สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 1

สภานิติบัญญัติสยาม

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 1 (15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2480) เป็นสภาผู้แทนราษฎรชุดแรกของไทย ได้มาจากการแต่งตั้งและเลือกตั้งโดยอ้อม สภาชุดแรกนี้อยู่ทำหน้าที่จนครบวาระ สภาผู้แทนราษฎรไทยชุดถัดไปที่อยู่จนครบวาระโดยไม่ถูกยุบสภาหรือรัฐประหารคือ สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 7 และ 21

สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 1
ชุดชั่วคราว ชุดที่ 2
ภาพรวม
สภานิติบัญญัติสภาผู้แทนราษฎร
เขตอำนาจประเทศสยาม
ที่ประชุมพระที่นั่งอนันตสมาคม
วาระ15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2480
การเลือกตั้งการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2476
รัฐบาลคณะรัฐมนตรีพหลพลพยุหเสนา 2 (2476-2477)
คณะรัฐมนตรีพหลพลพยุหเสนา 3 (2477-2480)
คณะรัฐมนตรีพหลพลพยุหเสนา 4 (2480)
สภาผู้แทนราษฎร
สมาชิก156
ประธานเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
ตั้งแต่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2476
พระยาศรยุทธเสนี
ตั้งแต่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2477
เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ
ตั้งแต่ 22 กันยายน พ.ศ. 2477
พระยามานวราชเสวี
ตั้งแต่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2479
รองประธานคนที่ 1พระยาศรยุทธเสนี
ตั้งแต่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2476
พระเรี่ยมวิรัชชพากย์
ตั้งแต่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2477
พระยามานวราชเสวี
ตั้งแต่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2478
พระประจนปัจจนึก
ตั้งแต่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2479
รองประธานคนที่ 2พระยาเทพหัสดิน
ตั้งแต่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2476
และตั้งแต่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2479
พระประจนปัจจนึก
ตั้งแต่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2477
นายกรัฐมนตรีพระยาพหลพลพยุหเสนา

ที่มา

แก้

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ได้กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกผู้แทนราษฎร 2 ประเภท คือ[1]

  • สมาชิกประเภทที่ 1 มาจากผู้ที่ราษฎรเลือกตั้งขึ้น จำนวนทั้งสิ้น 78 คน
  • สมาชิกประเภทที่ 2 มาจากผู้ที่คณะราษฎรโดยคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารใช้อำนาจแทนแต่งตั้งขึ้น จำนวนทั้งสิ้น 78 คน

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 ได้กระทำระหว่าง 1 ตุลาคม – 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476[2] เป็นการเลือกตั้งทางอ้อม โดยเลือกตั้งผู้แทนตำบลก่อน แล้วผู้แทนตำบลเป็นผู้เลือกผู้แทนราษฎรอีกต่อหนึ่ง เป็นการเลือกตั้งแบบรวมเขต โดยให้แต่ละจังหวัดเลือกตั้งผู้แทนราษฎรหนึ่งคน แต่ถ้ามีพลเมืองมากกว่าหนึ่งแสนให้เลือกตั้งผู้แทนราษฎรเพิ่มอีกหนึ่งคนทุก ๆ หนึ่งแสน[1] ถ้ามีเศษตั้งแต่ห้าหมื่นคนให้นับเป็นหนึ่งแสน การเลือกตั้งในครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก ได้ผู้แทนราษฎรจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ จำนวน 78 คน

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 1 ชุดนี้ สิ้นสุดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2480 เพราะถึงคราวออกตามวาระที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

รายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

ประเภทที่ 1

แก้
  ดำรงตำแหน่งจนครบวาระ
  ออกจากตำแหน่ง

มีรายนามดังนี้

พระนคร

แก้
จังหวัด รายนาม สมาชิกภาพ หมายเหตุ
พระนคร พลโทพระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)  
ไต๋ ปาณิกบุตร  
ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์)  

