ผู้แทนราษฎรชั่วคราว

สภานิติบัญญัติสยาม

สภาผู้แทนราษฎรไทย (ผู้แทนราษฎรชั่วคราว พ.ศ. 2475) หรือ ผู้แทนราษฎรชั่วคราว (28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2476)

ผู้แทนราษฎรชั่วคราว พ.ศ. 2475
ชุดที่ 1
ภาพรวม
เขตอำนาจประเทศสยาม
ที่ประชุมพระที่นั่งอนันตสมาคม
วาระ28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2476
รัฐบาลคณะกรรมการราษฎร (2475)
คณะรัฐมนตรีมโนปกรณนิติธาดา 2 (2475-2476)
คณะรัฐมนตรีมโนปกรณนิติธาดา 3 (2476)
คณะรัฐมนตรีพหลพลพยุหเสนา 1 (2476)
ผู้แทนราษฎรชั่วคราว
สมาชิก70
ประธานเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
ตั้งแต่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475
เจ้าพระยาพิชัยญาติ
ตั้งแต่ 2 กันยายน พ.ศ. 2475
รองประธานพระยาอินทรวิชิต
ตั้งแต่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475
พระยาศรยุทธเสนี
ตั้งแต่ 2 กันยายน พ.ศ. 2475
นายกรัฐมนตรีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา
ตั้งแต่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475
พระยาพหลพลพยุหเสนา
ตั้งแต่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476

ที่มา แก้

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475[1] โดยตามความในมาตรา 10 ได้บัญญัติให้คณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารจัดตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราวเป็นจำนวน 70 นาย เป็นสมาชิกในสภาจนกว่าสมาชิกในสมัยที่ 2 จะเข้ารับตำแหน่ง นับว่าประเทศสยามมีผู้แทนราษฎรเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก

การเปิดประชุมสภา แก้

เมื่อวันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เวลา 14.00 นาฬิกา การประชุมได้เริ่มขึ้น ณ ห้องโถงชั้นบนพระที่นั่งอนันตสมาคม มีการจัดโต๊ะเก้าอี้เป็นรูปครึ่งวงกลม ตั้งอยู่ในระดับเดียวกันเป็นการชั่วคราว เนื่องจากยังไม่มีข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร จึงได้นำเอาข้อบังคับการประชุมของสภากรรมการองคมนตรีเฉพาะที่ไม่ขัดกับธรรมนูญมาใช้ไปพลางก่อน

ผู้แทนราษฎรที่ได้รับแต่งตั้งชุดแรก จำนวน 70 คน ได้กล่าวคำปฏิญาณตนต่อที่ประชุมมีความว่า

ข้าพเจ้า (ออกนามผู้ปฏิญาณตน) ขอให้คำปฏิญาณว่าจะซื่อสัตย์ต่อคณะราษฎร และจะช่วยรักษาหลัก 6 ประการของคณะราษฎรไว้ให้มั่นคง

  1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่นเอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
  2. จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดลงให้มาก
  3. จะต้องรักษาความสมบุรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะพยายามหางานให้ราษฎรทำโดยเต็มความสามารถ จะร่างโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
  4. จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่
  5. จะต้องให้ราษฎรมีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น
  6. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

ต่อมาเจ้าพระยามหิธร เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร ได้เชิญพระกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมาเปิดประชุมว่า

วันนี้สภาผู้แทนราษฎรได้ประชุมเป็นครั้งแรก นับว่าเป็นการสำคัญอันหนึ่งในประวัติการณ์ของประเทศอันเป็นที่รักของเรา ข้าพเจ้าเชื่อว่าท่านทั้งหลายคงจะตั้งใจที่จะช่วยกันปรึกษาการงานเพื่อนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ประเทศสยามสืบไป และเพื่อรักษาความเป็นอิสรภาพของสยามไว้ชั่วฟ้าและดิน ข้าพเจ้าขออำนวยพรแก่บรรดาผู้แทนราษฎรทั้งหลายให้บริบูรณ์ด้วยกำลังกาย กำลังปัญญา เพื่อจะได้ช่วยกันทำการให้สำเร็จตามความประสงค์ของเราและของท่าน ซึ่งมีจุดมุ่งหมายอันเดียวกันทุกประการเทอญ

โดยที่ประชุมน้อมรับพระกระแสนี้ใส่เกล้าฯ ภายหลังพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎรและผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้กล่าวต่อที่ประชุมว่า

บัดนี้ธรรมนูญและสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งขึ้นสำเร็จแล้ว ข้าพเจ้าขอมอบงานการปกครองแผ่นดินที่ได้ยึดไว้ให้แก่สภาต่อไปแต่บัดนี้

สมาชิก แก้

ได้รับการเลือกตั้ง   ดำรงตำแหน่งจนครบวาระ
  ออกจากตำแหน่ง
ได้รับเลื่อนขึ้นมาภายหลัง

ผู้แทนราษฎรชั่วคราวชุดแรก จำนวน 70 คน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร มีรายนามต่อไปนี้[2]

