ขุนสมาหารหิตะคดี (โป-ระ สมาหาร)
นายโป-ระ สมาหาร หรือ ขุนสมาหารหิตะคดี (โป-ระ สมาหาร) หรือ ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์)[1] เป็นอดีตรัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังของไทย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยของไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร
โป-ระ สมาหาร | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยของไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 26 กันยายน พ.ศ. 2484 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2485 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ดำรงตำแหน่ง 10 มีนาคม พ.ศ. 2485 – 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ดำรงตำแหน่ง 5 กันยายน พ.ศ. 2487 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 | |
นายกรัฐมนตรี | ควง อภัยวงศ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เสียชีวิต | 15 มีนาคม พ.ศ. 2488 |
ลายมือชื่อ | |
การทำงาน
แก้โป-ระ สมาหาร ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร นับเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดแรกของประเทศไทย[2] ต่อมาในรัฐบาลของนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีที่ไม่ประจำกระทรวง ในปี พ.ศ. 2477 และในปีถัดมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต่อจากนั้นในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 7 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง อีกสมัย
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2481 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร สมัยที่ 2 และดำรงตำแหน่งดังกล่าวจนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรม ในปี พ.ศ. 2488 ซึ่งได้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่แทนตำแหน่งที่ว่างลง ในเดือนมิถุนายนของปีเดียวกัน[3]
ในรัฐบาลของนายพันเอก หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) (ยศในขณะนั้น) เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีที่ไม่ประจำกระทรวง[4] และถูกปรับให้ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2484[5] รวมทั้งในรัฐบาลถัดมาของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม
ในรัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีที่ไม่ประจำกระทรวง[6] และปรับไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในภายหลัง[7]
นอกจากนั้นแล้ว ุขุนสมาหารหิตะคดี ยังมีผลงานที่สำคัญคือ พจนานุกรมกฎหมาย[1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2484 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 เรื่องเล่าเท่าที่พบ ‘ขุนสมาหารหิตะคดี’
- ↑ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากการเลือกตั้งครั้งแรก จาก เว็บไซต์ สำนักข่าวออนไลน์อาร์วายทีไนน์
- ↑ พระราชกฤษฎีกาดำเนินการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครสำหรับตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ว่าง พุทธศักราช ๒๔๘๘
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 25 ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (๑. นายพลตรี หลวงเสรีเริงฤทธิ์ ๒. หลวงชำนาญนิติเกษตร์ ๓. ขุนสมาหารหิตะคดี)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (นายโป - ระ สมาหาร, นายประจวบ บุนนาค, พันเอกเรือง เรืองวีระยุทธ, นายทองอิน ภูริพัธน์, พลอากาศตรี กาพย์ เทวฤทธิ์พันลึก ทัตตานนท์)
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-28. สืบค้นเมื่อ 2021-05-14.