ธนบุรี

แก้
จังหวัด รายนาม สมาชิกภาพ หมายเหตุ
ธนบุรี ทองอยู่ พุฒพัฒน์  

ภาคกลาง

แก้
จังหวัด รายนาม สมาชิกภาพ หมายเหตุ
กำแพงเพชร ฮั้ว ตามไท  
ชัยนาท ร้อยตรีสอน วงษ์โต  
นครนายก พันเอกพระยาวิเศษสิงหนาท (สาหร่าย รัตกสิกร)  
นครปฐม ดาบเทียม ศรีพิสิฐ  
นครสวรรค์ สวัสดิ์ ยูวะเวส  
นนทบุรี หลวงศรีเขตนคร (ปลื้ม สวนะปรีดี)  
ปทุมธานี ทองกระจาย รัชตะวรรณ  
พระนครศรีอยุธยา เลมียด หงสประภาส  
พิจิตร ขุนคุรุการพิจิตร (เทียม พฤกษะวัน)  
พิษณุโลก ขุนประเจตดรุณพันธ์ (เหล็ง ศุขโรจน์)  
เพชรบูรณ์ ขุนอินทรภักดี (ทองอิน ทองมาก)  
ลพบุรี สว่าง ศรีวิโรจน์  
สวรรคโลก ไสว อินทรประชา  
สมุทรปราการ เขียน กาญจนพันธุ์  
สมุทรสงคราม สุวรรณ มหัคฆะกาญจนา  
สมุทรสาคร ขุนสุคนธวิทศึกษากร (สำอางค์ สุคนธวิท)  
สระบุรี ร้อยตรีบุญแถม ปิตยานนท์  
สิงห์บุรี แข วัจนลักขณะ  
สุพรรณบุรี มนูญ บริสุทธิ์  
อ่างทอง เกริ่น แสนโกศิก  
อุทัยธานี เทียบ นันทแพทศย์  

ภาคเหนือ

แก้
จังหวัด รายนาม สมาชิกภาพ หมายเหตุ
เชียงราย พระดุลยธรรมปรีชาไวท์ (ยม สุขานุศาสน์)  
เชียงใหม่ หลวงศรีประกาศ (ฉันท์ วิชยาภัย)  
พระพินิจธนากร (บุญเพ็ง ยุกตะนันทน์)  
น่าน จำรัส มหาวงศนันท์  
แพร่ วงศ์ แสนศิริพันธุ์  
แม่ฮ่องสอน บุญสิริ เทพาคำ  
ลำปาง สร้อย ณ ลำปาง  
ลำพูน บุญมี ตุงคนาคร  
อุตรดิตถ์ ฟัก ณ สงขลา  

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แก้
จังหวัด รายนาม สมาชิกภาพ หมายเหตุ
ขอนแก่น หลวงพิพัฒน์พลกาย (กระจ่าง วิโรจน์เพชร)  
ขุขันธ์ ขุนพิเคราะห์คดี (อินทร์ อินตะนัย)  
ชัยภูมิ หลวงนาถนิติธาดา (เคลือบ บุศยนาก)  
นครพนม นาวาโทพระศรการวิจิตร ร.น. (ช้อย ชลทรัพย์)  
นครราชสีมา พันเอกพระยาเสนาภิมุข (แสง เตมิยาจล)  
สนิท เจริญรัฐ  
บุรีรัมย์ หลวงศักดิรณการ (นาค ปิตะเสน)  
มหาสารคาม พระยาสารคามคณาภิบาล (อนงค์ พยัคฆันตร์)  
ทองม้วน อัตถากร  
ร้อยเอ็ด พันโทพระไพศาลเวชกรรม (สวาสดิ์ โสมเกษตริน)  
จ่านายสิบขุนเสนาสัสดี (ถั่ง ทองทวี)  
เลย บุญมา เสริฐศรี  
สกลนคร หลวงวรนิติปรีชา (วรดี พรหมสาขา ณ สกลนคร)  
สุรินทร์ ขุนรักษ์รัษฎากร (จวบ ไมยรัตน์)  
หนองคาย ขุนวรสิษฐ์ดรุณเวทย์ (นารถ อินทุสมิต)  
อุดรธานี ขุนรักษาธนากร (กลึง เพาทธทัต)  
อุบลราชธานี ทองอินทร์ ภูริพัฒน์  
เลียง ไชยกาล  
เนย สุจิมา  

