จังหวัดสวรรคโลก

จังหวัดสวรรคโลก เป็นอดีตจังหวัดหนึ่งของไทย ตั้งอยู่บริเวณภูมิภาคกลางตอนบน เดิมมีอาณาเขตพื้นที่บริเวณด้านเหนือของจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน ได้แก่ อำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอกงไกรลาศ และอำเภอศรีนคร

จังหวัดสวรรคโลก
จังหวัด
พ.ศ. 2329 – 2482
ยุคทางประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์
• ก่อตั้ง
พ.ศ. 2329
• เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัด
พ.ศ. 2459
• เปลี่ยนชื่อ
1 เมษายน พ.ศ. 2482
ก่อนหน้า
ถัดไป
เมืองสวรรคโลก (เดิม)
จังหวัดสุโขทัย
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ ไทย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 จังหวัดสุโขทัยถูกยุบเลิกแล้วมาขึ้นการปกครองกับจังหวัดสวรรคโลก

ต่อมาในปี 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อจังหวัดสวรรคโลก เป็นจังหวัดสุโขทัย และเปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมืองสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย เป็นอำเภอสวรรคโลก

พื้นที่อาณาเขตและจังหวัดสุโขทัย แก้

 
แผนที่อาณาเขตของสองจังหวัด ปี 2460 (1.จังหวัดสวรรคโลก 2.จังหวัดสุโขทัย)

จังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน เดิมเคยแบ่งเป็นสองจังหวัดทางด้านเหนือและใต้ ได้แก่

จังหวัดสวรรคโลก มีอาณาเขตพื้นที่บริเวณด้านเหนือของจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน ได้แก่ อำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอทุ่งเสลี่ยม และอำเภอศรีนคร

จังหวัดสุโขทัย มีอาณาเขตพื้นที่บริเวณด้านใต้ของจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน ได้แก่ อำเภอเมืองสุโขทัย อำเภอศรีสำโรง อำเภอคีรีมาศ อำเภอกงไกรลาส และอำเภอบ้านด่านลานหอย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ ยุบรวมบางมณฑลและบางจังหวัด โดยจังหวัดสุโขทัยถูกยุบเลิก มาขึ้นการปกครองกับจังหวัดสวรรคโลก ทำให้มีอาณาเขตทั้งจังหวัดสุโขทัย[1]

ประวัติ แก้

เมืองสวรรคโลก” เดิมตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ส่วนโค้งเว้าของแม่น้ำยมล้อมรอบ เดิมเรียกว่า เมืองเชลียง หรือ เมืองเฉลียง​ (ภาษาขอมโบราณ แปลว่ายื่นเข้าไปในแม่น้ำ ) อยู่ใกล้ๆ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร (วัดพระปรางค์) ต่อมาเกิดปัญหาน้ำเซาะตลิ่งพังทลายลงเรื่อยๆ จึงย้ายเมืองขึ้นไปที่ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยในปัจจุบัน ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยยังเป็นราชธานี มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงในนาม “เมืองศรีสัชนาลัย”

เมื่อปี พ.ศ. 2329 เมืองสวรรคโลกเคยถูกพม่าเข้าตีบ่อยครั้ง เจ้าเมืองสวรรคโลกจึงตัดสินใจย้ายที่ตั้งเมืองมาตั้งอยู่ที่บ้านท่าชัย (ในเขตตำบลศรีสัชนาลัยในปัจจุบัน)

ต่อมาราว พ.ศ. 2379 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เมืองสวรรคโลกมีปลัดปกครองนามว่า “นาค” ได้นำงาช้างเนียมไปถวายพระเจ้าอยู่หัวจนเกิดความดีความชอบขึ้น จึงได้รับการแต่งตั้งเป็น “พระยาสวรรคโลก” มีบรรดาศักดิ์เป็น พระยาวิชิตภักดี ซึ่งก็คือต้นตระกูลวิชิตนาคในปัจจุบัน ได้ใช้บ้านพักหรือจวนที่บ้านวังไม้ขอนเป็นที่ว่าการเมืองสวรรคโลก ดังนั้นเมืองสวรรคโลกจึงย้ายมาจากบ้านท่าชัย มาตั้งรกรากที่เมืองสวรรคโลกใหม่ (สวรรคโลกปัจจุบัน) นับแต่นั้นมา

ปี พ.ศ. 2437 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงยกเลิกระบบกินเมืองและระบบหัวเมืองแบบเก่า และใช้ระบบมณฑลเทศาภิบาลแทน โดยจัดการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นมณฑล เมือง อำเภอ หมู่บ้าน ทำให้สวรรคโลกมีฐานะเป็น เมืองสวรรคโลก ภายใต้การจัดการบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคของ มณฑลพิษณุโลก

หลังปี พ.ศ. 2459 คำว่า "จังหวัด" ได้กลายเป็นคำที่เรียกหน่วยการปกครองระดับต่ำกว่ามณฑลแทนคำว่า "เมือง" เพื่อแยกความกำกวมจากคำว่าเมืองที่ใช้เรียกที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองของจังหวัด (อำเภอเมือง) ทำให้ "เมืองสวรรคโลก" ได้เปลี่ยนเป็น "จังหวัดสวรรคโลก"

วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมือง จังหวัดสวรรคโลก เป็น อำเภอวังไม้ขอน[2]

