อำเภอศรีนคร
ศรีนคร เป็นอำเภอที่จัดตั้งเป็นลำดับที่ 9 และเป็นอำเภอที่จัดตั้งล่าสุดของจังหวัดสุโขทัย โดยได้ยกระดับเป็นอำเภอศรีนคร เมื่อปี พ.ศ 2524 เป็นอำเภอที่มีประชากรน้อยและมีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดในจังหวัดสุโขทัย
อำเภอศรีนคร | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Si Nakhon |
คำขวัญ: หลวงพ่อหล้าคู่เมือง หลวงพ่อเรืองคู่บ้าน แหล่งน้ำใต้ดิน ถิ่นกำเนิดฝ้าย พืชไร่งดงาม นามศรีนคร สหกรณ์ลือเลื่อง เมืองนครเดิม | |
แผนที่จังหวัดสุโขทัย เน้นอำเภอศรีนคร | |
พิกัด: 17°20′53″N 99°59′27″E / 17.34806°N 99.99083°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุโขทัย |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 199.865 ตร.กม. (77.168 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 25,170 คน |
• ความหนาแน่น | 127.84 คน/ตร.กม. (331.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 64180 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 6408 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอศรีนคร หมู่ที่ 3 ตำบลศรีนคร อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย 64180 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ประวัติศาสตร์
แก้ศรีนครมีอายุทางโบราณคดีสมัยยุคประวัติศาสตร์ตอนปลาย ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่ามีการตั้งชุมชนอยู่บริเวณเขาเขน เขากา ชุมชนบ้านบึงเหนือ เมื่อประมาณ 2,000-2,500 ปีล่วงมาแล้ว พื้นที่ดังกล่าวได้มีการส่งผ่านอารยธรรมของอินเดียซึ่งรุ่งเรืองมากในสมัยนั้น
จากหลักฐานทางโบราณคดีดังกล่าว ย่อมเป็นสิ่งแสดงว่าพื้นที่ที่เป็นอำเภอศรีนครได้ดำรงอยู่อย่างสงบ ร่วมกาลสมัยท่ามกลางนครหรือเมืองที่เลื่องชื่ออันเป็นที่รู้จักทั่วไป เช่น กลุ่มเมืองโบราณ เมืองศรีสัชนาลัย เมืองบางขลัง เมืองพิชัย เป็นต้น "ศรีนคร" แห่งนี้นั้นย่อมได้พ้นผ่านความรุ่งเรือง พานพบความล่มสลาย และแปรเปลี่ยนเวียนผันไปตามกาลสมัย จากนาม "นครเดิฐ" สู่นาม "คลองมะพลับ" และมาเป็นนาม "ศรีนคร" ในที่สุด
เดิมศรีนครเป็นเพียงหมู่บ้านแห่งหนึ่งของตำบลนครเดิฐซึ่งขึ้นตรงกับอำเภอสวรรคโลก และต่อมาในปี พ.ศ. 2501 ได้แบ่งพื้นที่ตำบลนครเดิฐตั้งเป็น ตำบลศรีนคร การขอตั้งอำเภอศรีนครเริ่มเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2519 โดยนายธวัช ชุนนะวรรณ์ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งกำนันตำบลศรีนคร ได้ขอที่ดินนิคมสวรรคโลก 25 ไร่ จัดสร้างบริเวณที่ว่าการอำเภอศรีนครจำนวน 10 ไร่ สถานีตำรวจภูธรอำเภอศรีนครจำนวน 10 ไร่ และสถานที่ราชการอื่น ๆ อีกจำนวน 5 ไร่ อำเภอศรีนครได้แยกตัวออกจากอำเภอสวรรคโลก แต่แรกมีเพียง 2 ตำบล คือ ตำบลศรีนครและตำบลนครเดิฐ โดยมีลำดับการก่อตั้งดังนี้
ที่มาของคำว่า "ศรีนคร" ว่าได้นำมาจากพยางค์แรกของคำว่า "นครเดิฐ" และเติมคำว่า "ศรี" เข้าไปข้างหน้าได้ชื่อใหม่ที่เป็นมงคล[1][2]
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอศรีนครตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอศรีสัชนาลัยและอำเภอตรอน (จังหวัดอุตรดิตถ์)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอตรอนและอำเภอพิชัย (จังหวัดอุตรดิตถ์)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้อำเภอศรีนครมีประชากรทั้งสิ้น 25,170 คน[3] แบ่งเป็นผู้ชาย 12,149 คน กับผู้หญิง 13,021 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตกรรมและพาณิชยกรรม
การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอศรีนครแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 49 หมู่บ้าน
ลำดับที่ | ชื่อ | Name | จำนวนหมู่บ้าน | ||||||
1. | ศรีนคร | (Si Nakhon) | 10 หมู่บ้าน | ||||||
2. | นครเดิฐ | (Nakhon Doet) | 11 หมู่บ้าน | ||||||
3. | น้ำขุม | (Nam Khum) | 10 หมู่บ้าน | ||||||
4. | คลองมะพลับ | (Khlong Maphlap) | 10 หมู่บ้าน | ||||||
5. | หนองบัว | (Nong Bua) | 8 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอศรีนครประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลศรีนคร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลศรีนคร[4][5]
- องค์การบริหารส่วนตำบลศรีนคร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีนคร (นอกเขตเทศบาลตำบลศรีนคร)
- องค์การบริหารส่วนตำบลนครเดิฐ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนครเดิฐทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำขุมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองมะพลับทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวทั้งตำบล
โครงสร้างพื้นฐาน
แก้การคมนาคม
แก้การขนส่งทางถนน มีทางหลวงแผ่นดินสายสำคัญ ได้แก่ หมายเลข 1180, 1255 และ 1318 ส่วนการขนส่งทางราง มีทางรถไฟสายสวรรคโลกซึ่งเป็นสายแยกจากสายเหนือ พาดผ่าน มีสถานีรถไฟประจำอำเภอคือ สถานีรถไฟคลองมะพลับ และการขนส่งทางอากาศ มีท่าอากาศยานสุโขทัยซึ่งอยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 22 กิโลเมตร
เศรษฐกิจ
แก้ประชากรส่วนใหญ่ในอำเภอศรีนคร ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ในอดีตฝ้ายเป็นสินค้าที่สร้างรายได้ให้กับอำเภอศรีนครอย่างมาก ดั่งในคำขวัญประจำอำเภอ "...ถิ่นกำเนิดฝ้าย..." แต่ในปัจจุบันการผลิตฝ้ายนั้นมีกำลังที่ลดลงอย่างมาก เพราะเกษตกรส่วนใหญ่หันไปปลูกพื้นจำพวกอื่น เช่น ข้าว อ้อย
อำเภอศรีนครเป็นที่ตั้งของสหกรณ์ที่สำคัญหลายแห่งของจังหวัด ได้แก่
- สำนักงาน อ.ส.ค. ภาคเหนือตอนล่าง(หนึ่งในโรงงานผลิตนมขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย)
- สหกรณ์การเกษตร ศรีนคร จำกัด
- สหกรณ์นิคมสวรรคโลก จำกัด (ศรีนคร)
สถานที่สำคัญ
แก้- สถานีรถไฟคลองมะพลับ
- วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม พระอารามหลวง (พระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ)
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.amphoe.com/menu.php?mid=1&am=686&pv=64
- ↑ จากคำบอกเล่าของนายธวัช ชุนนะวรรณ์ (อดีตนายกเทศมนตรีตำบลศรีนคร)
- ↑ สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร(รายเดือน) สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง
- ↑ [1]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลคลองมะพลับ อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
- ↑ [2]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อสุขาภิบาลคลองมะพลับ จังหวัดสุโขทัย เป็น สุขาภิบาลศรีนคร จังหวัดสุโขทัย