ภาคใต้

แก้
จังหวัด รายนาม สมาชิกภาพ หมายเหตุ
กระบี่ พระบริรักษ์ราชอักษร (มาตย์ ณ ถลาง)  
ชุมพร หลวงสโมสรราชกิจ (คอยู่จีน ณ ระนอง)  
ตรัง จัง จริงจิตร์  
นครศรีธรรมราช ร้อยตรีมงคล รัตนวิจิตร  
นราธิวาส ขุนชำนาญภาษา (ฤทธิ์ รัตนศรีศุข)  
ปัตตานี แทน วิเศษสมบัติ  
พังงา หลวงวัฒนคดี (วัน พฤษะศรี)   เสียชีวิต 15 เมษายน 2480
โมรา ณ ถลาง   เลือกตั้งใหม่ 24 มิถุนายน 2480
พัทลุง ร้อยตรีถัด รัตนพันธุ์  
ภูเก็ต พระพิไสยสุนทรการ (แปลง ณ ถลาง)  
ยะลา สง่า สายศิลป์  
ระนอง ขุนขจรเขานิเวศน์ (อิวเกี่ยน จรขันธ์)  
สงขลา เจือ ศรียาภัย  
สตูล พระยาสมันต์รัฐบุรินทร์ (ตุ๋ย บินอับดุลลาห์)  
สุราษฎร์ธานี ขุนวรศาสน์ดรุณกิจ (ฝ้าย บุญเลี้ยง)  

ภาคตะวันออก

แก้
จังหวัด รายนาม สมาชิกภาพ หมายเหตุ
จันทบุรี หลวงนรินทร์ประสาตร์เวช (เจน สุนทโรทัย)  
ฉะเชิงเทรา หอมจันทร์ วัฒนวิจารณ์  
ชลบุรี นิติ โสรัต  
ตราด กิมทะ นิรันต์พานิช  
ปราจีนบุรี ทองคำ คล้ายโอภาส  
ระยอง หลวงประสานนฤชิต (เดิม อนุกระหานนท์)  

ภาคตะวันตก

แก้
จังหวัด รายนาม สมาชิกภาพ หมายเหตุ
กาญจนบุรี นายดาบยู่เกียง ทองลงยา  
ตาก พระประนาทกรณี (ถม อินทรสูต)  
ประจวบคีรีขันธ์ มิ่ง เลาห์เรณู  
เพชรบุรี แข ยูนิพันธ์  
ราชบุรี กิมเส็ง (โกศล) สินธุเสก  

