เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน
เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน (12 มิถุนายน พ.ศ. 2454 - 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508) อดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน[1] 2 สมัย ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2481
วรทัศน์ ณ ลำพูน | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 19 กันยายน พ.ศ. 2488 – 31 มกราคม พ.ศ. 2489 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 มิถุนายน พ.ศ. 2454 จังหวัดลำพูน |
เสียชีวิต | 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 (53 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ |
คู่สมรส | นางเทวี ณ ลำพูน |
เจ้านายฝ่ายเหนือ | |
ประวัติ
แก้เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน สูติวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2454 เป็นราชโอรสองค์เดียวในเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย ที่ประสูติแต่แม่เจ้าแขกแก้ว จักรคำขจรศักดิ์[2] และมีพี่น้องต่างมารดา ได้แก่
- เจ้าลำเจียก ณ ลำพูน
- เจ้าวรรณรา ณ ลำพูน
- เจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน
- เจ้ารัทธาธร ณ ลำพูน
- เจ้าประกายคำ ณ ลำพูน
- เจ้าสุริยา ณ ลำพูน
- เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน
- เจ้าพัฒนา ณ ลำพูน
ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับนางเทวี ณ ลำพูน (สกุลเดิม วัฒนะทัสสี) มีบุตร 2 คน คือ เจ้าหญิงวรเทวี (ณ ลำพูน) ชลวณิช และเจ้าวีรทัศน์ ณ ลำพูน
การศึกษา
แก้เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน และไปศึกษาต่อที่โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อแผนกธรรมศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[3]
บทบาททางการเมือง
แก้เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2481 และได้รับเลือกอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ไม่สังกัดพรรค
เจ้าวรทัศน์ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2488[4] - 31 มกราคม พ.ศ. 2489[5] ในยุคหลังเลิกสงครามมหาเอเชียบูรพา[3]
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508
ราชตระกูล
แก้พงศาวลีของเจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2484 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
- ↑ http://www.chiangmai-thailand.net/lanna_city/lumpoon/ratchawong.html
- ↑ 3.0 3.1 ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ 2) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, 2538.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 13 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2010-08-10.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๓๘, ๑๖ กันยายน ๒๔๘๔