อำเภอศรีสัชนาลัย
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ศรีสัชนาลัย เป็น 1 ใน 9 อำเภอของจังหวัดสุโขทัย โดยเป็นที่ตั้งของอุทยานประวัติศาสตร์และอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย
อำเภอศรีสัชนาลัย | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Si Satchanalai |
พระอาทิตย์ยามเย็น ณ แม่น้ำยม, ศรีสัชนาลัย | |
คำขวัญ: ประเพณีลือก้อง ทองโบราณ ย่านผ้าซิ่น ถิ่นมรดกโลก | |
แผนที่จังหวัดสุโขทัย เน้นอำเภอศรีสัชนาลัย | |
พิกัด: 17°31′2″N 99°45′37″E / 17.51722°N 99.76028°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุโขทัย |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 2,050.511 ตร.กม. (791.707 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 91,301 คน |
• ความหนาแน่น | 44.53 คน/ตร.กม. (115.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 64130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 6405 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอศรีสัชนาลัย หมู่ที่ 1 ถนนพิศาลดำริ ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย 64130 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ประวัติศาสตร์
แก้"เมืองเชลียง" เป็นชื่อดั้งเดิมของเมืองศรีสัชนาลัย (ส่วนทางล้านนาเรียก "เชียงชื่น") ส่วนอำเภอศรีสัชนาลัยนั้น ชื่อเดิมคืออำเภอด้งและอำเภอหาดเสี้ยว ก่อนที่จอมพล แปลก พิบูลสงคราม จะให้นำชื่อเมืองโบราณครั้งสมัยสุโขทัยมาตั้งเป็นชื่ออำเภอโดยตรง เมืองโบราณเป็นที่ราบริมแม่น้ำยม และที่ลาดเชิงเขาพระศรี เขาใหญ่ เขาสุวรรณคีรี และเขาพนมเพลิง ก็เป็นพื้นที่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน เนื่องจากมีแม่น้ำและภูเขาเป็นปราการล้อมรอบ และมีความอุดมสมบูรณ์จากแก่งหลวง แม่น้ำยมและคลองเล็กคลองน้อยที่ไหลเชื่อมโยงในพื้นที่ดังกล่าว จึงทำให้เกิดเป็นชุมชนก่อตัวขึ้นบริเวณนี้และเคยมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมากในอดีต
ดินแดนแห่งนี้เป็นเขตแดนระหว่างอาณาจักรล้านนา กับ อาณาจักรสุโขทัย-สยาม อำเภอแห่งแรกที่นี่ เดิมชื่อ อำเภอด้ง อยู่ในบริเวณ บ้านปลายนา ตำบลบ้านตึก ก่อนจะย้ายมาตั้งที่ว่าการอำเภอตรงบริเวณบ้านป่างิ้ว ตั้งได้ไม่นานนักมีโจรบุกปล้นและเผา จนต้องย้ายมาตั้งตรงบริเวณริมน้ำ ตำบลหาดเสี้ยว และได้เปลี่ยนชื่อ เป็น อำเภอหาดเซี่ยว ภายหลังมีการเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอหาดเสี้ยว ก่อนจะมีการแบ่งพื้นที่ใหม่ และตั้งชื่ออำเภอใหม่ ว่า อำเภอศรีสัชนาลัย
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอศรีสัชนาลัยตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอวังชิ้นและอำเภอเด่นชัย (จังหวัดแพร่)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอลับแลและอำเภอตรอน (จังหวัดอุตรดิตถ์)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอศรีนคร อำเภอสวรรคโลก และอำเภอทุ่งเสลี่ยม
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเถิน (จังหวัดลำปาง)
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอศรีสัชนาลัยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 11 ตำบล 148 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | หาดเสี้ยว | (Hat Siao) | 6 หมู่บ้าน | ||||
2. | ป่างิ้ว | (Pa Ngio) | 12 หมู่บ้าน | ||||
3. | แม่สำ | (Mae Sam) | 14 หมู่บ้าน | ||||
4. | แม่สิน | (Mae Sin) | 25 หมู่บ้าน | ||||
5. | บ้านตึก | (Ban Tuek) | 14 หมู่บ้าน | ||||
6. | หนองอ้อ | (Nong O) | 11 หมู่บ้าน | ||||
7. | ท่าชัย | (Tha Chai) | 12 หมู่บ้าน | ||||
8. | ศรีสัชนาลัย | (Si Satchanalai) | 6 หมู่บ้าน | ||||
9. | ดงคู่ | (Dong Khu) | 9 หมู่บ้าน | ||||
10. | บ้านแก่ง | (Ban Kaeng) | 13 หมู่บ้าน | ||||
11. | สารจิตร | (Sarachit) | 14 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอศรีสัชนาลัยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าชัยและตำบลศรีสัชนาลัยทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลหาดเสี้ยว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหาดเสี้ยวทั้งตำบลและบางส่วนของตำบลหนองอ้อ
- องค์การบริหารส่วนตำบลป่างิ้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่างิ้วทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สำทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สินทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตึก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านตึกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองอ้อ (นอกเขตเทศบาลตำบลหาดเสี้ยว)
- องค์การบริหารส่วนตำบลดงคู่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงคู่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแก่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแก่งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสารจิตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสารจิตรทั้งตำบล
การขนส่ง
แก้อำเภอศรีสัชนาลัยมีถนนสายสำคัญดังนี้
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 102
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1201
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1294
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1404
นอกจากนี้ยังมีโครงการรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ ซึ่งจะผ่านพื้นที่อำเภอศรีสัชนาลัยด้วย
สถานที่สำคัญ
แก้- อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
- อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย
- วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดพระปรางค์)
- วิทยาลัยการอาชีพศรีสัชนาลัย
- เขื่อนท่าแพ
- ต้นสักใหญ่
- อ่างเก็บน้ำแม่สูง
- แก่งหลวง
- วัดชมชื่น
- วัดเจ้าจันทร์
- วัดเชิงคีรี (หลวงพ่อโต)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้