคม 2463 – รองหัวหมื่น[12]
  • – เสวกเอก
  • 18 มิถุนายน 2469 – อำมาตย์เอก[13]

ตำแหน่ง

แก้
  • – ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
  • 8 มีนาคม 2459 – รักษาราชการแทนอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง[14]
  • – อาจารย์ใหญ่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง
  • 26 มีนาคม 2460 – ปลัดกรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์[15]

อนิจกรรม

แก้

พระราชธรรมนิเทศ ป่วยเป็นความดันโลหิตสูง ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2499 ได้เข้ารับการรักษาพยาบาล ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แล้วกลับมารักษาตัวที่บ้าน ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2508 ด้วยโรคปอดบวม รวมอายุได้ 73 ปี 8 เดือน[16] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2509 ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์
  2. คนไทยผู้ถ่ายทอดหัวใจฝรั่ง จากไทยรัฐออนไลน์. 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556.
  3. ครูชอุ่ม ปัญจพรรค์ (11) : เพลงเกี่ยวกับวัฒนธรรม เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ manager.co.th
  4. การเมืองไทย เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ kpi100.playwebagency.com
  5. พระราชทานยศเสือป่า
  6. พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  7. พระราชทานยศเสือป่า
  8. ประกาศกรมบัญชาการสภาจางวางมหาดเล็ก
  9. พระราชทานยศเสือป่า
  10. พระราชทานบรรดาศักดิ์
  11. รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  12. พระราชทานยศ
  13. พระราชทานยศทหารเรือ
  14. ประกาศกรมมหาดเล็ก
  15. ประกาศกรมมหาดเล็ก
  16. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระราชธรรมนิเทศ (เพียร ราชธรรมนิเทศ) ป.ช., ป.ม.[ลิงก์เสีย]
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๘ ตอนที่ ๗๔ ง หน้า ๕๖๕๓, ๑๑ ธันวาคม ๒๔๙๔
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๒๓ ง หน้า ๑๗๐๑, ๒๕ เมษายน ๒๔๙๓
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2022-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๑๗, ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๐
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๔๙, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
  21. พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน (หน้า 2612)
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๘๗, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
  23. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๗๒๑, ๒๓ มีนาคม ๒๔๗๓
  24. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า 3491)