ยุบรวมจังหวัดสุโขทัยเข้ากับจังหวัดสวรรคโลก แก้

ต่อมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ ยุบรวมบางมณฑลและบางจังหวัด โดยจังหวัดสุโขทัย ถูกยุบเลิกและโอน อำเภอสุโขทัยธานี อำเภอบ้านไกร อำเภอคลองตาล กิ่งอำเภอลานหอย กิ่งอำเภอโตนด มาขึ้นการปกครองกับจังหวัดสวรรคโลก ทำให้จังหวัดสวรรคโลกมีเขตปกครองทั้งหมด 7 อำเภอ ได้แก่[1]

วันที่ 14 มีนาคม 2479 จัดตั้งเทศบาลเมืองสวรรคโลก ในท้องที่บางส่วนของตำบลเมืองสวรรคโลก[3]

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2479 ตั้งตำบลทุ่งเสลี่ยม แยกออกจากตำบลนาทุ่ง[4]

วันที่ 1 เมษายน 2480 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดสวรรคโลก กับจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยโอนพื้นที่หมู่ 1 ตำบลนครเดิฐ อำเภอวังไม้ขอน จังหวัดสวรรคโลก ไปขึ้นกับตำบลวังแดง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์[5]

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2481 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอวังไม้ขอน จังหวัดสวรรคโลก เป็น อำเภอเมืองสวรรคโลก[6]

เปลี่ยนชื่อจังหวัด แก้

วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อจังหวัดสวรรคโลก เป็นจังหวัดสุโขทัย และเปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมืองสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย เป็น อำเภอสวรรคโลก มีการย้ายศาลากลางจังหวัดสวรรคโลกมาตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอสุโขทัยธานี และเป็นวันที่จังหวัดสวรรคโลกหมดสถานะภาพจังหวัด[7]

เหตุการณ์ภายหลัง แก้

ภายหลังได้เคยมีการเสนอให้มีการจัดตั้งจังหวัดสวรรคโลกขึ้นมาอีก โดยแยกออกมาจากจังหวัดสุโขทัย แต่ก็ยังขาดคุณสมบัติบางข้อ เช่น จำนวนประชากร และพื้นที่ แต่อาจมีการเสนอจัดตั้งจังหวัดสวรรคโลกในเงื่อนไขต่างหากด้วยเหตุผลเพื่อฟื้นฟูอดีตจังหวัดที่ถูกยุบโดยขัดต่อพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 7 ซึ่งทำให้เป็นผลเสียตามมาแก่เศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของผู้คนประชาชนในเมืองสวรรคโลกเป็นอย่างมาก เพราะมีการย้ายข้าราชการ ศูนย์ราชการ และศูนย์การศึกษาต่าง ๆ ไปอยู่ที่สุโขทัย ปัจจุบันทำให้เมืองสวรรคโลกขาดแคลนสถานศึกษาชั้นสูง ทั้งวิทยาลัยอาชีวศึกษาพาณิชยการ และวิทยาลัยเทคนิค รวมทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏ และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ

เขตการปกครอง แก้

เขตการปกครองของจังหวัดสวรรคโลกในอดีตมี 2 อำเภอ ซึ่งรายชื่อดังต่อไปนี้สะกดชื่อตามราชกิจจานุเบกษา ฉบับวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460 ได้แก่[8]

  1. อำเภอเมืองสวรรคโลก (อำเภอวังไม้ขอน)
  2. อำเภอด้ง (อำเภอหาดเสี้ยว)

ต่อมา 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 ทางราชการได้โอนย้าย 3 อำเภอและ 2 กิ่งอำเภอจากจังหวัดสุโขทัย มาขึ้นตรงกับจังหวัดสวรรคโลก ส่งผลให้จังหวัดสวรรคโลกมีเขตปกครองทั้งหมด 5 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอได้แก่[9]

  1. อำเภอวังไม้ขอน (อำเภอสวรรคโลก)
  2. อำเภอหาดเสี้ยว (อำเภอศรีสัชนาลัย)
  3. อำเภอบ้านไกร (อำเภอกงไกรลาศ)
  4. อำเภอคลองตาล (อำเภอศรีสำโรง)
  5. อำเภอสุโขทัยธานี
  6. กิ่งอำเภอลานหอย (อำเภอบ้านด่านลานหอย)
  7. กิ่งอำเภอโตนด (อำเภอคีรีมาศ)

มรดกตกทอด แก้

จากการที่อำเภอสวรรคโลกเคยมีธานะเป็นจังหวัดสวรรคโลกมาก่อน ทำให้มีหลายอย่างที่ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน เช่น ศาลจังหวัดสวรรคโลก สำนักงานอัยการจังหวัดสวรรคโลก สถานีรถไฟสวรรคโลก เส้นทางรถไฟสายสวรรคโลก

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 https://www.ratchakitcha.soc.go.th/documents/1089958.pdf
  2. [1] เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ
  3. [2]พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองสวรรคโลก จังหวัดสวรรคโลก พุทธศักราช ๒๔๗๙
  4. [3]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอวังไม้ขอน จังหวัดสวรรคโลก
  5. [4] เก็บถาวร 2012-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๗๙
  6. [5] เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัด และอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๑
  7. [6] เก็บถาวร 2008-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 34–44. 29 เมษายน 1917. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2010-10-01.
  9. https://www.ratchakitcha.soc.go.th/documents/1089958.pdf

แหล่งข้อมูลอื่น แก้