ประเภทที่ 2

แก้
  ดำรงตำแหน่งจนครบวาระ
  ออกจากตำแหน่ง
รายนาม[3] สมาชิกภาพ หมายเหตุ
หลวงกาจสงคราม (กาจ กาจสงคราม)  
หลวงเกรียงศักดิวิชิต (ค้วน จินตะคุณ)  
พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร)   ลาออก เมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2478
หลวงโกวิทอภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์)  
หลวงขจรเดชะ (เลื่อง นิมิบุตร์)   ถึงแก่กรรม เมื่อ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478
จิบ ศิริไพบูลย์   ลาออก เมื่อ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479
ชลิต กุลกำม์ธร   ลาออก เมื่อ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478
หลวงชาญสงคราม (พาน ชาลิจันทร์)  
ชุณห์ ปิณฑานนท์  
ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม  
หลวงชำนาญนิติเกษตร (อุทัย แสงมณี)  
หลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รมยะนันท์)  
ดิเรก ชัยนาม  
หลวงเดชาติวงศ์วราวัฒน์ (หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์)  
ตั้ว ลพานุกรม  
ทวี บุณยเกตุ  
ทองหล่อ ขำหิรัญ  
ทิพย์ ประสานสุข  
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)   ลาออก เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477
หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์)  
หลวงนฤเบศร์มานิต (สงวน จูฑะเตมีย์)  
หลวงนาวาจิตร (ผัน อำไภวัลย์)  
พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ (วัน จามรมาน)   ลาออก เมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2479
หลวงนิเทศกลกิจ (กลาง โรจนเสนา)  
ขุนนิรันดรชัย (สเหวก นีลัญชัย)  
เนตร พูนวิวัฒน์  
น้อม เกตุนุติ   ลาออก เมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2479
พระประจนปัจจนึก (พุก มหาดิลก)  
ประจวบ บุนนาค  
หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)  
พระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญ-หลง)  
พระยาประเสริฐสงคราม (เทียบ คมกฤส)  
ประเสริฐ ศุขสมัย  
พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)  
หลวงพินิจยุทธศิลป์ (เปรื่อง พรโสภณ)  
หลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม)  
พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)  
มังกร สามเสน  
หลวงพรหมโยธี (มังกร พรหมโยธี)   ลาออก เมื่อ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2478
หลวงโยธาณัติการ (เทศ กิตติรัต)  
ยล สมานนท์  
หลวงรณสิทธิพิชัย (เจือ กาญจนนินทุ)  
หลวงรวบรัดสปัตพล (สอน บุญใหญ่)  
พระเรี่ยมวิรัชชพากย์ (เรี่ยม ทรรทรานนท์)   ลาออก เมื่อ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2478
ขุนเรืองวีรยุทธ์ (บุญเรือง วีระหงส์)  
เล้ง ศรีสมวงศ์   ลาออก เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480
วัน รุยาพร  
หลวงวิจิตรวาทการ (กิมเหลียง วัฒนปฤดา)  
พระวิชัยยุทธเดชาคนี (กั่ง บุณยคุปต์)  
หลวงวิชิตสงคราม (จิ๊ด ยุวนวรรธนะ)  
หลวงวิภาครัฐกิจ (ศุข เมนะรุจิ)  
วิลาศ โอสถานนท์   ลาออก เมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2478
หลวงวีระโยธา (ถวิล ศิริทรัพย์)   ลาออก เมื่อ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2478
พระเวชยันตรังสฤษฎ์ (มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์)  
พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน)  
เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)  
หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย)  
สงบ จรูญพร   ลาออก เมื่อ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478
หลวงสวัสดิ์รณรงค์ (สวัสดิ์ ดาระสวัสดิ์)  
หลวงสวัสดิ์สรยุทธ (ดล บุนนาค)  
หลวงสฤษฎยุทธศิลป (เพียร พิริยะโยธิน)  
พระสงครามภักดี (แม้น เหมะจุฑา)  
พระสังวรยุทธกิจ (สังวรณ์ สุวรรณชีพ)  
พระสิทธิเรืองเดชพล (แสง พันธุประภาส)  
หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)  
หลวงสินาดโยธารักษ์ (ชิต มั่นศิลป์)   ลาออก เมื่อ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2477
หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี)   ลาออก เมื่อ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2477
พระสุธรรมวินิจฉัย (ชม วณิกเกียรติ)  
หลวงสุนทรเทพหัสดิน (สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา)  
หลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล)  
ขุนโสภณรณกิจ (เข็ม โลจายะ)  
หลวงอดุลเดชจรัส (บัตร์ พึ่งพระคุณ)   ลาออก เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2480
พระยาอนุสสรธุระการ (จ่าง วัจนะพุกกะ)  
พระยาอภิบาลราชไมตรี (ต่อม บุนนาค)  
หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์   ลาออก เมื่อ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2478
พระอุดมโยธาธิรุต (สด รัตนาวดี)  
หลวงอรรถกิตติกำจร (กลึง พนมยงค์)  
หลวงอรรถสารประสิทธิ์ (ทองเย็น หลีละเมียร)  
พระสารสาสน์ประพันธ์ (ชื้น จารุวัสตร์)   แต่งตั้ง เมื่อ 29 มีนาคม พ.ศ. 2477[4]
ขุนปลดปรปักษ์ (ปลด ภาณุสะวะ)   แต่งตั้ง เมื่อ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2477[5]
ขุนศรีศรากร (ชลอ ศรีธนากร)   แต่งตั้ง เมื่อ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2477[5]
ขุนสุจริตรณการ (ผ่อง นาคะนุช)   แต่งตั้ง เมื่อ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2478[6]
กุหลาบ กาญจนสกุล   แต่งตั้ง เมื่อ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2478[6]
หลวงอภัยสุรสิทธิ์ (ชม จันทราภัย)   แต่งตั้ง เมื่อ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2478[6]
ขุนจำนงภูมิเวท (จำนง ศิวะแพทย์)   แต่งตั้ง เมื่อ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2478[6]
เอก สุภโปฎก   แต่งตั้ง เมื่อ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2478[6]
พระพิจารณ์พลกิจ (ยู่เซ็ก ดุละลัมพะ)   แต่งตั้ง เมื่อ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2478[6]
หลวงวีรวัฒน์โยธิน (วีรวัฒน์ รักตะจิตรการ)   แต่งตั้ง เมื่อ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2478[6]
ชั้น รัศมิทัต   แต่งตั้ง เมื่อ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2478[6]
เดือน บุนนาค   แต่งตั้ง เมื่อ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2478[7]
พระยาวิจารณ์จักรกิจ (บุญรอด สวาทะสุข)   แต่งตั้ง เมื่อ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479[8]
ทวน วิชัยขัทคะ   แต่งตั้ง เมื่อ 8 กันยายน พ.ศ. 2479[9]
ขุนพิพัฒน์สรการ (เท้ง พัฒนศิริ)   แต่งตั้ง เมื่อ 8 กันยายน พ.ศ. 2479[9]
ขุนวิมลสรกิจ (วิมล เก่งเรียน)   แต่งตั้ง เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480[10]
พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)   แต่งตั้ง เมื่อ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2480[11]

