พระยาศรีธรรมราช (ทองคำ กาญจนโชติ)
มหาอำมาตย์ตรี[2] พระยาศรีธรรมราช (ทองคำ กาญจนโชติ)[3] (18 กันยายน พ.ศ. 2427 - 16 มกราคม พ.ศ. 2497) อดีตสมุหเทศาภิบาลจังหวัดสงขลา อดีตกรรมการองคมนตรี และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา 1 สมัย
พระยาศรีธรรมราช (ทองคำ กาญจนโชติ) | |
---|---|
กรรมการองคมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 3 เมษายน 2471 – 31 มีนาคม 2474 | |
สมุหเทศาภิบาลจังหวัดสงขลา | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2470 – พ.ศ. 2476 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 กันยายน พ.ศ. 2427 อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
เสียชีวิต | 16 มกราคม พ.ศ. 2497 (69 ปี)[1] |
ประวัติ
แก้พระยาศรีธรรมราช (ทองคำ กาญจนโชติ) เกิดเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2427
พระยาศรีธรรมราช (ทองคำ กาญจนโชติ) เสียชีวิต เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2497 สิริอายุ 69 ปี
การทำงาน
แก้พระยาศรีธรรมราช (ทองคำ กาญจนโชติ) เคยดำรงตำแหน่งเป็น สมุหเทศาภิบาลจังหวัดสงขลา ในช่วง พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2476[4]
งานการเมือง
แก้พระยาศรีธรรมราช (ทองคำ กาญจนโชติ) ลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2481 และได้รับเลือกตั้งในครั้งแรก และครั้งเดียว[5]
พระยาศรีธรรมราช (ทองคำ กาญจนโชติ) ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีไม่ประจำกระทรวง เมื่อ พ.ศ. 2487 ในรัฐบาลพันตรีควง อภัยวงศ์ (ครม.11)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้พระยาศรีธรรมราช (ทองคำ กาญจนโชติ) ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2472 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[6]
- พ.ศ. 2470 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[7]
- พ.ศ. 2463 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[8]
- พ.ศ. 2470 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[9]
- พ.ศ. 2458 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 4 (ว.ป.ร.4)[10]
- พ.ศ. 2476 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ หนังสืออนุสรณ์งานศพ พระยาศรีธรรมราช (ทองคำ กาญจนโชติ)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๕, ๔ เมษายน ๒๔๗๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๑๐, ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๗๐
- ↑ "รายนามผู้บริหารจังหวัดสงขลาในอดีต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-03. สืบค้นเมื่อ 2013-09-14.
- ↑ สมุดภาพสมาชิกรัฐสภา ๒๔๗๕ - ๒๕๐๒. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2502
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้าและฝ่ายใน, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๓๒, ๑ ธันวาคม ๒๔๗๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ เก็บถาวร 2017-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๗๖, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๗๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๒๒๗, ๒๗ มีนาคม ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๘๖๗, ๔ มีนาคม ๒๔๗๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๑๙, ๑ สิงหาคม ๒๔๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๕๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๖๙, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๖