หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์
รองอำมาตย์เอก หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ (6 กันยายน พ.ศ. 2443 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2525) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[1] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์[2] กระทรวงคมนาคม[3] และกระทรวงอุตสาหกรรม และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2[4]
รองอำมาตย์เอก หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ | |
---|---|
หม่อมหลวงอุดมในปี พ.ศ. 2489 | |
เกิด | 6 กันยายน พ.ศ. 2443 อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย จังหวัดพระนคร |
เสียชีวิต | 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 (81 ปี) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร |
อาชีพ | นักการเมือง |
มีชื่อเสียงจาก | คณะราษฎร |
คู่สมรส | บุญยิ่ง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา |
บุตร | 3 คน |
หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ เป็นบุตรของเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) กับท่านผู้หญิงวงศานุประพัทธ์ (ตาด สิงหเสนี)[5] เกิดที่วังพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ตำบลป้อมปราบศัตรูพ่าย อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย จังหวัดพระนคร เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2443 มีพี่น้องร่วมบิดา ดังนี้
- หม่อมหลวงชื่น สนิทวงศ์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
- หลวงจรูญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์) (18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438 – 30 มีนาคม พ.ศ. 2473)
- หม่อมหลวงจรัญ สนิทวงศ์ (7 มกราคม พ.ศ. 2440 – 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2501)
- หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ (18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2441 – 8 กันยายน พ.ศ. 2518)
- หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์
- หม่อมหลวงแส กฤดากร (24 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 – 25 สิงหาคม พ.ศ. 2523)
- หม่อมหลวงสงบ สนิทวงศ์ (ถึงแก่กรรมแต่เยาว์วัย)
- นายแพทย์ หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ (พ.ศ. 2452 – พ.ศ. 2538)
- หม่อมหลวงบัว กิติยากร (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 − 19 กันยายน พ.ศ. 2542; พระราชชนนีในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)
- พลโท นายแพทย์ หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ (26 สิงหาคม พ.ศ. 2459 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2530)
- หม่อมหลวงทัยเกษม สนิทวงศ์ (28 มกราคม พ.ศ. 2463 – 4 เมษายน พ.ศ. 2536)
- ท่านหู้หญิง หม่อมหลวงมณีรัตน์ บุนนาค (23 กันยายน พ.ศ. 2465 – 23 เมษายน พ.ศ. 2543)
- หม่อมหลวงกมล สนิทวงศ์ (พ.ศ. 2468 – 14 ธันวาคม พ.ศ. 2561)
- ท่านผู้หญิง หม่อมหลวงสารภี มิ่งเมือง
เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2452[6]
หม่อมหลวงอุดม สมรสกับ Pia Miggie Alder ระหว่างศึกษาอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ต่อมาหลังจากหย่าขาดกับ Pia Miggie Alder ได้ทำการสมรสกับหม่อมหลวงนวม สนิทวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2482
หม่อมหลวงอุดมมีบุตรธิดากับบุญยิ่ง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม วิมลสูตร) 3 คน คือ
- นายแพทย์สมภพ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา สมรสกับศรีนวล สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม จรัสศิลป์) มีบุตรคือ ชนกนันท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- พลตำรวจโทณัฐพิชย์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา สมรสกับวรัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม จิตต์จำนงค์) มีบุตรคือ วรุตม์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- อมรยุพา ไกรลาศศิริ สมรสกับนายแพทย์วันชัย ไกรลาศศิริ
หม่อมหลวงอุดม ยังเป็นสมาชิกวงลายคราม ในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[7]
หม่อมหลวงอุดมได้ป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง เป็นสาเหตุให้สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง และต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์เป็นประจำเสมอมา กระทั่งวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 หม่อมหลวงอุดมเกิดมีโรคแทรกซ้อน(ปอดบวม)จึงได้รับการรักษาในห้องไอซียู ตึกอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แต่อาการไม่ดีขึ้น และได้ถึงแก่กรรมเมื่อเช้าวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 เวลา 05.30 น. สิริอายุ 81 ปี 10 เดือน 6 วัน [8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2519 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)[9]
- พ.ศ. 2462 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 6 เหรียญทองช้างเผือก (ร.ท.ช.)[10]
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของหม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
- ↑ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2
- ↑ อรวรรณ ทรัพย์พลอย. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ปราชญ์ผู้เป็นกำลังของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2552. 352 หน้า. ISBN 978-974-341-578-4
- ↑ "ทำเนียบศิษย์เก่าเทพศิรินทร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-10. สืบค้นเมื่อ 2009-03-18.
- ↑ กำเนิดวงดนตรีกิตติมศักดิ์ : ลายคราม เก็บถาวร 2008-09-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- ↑ หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์. [ม.ป.ท.] : ม.ป.พ., 2525. 126 หน้า.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เล่ม 93 ตอนที่ 80 วันที่ 1 มิถุนายน 2519
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์