ผู้ดำรงตำแหน่ง

แก้

ประธานสภาผู้แทนราษฎร เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (ลาออก พ.ศ. 2477) พลเรือตรีพระยาศรยุทธเสนี ดำรงตำแหน่งแทน (ลาออก พ.ศ. 2477) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ ดำรงตำแหน่งแทน

รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง พลเรือตรีพระยาศรยุทธเสนี (ออกจากตำแหน่ง พ.ศ. 2477) พลโทพระยาเทพหัสดิน ดำรงตำแหน่งแทน

รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง พลโทพระยาเทพหัสดิน (ออกจาตำแหน่ง พ.ศ. 2477)

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 พระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างเวลาที่ใช้บทบัญญัติเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475ราชกิจานุเบกษา เล่ม 49 วันที่ 21 ธันวาคม 2475 หน้า 554
  2. พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งผู้แทนตำบลและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 พุทธศักราช 2476ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 40 วันที่ 14 มิถุนายน 2476 เล่ม 355
  3. ประกาศการแต่งตั้งรัฐมนตรี
  4. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งซ่อมสมาชิกประเภทที่ 2 แห่งสภาผู้แทนราษฎร
  5. 5.0 5.1 ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งซ่อมสมาชิกประเภทที่ 2 แห่งสภาผู้แทนราษฎร
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 6.7 ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งซ่อมสมาชิกประเภทที่ 2 แห่งสภาผู้แทนราษฎร
  7. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งซ่อมสมาชิกประเภทที่ 2 แห่งสภาผู้แทนราษฎร
  8. ประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 ลาออกจากสมาชิกภาพแห่งสภาผู้แทนราษฎร และตั้งซ่อมสมาชิกแทน
  9. 9.0 9.1 ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ลาออกจากสมาชิกภาพแห่งสภาผู้แทนราษฎรและตั้งซ่อมสมาชิกแทน
  10. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งซ่อมสมาชิกประเภทที่ 2 แห่งสภาผู้แทนราษฎร
  11. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งซ่อมสมาชิกประเภทที่ 2 แห่งสภาผู้แทนราษฎร

ดูเพิ่ม

แก้