# รายนาม รายละเอียดเพิ่มเติม
1 มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์
2 มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
3 มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาพิชัยญาติ
4 มหาอำมาตย์โท พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี
5 มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
6 มหาอำมาตย์ตรี พระยามานวราชเสวี
7 มหาอำมาตย์ตรี พระยาศรีวิสารวาจา
8 มหาอำมาตย์ตรี พระยาไชยยศสมบัติ
9 มหาอำมาตย์ตรี พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์
10 มหาอำมาตย์ตรี พระยามนธาตุราช
11 นายพลตรี พระยาอินทรวิชิต ลาออก[3]
- มหาอำมาตย์ตรี พระยาจ่าแสนยบดี แทน พระยาอินทรวิชิต
12 นายพลตรี พระยาประเสริฐสงคราม
13 นายพลเรือตรี พระยาปรีชาชลยุทธ
14 มหาอำมาตย์ตรี พระยาปรีชานุสาสน์
15 นายพลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี
16 มหาอำมาตย์ตรี พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์
17 มหาอำมาตย์ตรี พระยาวิชัยราชสุมนตร์
18 มหาเสวกตรี พระยาปรีดานฤเบศร์
- นายนาวาเอก พระยาวิชิตชลธี*
19 นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช
20 นายพันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์
21 นายพันตำรวจเอก พระยาบุเรศร์ผดุงกิจ
22 อำมาตย์เอก พระยาอนุมานราชธน
23 อำมาตย์เอก พระยาประมวญวิชาพูล
24 นายนาวาเอก พระประพิณพลยุทธ์
25 นายนาวาเอก พระเรี่ยมวิรัชชพากย์
26 อำมาตย์เอก พระสุธรรมวินิจฉัย
27 นายพันโท พระประศาสน์พิทยายุทธ
28 นายพันตำรวจโท หลวงแสงนิติศาสตร์
29 อำมาตย์โท พระวุฒิศาสตร์เนติญาณ
30 นายนาวาตรี หลวงศุภชลาศัย
31 นายนาวาตรี หลวงสินธุสงครามชัย
32 นายพันตรี หลวงสินาดโยธารักษ์
33 นายพันตรี หลวงพิบูลย์สงคราม
34 อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม
35 อำมาตย์ตรี หลวงคหกรรมบดี (ชม จารุรัตน์)
36 เสวกตรี หลวงนฤเบศร์มานิต
37 นายเรือเอก หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์
38 รองอำมาตย์เอก หลวงเดชสหกรณ์
39 รองอำมาตย์เอก หลวงดำริอิสรานุวรรต
40 รองอำมาตย์เอก หลวงสุนทรเทพหัสดิน
41 รองอำมาตย์เอก หลวงเดชาติวงศ์วราวัฒน์
42 รองอำมาตย์เอก หลวงบรรณกรโกวิท
43 รองอำมาตย์เอก หลวงอรรถสารประสิทธิ์
44 รองอำมาตย์เอก หลวงอรรถกิตติกำจร
45 รองอำมาตย์เอก หลวงชำนาญนิติเกษตร์
46 รองอำมาตย์เอก หลวงโกวิทอภัยวงศ์
47 รองอำมาตย์เอก หลวงอภิรมย์โกษากร
48 รองอำมาตย์เอก ตั้ว ลพานุกรม
49 รองอำมาตย์เอก ประจวบ บุนนาค
50 รองอำมาตย์เอก หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์
51 นายร้อยโท ประยูร ภมรมนตรี
52 รองอำมาตย์โท ทวี บุณยเกตุ
53 รองอำมาตย์โท จรูญ สืบแสง
54 รองอำมาตย์โท ชุณห์ ปิณฑานนท์
55 นายวิลาศ โอสถานนท์
56 นายแนบ พหลโยธิน
57 นายดิเรก ชัยนาม
58 วิเชียร สุวรรณทัต
59 ยล สมานนท์
60 สงวน ตุลารักษ์
61 ชิม วีระไวทยะ
62 นายหงวน ทองประเสริฐ
63 นายมานิต วสุวัต
64 นายจรูญ ณ บางช้าง
65 นายเนตร พูนวิวัฒน์
66 นายมังกร สามเสน
67 นายพลเรือโท พระยาราชวังสัน ลาออก[4]
- นายชุ่นใช้ คูตระกูล แทน พระยาราชวังสัน
68 นายสวัสดิ์ โสตถิทัต
69 นายบรรจง ศรีจรูญ
70 พระยาพหลพลพยุหเสนา*
  • เนื่องจากพระยาวิชิตชลธี ได้แจ้งว่าป่วย จึงไม่สามารถรับตำแหน่งได้ ที่ประชุมจึงมีมติให้พระยาพหลพลพยุหเสนา รับตำแหน่งผู้แทนราษฎรแทน

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูล แก้

การประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในประเทศสยาม เก็บถาวร 2010-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน