ฟอง สิทธิธรรม เป็นอดีตรัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวง ในรัฐบาลของนาย ควง อภัยวงศ์ 2 สมัย เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี 7 สมัย เป็นหนึ่งในสมาชิกกบฏแบ่งแยกดินแดน[1]

ฟอง สิทธิธรรม
รัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
21 กุมภาพันธ์ – 8 เมษายน พ.ศ. 2491
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
ดำรงตำแหน่ง
2 กุมภาพันธ์ – 24 มีนาคม พ.ศ. 2489
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 ตุลาคม พ.ศ. 2447
อำเภอเกษมสีมา (ปัจจุบันคือ อำเภอม่วงสามสิบ) จังหวัดอุบลราชธานี
เสียชีวิต28 มิถุนายน พ.ศ. 2524 (76 ปี)
พรรคการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
พรรคแนวประชาธิปไตย
คู่สมรสนางจันทร์มี สิทธิธรรม

ประวัติ

แก้

ฟอง สิทธิธรรม เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จากนั้นไปเรียนต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยจนจบชั้น ม.8 จากนั้นได้เรียนต่อจนจบวิชาครู ป.ม. หลังจบการศึกษานายฟอง ได้เข้ารับราชการครูที่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช และต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นครูใหญ่โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย ในระหว่างปี พ.ศ. 2478 - 2479 และในปีนั้นเองเขาได้เปลี่ยนเส้นทางการทำงานโดยการสอบเป็นจ่าศาลสวรรคโลก ได้เพียงปีเดียวก็ลาออกจากราชการ เพื่อทำงานการเมือง

ฟอง สิทธิธรรม ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานีครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2480 และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องในการเลือกตั้งอีก 3 ครั้งต่อมา คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2481 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491

ในปี พ.ศ. 2489 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลของนาย ควง อภัยวงศ์[2] และเป็นรัฐมนตรีอีกครั้งในปี พ.ศ. 2491

ในปี พ.ศ. 2491 เขาถูกกล่าวหาว่ารวมกันดำเนินการฝึกอาวุธ เพื่อแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานออกจากประเทศไทย พร้อมกับ ส.ส.อีสานหลายคน เช่น นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายถวิล อุดล นายเตียง ศิริขันธ์ แต่ทั้งหมดไม่ถูกดำเนินคดี เนื่องจากไม่มีหลักฐาน ซึ่งนำไปสู่คดีฆ่า 4 อดีตรัฐมนตรี พ.ศ. 2492[3]

ฟอง สิทธิธรรม กลับมาได้รับเลือกตั้งอีก 3 ครั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 สังกัดพรรคแนวประชาธิปไตย

ฟอง สิทธิธรรม เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนสิทธิธรรมศาสตร์ศิลป์[4] ซึ่งในปี พ.ศ. 2517 มีการจัดตั้งพรรคสังคมประชาธรรม ขึ้น และใช้โรงเรียนแห่งนี้เป็นสำนักงานของพรรค[5]

บั้นปลายชีวิตนายฟอง ได้อุปสมบทในพระพุทธศาสนา โดยมีฉายาว่า "ชินภูมิปตฺถโน ภิกขุ" และมรณภาพในปี พ.ศ. 2524[4][6]

นายฟอง สิทธิธรรม มีบุตรชายได้แก่ นายยิ่ง สิทธิธรรม เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 10 และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ด้านบุตรสาวนายยิ่ง สิทธิธรรม นางสาว สาวิตรี สิทธิธรรม เป็นอดีตนายกเทศมนตรีตำบลอุบล

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. กจช. ก/ป 7/2491/8 ข อ้างถึงใน ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์, การรวมกลุ่มทางการเมืองของ ส.ส.อีสาน พ.ศ. 2476–2494 (กรุงเทพฯ: มติชน, 2546), หน้า 448.
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๑ ราย)
  3. ประสมศักดิ์ ทวีชาติ (ป.ทวีชาติ). รัฐตำรวจยุคอัศวินผยอง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วันชนะ, พ.ศ. 2545. 304 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-90614-5-4
  4. 4.0 4.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ประวัติครู
  5. "มีการจัดตั้งพรรคสังคมประชาธรรม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29.
  6. อนุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพ ชินภูมิปตฺถโน ภิกขุ (อดีตรัฐมนตรี ฟอง สิทธิธรรม) วันเสาร์ ที่ 20 มีนาคม 2525. [s.n.] , โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๖๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๓๗, ๑๖ กันยายน ๒๔๘๔